ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 50684 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การผสมพันธุ์นกกระจอกเทศ และเทคนิคการฟักไข่

นกกระจอกเทศถ้าปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ (Wild Ostrich) จะถึงอายุผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้อายุ 3 – 4 ปีขึ้นไป ส่วนเพศเมีย...

data-ad-format="autorelaxed">

การผสมพันธุ์นกกระจอกเทศ( Reproduction) และเทคนิคการฟักไข่

นกกระจอกเทศถ้าปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ (Wild Ostrich) จะถึงอายุผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้อายุ 3 – 4 ปีขึ้นไป ส่วนเพศเมีย 2.5 ปีขึ้นไป แต่นกกระจอกเทศที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม นกกระจอกเทศ(Intensive) จะใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่อเพศผู้อายุ 2.5 ปี ขึ้นไป ส่วนเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและการจัดการเป็นหลัก อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์เพศผู้ 1 ตัวต่อเพศเมีย 1 – 3 ตัว นกกระจอกเทศจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็นและแห้ง ซึ่งในประเทศไทยฤดูผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึง เดือนมีนาคม แต่ก็ยังไม่ได้สรุปเป็นที่แน่ชัด

ในฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศเพศผู้ซึ่งมีขนสีดำ ปลายหางและปลายปีกสีขาว จะมีสีดำและขาวเป็นมันวาว ปาก ขอบตา และแข้งจะมีสีชมพูเข้ม ตัวเมียสีของขนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คงเป็นสีน้ำตาลเช่นเดิม โดยธรรมชาติพ่อนกกระจอกเทศจะคุมฝูงตัวเมียได้หลายตัว แต่จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เป็นคู่แท้ ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวสำรองไป (Secondary Hens)

นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาหารเป็นสัดโดยการนั่งลง บนพื้นข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไปตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการเป็นสัดโดยกางปีกออกสั่นแต่ไม่นั่งเหมือนตัวผู้

วิธีผสมพันธุ์

เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวอยู่บนพื้น แต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้ง แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมียเพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัว เมียซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์นานเพียง 1 – 3 นาที แต่หากเลี้ยงนกกระจอกเทศเพศผู้และเพศเมียรวมกันก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ ควรจะแยกตัวผู้ออกจากฝูงตัวเมียโดยไม่ให้ตัวผู้ได้มีโอกาสเห็นตัวเมียเลย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ฮอร์โมนเพศของเพศผู้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การผสมติดดียิ่งขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไรขึ้นอยู่กับ

    * อาหารมีคุณภาพดี และเหมาะสม
    * ความสมบูรณ์ของนก
    * อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม

ส่วนข้อควรพิจารณาความเหมาะสมของ คู่ผสมพันธุ์ให้พิจารณาจาก

    * ปริมาณไข่ต่อปี
    * อัตราของไข่มีเชื้อ
    * อัตราการฟักออกเป็นตัว
    * อัตราการตายของลูกนก

การฟักไข่นกกระจอกเทศ

ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะรู้และเข้าใจเรื่องการ เจริญเติบโตของเชื้อลูกนกกระจอกเทศตลอดจนระยะการฟักจนออกมาเป็นตัว

การฟักไข่นกกระจอกเทศทำได้ 2 วิธีคือ

   1. ฟักแบบธรรมชาติ หรือให้แม่นกกระจอกเทศฟักไข่เอง
   2. ฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก (Incubator)

การฟักไข่แบบธรรมชาติ

แม่นกกระจอกเทศจะเลือกออกไข่บริเวณที่โล่งแจ้งบน เนินสูงจากระดับพื้นปกติเล็กน้อยเพื่อมองเห็นศัตรูได้ทุกด้าน และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมไข่ในขณะที่ฟักไข่ แม่นกกระจอกเทศจะออกไข่เป็นชุด (Clutch) ชุดละประมาณ 12 – 1 8 ฟองโดยที่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละไม่เกิน 6 เดือน โดยออกไข่ทุก 2 วัน ต่อ 1 ฟอง ไข่หนักฟองละ 900 – 1,650 กรัม และมีความยาว 6 – 8 นิ้ว เปลือกไข่สีครีมขาว จนได้ไข่ 12 – 16 ฟองก็จะหยุดไข่ หลังจากนั้นแม่นกกระจอกเทศจะนั่งฟักไข่ในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ 09.30 น. ถึง 16.30 น. หลังจากนั้นจะเปลี่ยนให้พ่อนกกระจอกเทศช่วยฟักในเวลากลางคืน

ในช่วงเวลาที่พ่อ – แม่นกกระจอกเทศเปลี่ยนเวรกันฟักไข่นี่เองจะมีการกลับไข่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับไข่ที่ถูกฟักอยู่เพราะจะได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง อุณหภูมิที่ไข่ฟักได้รับจากพ่อ – แม่นกกระจอกเทศอยู่ระหว่าง 38+0.2 C ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 33.5 % และใช้เวลาฟักไข่นานถึง 42 วัน

