ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 18439 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เดินหน้าผันน้ำ โขง-เลย-ชี-มูล

เดินหน้าผันน้ำ โขง-เลย-ชี-มูล หวังชุบชีวิตเกษตรกรชาวอีสาน จากการที่ประเทศไทย ประสบปัญหากับภาวะภัยแล้งซ้ำซากปีแล้วปีเล่า

data-ad-format="autorelaxed">

จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหากับภาวะภัยแล้งซ้ำซากปีแล้วปีเล่า โดยเฉพาะในปีนี้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงกว่าหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดจากการยืนยันของนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทานเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

แม่น้ำ โขง เลย ชี มูลที่ระบุชัดว่าปริมาณน้ำ ต้นทุนที่เก็บกักได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศกว่า 400 เขื่อน มีประมาณ 35,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุทั้งหมดทั่วประเทศ  95,640 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงสามารถจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งของปี 2553 ไว้เพียง  20,720 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการน้ำในภาคเกษตร

 ที่ผ่านมาการปล่อยน้ำของกรมชลประทานเพื่อภาคเกษตรนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการ จ่ายน้ำเฉพาะในพื้นที่เขตชลประทาน อาทิ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะที่ภาคอีสานซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรมีจำนวนมาก และประสบปัญหาภัยแล้งทุกปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานจึงเสนอโครงการ "การบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล" และขณะนี้โครงการดังกล่าวผ่านความเห็นชอบระดับนโยบายเรียบร้อยแล้ว ทั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่มี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน รวมถึงนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำและเลขาธิการคณะกรรมการน้ำโขงแห่งชาติ และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นด้วยต่อแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ในการผันน้ำโขงมาใช้ในภาคอีสาน

 โครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล เป็นโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขงที่ปากน้ำเลย อ.เชียงคาน จ.เลย เพื่อนำเอาน้ำเข้ามาใช้ในพื้นที่ภาคอีสาน ผ่านลำน้ำชี และมูล ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้งที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยจะมีการทำอุโมงค์ผันน้ำ และคลองส่งน้ำ แต่จะไม่มีการสร้างฝาย หรือ เขื่อนขนาดใหญ่ โดยโครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 30 ปี ใช้งบประมาณตลอดโครงการถึง 2 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นการศึกษาความเหมาะสม

 

เพื่อให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไป กรมชลประทานจัดโครงการเดินสายจัดประชุมเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นของคนใน ภาคอีสานทุกกลุ่ม เพื่อดำเนินตามกรอบโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ( EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือเอสอีเอ (SEA) อย่างล่าสุด ได้เชิญนักวิชาการ หัวหน้าหน่วยราชการต่างๆ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคอีสานจัดประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นเป็นครั้งที่ 2 ที่ จ.ขอนแก่น ที่ก่อนหน้านี้ได้จัดประชุมครั้งแล้วที่ จ.นครราชสีมา

 นายมนตรี ตันตระกูล วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมโยธา กรมชลประทาน ระบุว่า การจัดประชุมขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ในภาคอีสานก็เพื่อต้องการเปิดตัวโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่ง แวดล้อม (EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)ของโครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ซึ่งต่อไปจะตระเวนไปให้ครบทุกกลุ่มจังหวัดเพื่อนำเสนอโครงการและรับฟังความ คิดเห็นจากทุกกลุ่มในภาคอีสาน

 ด้านนายชูลิต วัชรสินธุ์ ผู้จัดการโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล โดยแรงโน้มถ่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า เบื้องต้นการศึกษาโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูลนั้น จะผันน้ำจากแม่น้ำโขงด้วยอุโมงค์ผันน้ำโดยแรงโน้มถ่วงของโลก ให้น้ำไหลลงสู่ลำพะเนียง และต้นน้ำพอง มีการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่ชลประทานด้านท้ายอุโมงค์ผันน้ำ พื้นที่ในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล และพื้นที่ตามคลองชลประทานที่ขุดขึ้นใหม่ จะทำให้สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลได้ประมาณ 17.90 ล้านไร่ นอกจากนี้ในเบื้องต้นพบว่าการผันน้ำโขงโดยแรงโน้มถ่วง สามารถพัฒนาพื้นที่การเกษตรในโขงอีสานได้อีกประมาณ 4 ล้านไร่ รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 21.90 ล้านไร่ และโครงการนี้หวังเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนของเกษตรกรภาคอีสานจาก 6 หมื่นบาทต่อครัวเรือนมาเป็น 1.2 แสนบาทเมื่อโครงการสิ้นสุดลง