การฟักไข่ด้วยเครื่องฟักไข่

โดยทั่วไปแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ทุกวันเว้นวัน ดังนั้นหากในแต่ละชุดผสมพันธุ์ (Set) ที่มีพ่อนกกระจอกเทศ 1 ตัวต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 – 3 ตัว แม่นกอาจจะออกไข่พร้อมกันในวันเดียวกัน หรือสลับวันกันออกไข่ก็ได้ เมื่อพบว่าแม่นกออกไข่แล้วให้รีบเก็บไข่ออกทันที เพื่อไม่ให้ไข่อยู่บนพื้นนานเกินไป เพราะจะทำให้ไข่สกปรกและมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปในไข่ ทำให้เชื้ออ่อนแอถึงตายได้

หลังจากนั้นให้หาไข่ปลอมที่มีรูปร่าง ลักษณะและน้ำหนักเหมือนไข่นกกระจอกเทศมาวางไว้แทนเพื่อกระตุ้นให้แม่นกกระ จอกเทศออกไข่เรื่อย ๆ ในที่เดียวกัน ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละ 40 – 80 ฟอง แต่ก็มีบางฟาร์มที่สามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 100 ฟอง ต่อแม่นกกระจอกเทศ1 ตัว ไข่นกกระจอกเทศจะมีลักษณะกลมรี โดยมีความกว้างยาวเกือบเท่ากัน เปลือกไข่สีขาวครีม และมีรูระบายอากาศใหญ่เห็นชัดเจนขนาดและน้ำหนักของไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิด ของสายพันธุ์ ซึ่งในระหว่างการฟักน้ำหนักไข่จะหายไป 11 – 15 %

วิธีการเลือกไข่ฟัก

ไข่ฟักเป็นผลจากการผสมพันธุ์จึงย่อมมีผลทางการ สืบสายเลือดตามลักษณะที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของหน่วยสืบพันธุ์ นั่นคือลูกย่อมได้ลักษณะต่าง ๆ ทั้งของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ซึ่งมีทั้งลักษณะดีและเลว การเอาไข่เข้าฟักจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ด้วย

สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกไข่ฟัก

    * ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงนกกระจอกเทศที่ไม่เป็นโรค
    * พ่อแม่พันธุ์จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง
    * ต้องมีลักษณะที่ควรเป็นไข่ฟักคือเปลือกไข่สะอาด ผิวเปลือกไม่ขรุขระ รูปไข่บูดเบี้ยวหรือแตกร้าว เป็นต้น

การเก็บรักษาไข่ฟัก

ไข่ที่จะใช้สำหรับการฟักหลังจากเก็บจากรังไข่แล้ว จะต้องทำการรมควันฆ่าเชื้อด้วยก๊าซฟลอทาดิไฮด์ก่อนนำไปไว้ในห้องที่มี อุณหภูมิ 20 – 22 องศาเซลเซียส และเก็บนานไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างที่เก็บจะต้องทำการกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

ก่อนที่จะนำเข้าตู้ฟักจะต้องนำไข่ฟักออกจากห้อง ควบคุมอุณหภูมิมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ (Preheat) เสียก่อนประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง เพื่อปรับความเย็นของไข่สู่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 35 องศาเซลเซียส) ถ้านำไข่เข้าตู้ฟักทันทีจะทำให้เชื้อตาย (Embryonic Shock) เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเย็นไปร้อน

การฟักไข่ หลักใหญ่ของ การฟักไข่ก็คือ ให้ความอบอุ่นแก่ไข่ฟักให้สม่ำเสมอตลอดเวลา และทำให้สิ่งแวดล้อมให้เป็นผลดีต่อการเจริญของเชื้อลูกนก เพื่อให้เปอร์เซ็นต์ฟักออกมาเป็นตัวให้มากที่สุด ตู้ฟักไข่นกกระจอกเทศ โดยทั่วไปมักจะแยกตู้ฟัก (Setter) และตู้เกิด (Hatcher) ออกจากกัน เพื่อให้สะดวกในการทำงานและการควบคุมอุณหภูมิโดยนำไข่เข้าตู้ฟักนาน 38 – 39 วัน หลังจากนั้นจะนำไปไว้ในตู้เกิดซึ่งไม่มีการกลับไข่ (Turning) อุณหภูมิที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 35.5 – 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 25 %

ปัจจัยทั่ว ๆ ไปที่ช่วยให้การฟักไข่เป็นผลดีคือ

1. อุณหภูมิหรือความร้อน (Temperature) ที่เหมาะสมที่ใช้ในการฟักไข่ก็คือ 36.2 องศาเซลเซียส มีความชื้น 40 % จะใช้เวลาฟักไข่นาน 41 – 43 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ความชื้น 40 % จะใช้เวลาฟักไข่ 43 – 47 วัน หากเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นจะทำให้อัตราการตายของลูกนกกระจอกเทศระยะแรก เพิ่มสูงขึ้น

2. ความชื้น (Humidity) ความชื้นที่เหมาะสมช่วยให้การเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกกระจอกเทศเป็นไปโดย ปกติ หากความชื้นน้อยไป ลูกนกจะแห้งติดเปลือกและตาย ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ลูกนกมีขนแห้ง ฟูสวย ไม่ติดเปลือก นอกจากนี้ความชื้นยังเป็นตัวกำหนดปริมาณการสูญหายของน้ำหนักไข่ในระหว่างการ ฟักอีกด้วย

3. การระบายอากาศ (Ventilation) ขณะที่ลูกนกยังเจริญเติบโตอยู่ในไข่ ร่างกายต้องใช้ไข่แดงและไข่ขาวไปสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การที่สิ่งเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนแปลงให้เกิดปฎิกริยาละลายเข้าในระบบการดูด ซึมของตัวลูกนกได้จำเป็นต้องให้ออกซิเจนไปทำปฎิกริยาแก่สิ่งเหล่านี้เพื่อ เปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ส่วนที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกขับออกทางเปลือก หากไม่มีการระบายอากาศออก จะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อลูกนก การระบายอากาศจึงเป็นการช่วยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตู้ฟัก และหมุนเวียนให้อากาศออกซิเจนเข้าไปถึงเชื้อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21 %

4. การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการตายของลูกนกขณะที่ฟักไข่ในระยะแรกได้มาก ควรจะกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2 – 3 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับองศาของไข่ เช่น ไข่ทำมุม 90 องศา กลับไข่ 2 ครั้ง ไข่ทำมุม 45 องศา กลับไข่ 6 ครั้ง ไข่ทำมุม 45 องศา กลับไข่ทุกชั่วโมง หลังจากย้ายไข่ไปไว้ในตู้เกิดก็จะไม่กลับไข่อีกเลย

5. การส่องไข่ (Candling) การ ส่องไข่ก็เพื่อคัดเอาไข่ที่ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย และไข่เสียออกจากตู้ฟักไข่เสียก่อนที่ไข่จะเน่าและส่งกลิ่นเหม็นในตู้ฟัก ซึ่งเป็นผลเสียต่อไข่ใบอื่น ๆ สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2 – 3 ครั้งโดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 10 – 14 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจส่องดูอีกครั้งเมื่อฟักไปแล้ว 20 –21 วัน และครั้งสุดท้ายเมื่อจะย้ายไปตู้เกิดหรือเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 35 วัน

เนื่องจากไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกไข่ที่หนาและแข็ง แรงมาก ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องส่องไข่เพื่อดูการพัฒนาของตัวอ่อนจะต้องใช้กำลัง ไฟฟ้าแรงสูงมากและถ้าจะให้เห็นชัดเจนควรส่องดูในห้องมืดและไม่ควรส่องไข่ เล่นโดยไม่จำเป็นเนื่องจากความร้อยจากเครื่องส่องไข่จะไม่ผลต่อตัวอ่อนในไข่ ได้

การคัดเพศ นกกระจอกเทศ ก็เช่นเดียวกับสัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ ที่มีอวัยวะเพศอยู่ภายใน ดังนั้นการคัดเพศเมื่อนกกระจอกเทศอายุน้อย จึงอาจใช้วิธีปลิ้นก้นเพื่อดูอวัยวะเพศ โดยในตัวผู้จะมีเดือยเล็ก ๆ โผล่ขึ้นมา ส่วนตัวเมียจะไม่มีเดือยแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นนกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว จะสังเกตได้จากเวลาที่นกกระจอกเทศขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ถ้าเป็นนกกระจอกเทศเพศผู้จะเห็นเครื่องเพศขนาดยาว 3 – 4 เซนติเมตร โผล่ออกมาด้วย นอกจากนี้อาจจะสังเกตได้จากสีขน ถ้าเป็นนกกระจอกเทศเพศผู้จะไม่ขนสีดำ ปลายปีกและปลายหางสีขาว สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว โดยทั่วไปนกกระจอกเทศตัวผู้จะใหญ่กว่านกกระจอกเทศตัวเมีย

อ้างอิง : http://www.thaifeed.net/animal/ostrich/ostrich-5.html

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 50684 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

wuttisak
[email protected]
อยากทำฟาร์มมาก แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับนกกระจอกเทศครับ
11 ก.พ. 2554 , 07:50 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

วุฒิศักดิ์ พลสงค์
[email protected]
ผมมีความใฝ่ฝัน อยากมีฟาร์มเป็นของตัวเอง คืออยากเลี้ยงนกกระจอกเทศ แต่ผมไม่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงและการซื้อ-ขาย เลย ผมจึงอยากจะให้ท่านแนะนำให้ด้วยครับ
11 ก.พ. 2554 , 04:08 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

may
[email protected]
นกกระจอกเทศในแอฟริกาทำไมเขาห้ามฆ่าคะ
29 ก.ค. 2553 , 04:01 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9165
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7491
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7561
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7896
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6882
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8145
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7373
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>