 ส่วนนายอภิชาติ สิงคลีบุตร ประธานเครือข่ายอาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น แสดงความคิดเห็นว่า เมื่อรับฟังโครงการก็เห็นด้วยในการดำเนินการเพราะเป้าหมายคือแก้ปัญหาภัย แล้งให้แก่ภาคอีสาน เมื่อมีน้ำใช้จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งได้ เพราะปัจจุบันเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น สามารถส่งน้ำให้แก่เกษตรกรใน จ.ขอนแก่น ใช้ได้แค่ 3 อำเภอเท่านั้นจากทั้งหมด 26 อำเภอ โดยพื้นที่ จ. ขอนแก่นเหนือและใต้แทบจะไม่มีน้ำใช้เลย ดังนั้นหากโครงการนี้เป็นไปได้อยากจะให้นำเอาน้ำที่ได้มาไปช่วยเหลือเกษตรกร ในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำ แต่ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 ปีถือว่ายาวนานไป หวั่นจะมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาชาวบ้านไม่ยอมให้พื้นที่ เพราะการเวนคืนที่ดินยากลำบาก ตรงนี้จะทำอย่างไร

 ขณะที่นายวัฒนา วิชิตจันทร์ ตัวแทนจากเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันเขื่อนอุบลรัตน์มีการจัดการน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง แต่หากมีโครงการนี้เกิดขึ้นจริงจะสามารถระบายน้ำให้เกษตรกรใช้อย่างเต็มที่ แต่ปัญหาตรงที่ว่าข้อมูลปริมาณน้ำโขงที่นำเสนอนั้นเป็นปริมาณน้ำในช่วงปี 2547-2549 แต่ในปีนี้น้ำโขงเกิดวิกฤติแห้งแล้งไม่มีการนำเสนอตรงนี้ จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อน้ำโขงแห้งขอดจะผันน้ำมาใช้ได้อย่างไร
 ก็ นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่น่าสนใจ หากมีการศึกษารอบคอบ โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจ่ายค่าชดเชยที่เป็นธรรม และไม่ลายทำวิถีชีวิตของบ้าน เชื่อว่าโครงการจะช่วยชุบชีวิตชาวอีสานได้เป็นอย่างดี

 วิกฤติแล้งยางวพาราอีสานกระทบหนัก

   นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดเลย กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ว่า ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวสวนยางพาราในปัจจุบัน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางต้องเผชิญกับปัญหาสภาวะภัยแล้งอย่างหนัก ทำให้ต้นยางพาราที่กำลังผลิใบอ่อนยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ต้นยางไม่สามารถทนทานต่อสภาวะแวดล้อมดังกล่าวได้ คือลักษณะปลายฝนในแต่ละพื้นที่มีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาไม่สม่ำเสมอและเกิด ความไม่แน่นอน ทำให้ต้นยางพาราช่วงอายุระหว่าง 1-4 ปี มาเจอสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งและฝนไม่ตก ทำให้ต้นยางใบเหี่ยวแห้ง ร่วงโรยเหลือแต่ลำต้นและเริ่มตายตั้งแต่กิ่งกระโดงกลางลงมา เนื่องจากขาดน้ำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและใบอ่อน
 
      ด้านนายพนัส แพชนะ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ (8ว) ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ภาคใต้เองถึงแม้จะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพสวนยางพารา แต่เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศไม่ค่อยเอื้ออำนวย การกระจายตัวของฝนก็ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งภาคใต้ เกษตรกรชาวสวนยางก็ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเช่นเดียวกับเกษตรกรในภาคเหนือ และอีสาน ซึ่งโดยปกติแล้วภาคใต้จะมีฝนตกประปรายในช่วงฤดูแล้งทุกปี จึงทำให้สภาพของพื้นดินโดยทั่วไปมีความชื้น ประกอบธรรมชาติของต้นยางพาราจัดเป็นพืชที่สามารถหลบหนีจากสภาพธรรมชาติที่ โหดร้ายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นภาคใต้จึงมักไม่ค่อยมียางพารายืนต้นตาย แต่ปีนี้นับว่าเจอภัยแล้งที่รุนแรงหนัก ซึ่งเริ่มต้นแล้งมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมปีที่แล้ว

สุมาลี สุวรรณกร

อ้างอิง : www.komchadluek.net


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 18439 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9171
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7494
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7563
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7899
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6884
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8146
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7373
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>