ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 5615 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ผิดสังเกต ตั้งข้อสงสัยข่าว แบนยางพาราอีสาน

แบนยางพาราอีสาน

แบนยางพาราอีสาน นายกสมาคมสวนยางอีสาน ตั้งข้อสังเกตข่าวอ้างถึงค่ายยางรถยักษ์ใหญ่ ไม่รับซื้อยางพาราภาคอีสาน

data-ad-format="autorelaxed">

นายกสมาคมสวนยางอีสานตั้งข้อสังเกตข่าวอ้างถึงค่ายยางรถยักษ์ใหญ่ไม่รับซื้อยางพาราภาคอีสานออกมาในช่วงราคากำลังขึ้น หลังมีข่าวร่วงไป 3 บาท ชี้ข่าวเช่นนี้มีมา 2 ปีแล้ว เรียกร้องผู้เกี่ยวข้องแจงให้ชัดใช้กรดซัลฟิวริก ย้ำสมาคมฯ รณรงค์คุณภาพยางของเกษตรกรมาตลอด เช่นเดียวกันชุมนุมสหกรณ์ฯ สวนยางอุบลฯ มองเป็นเกมทางการค้า


4นายธีระชัย แสนแก้ว นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน ให้สัมภาษณ์กรณีมีข่าวค่ายยางรถยนต์ระดับโลกไม่รับซื้อยางพาราจากภาคอีสานอ้างเหตุผลพบการใช้กรดซัลฟิวริกกว่า 80 เปอร์เซนต์ เพื่อให้ยางเซทตัว ส่งผลต่อคุณภาพของยางล้อว่า  การใช้สารซัลฟิวริกเคยพูดกันมา 2 ปีแล้ว ซึ่งสมาคมฯ ได้ประชุมกันทุกเดือน เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ ร่วมกับเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทย ความจริงข่าวแบบนี้ออกมาได้ 2 ปีแล้ว และก็เงียบไป ที่ผ่านมามีการรณรงค์ให้ชาวสวนยางเปลี่ยนจากการใช้กรดซัลฟัวริกมาใช้เป็นกรดฟอร์มิก  และเชื่อว่าขณะนี้ชาวสวนยางเปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกถึง 60 เปอร์เซนต์แล้ว อีกทั้ง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตยางรถยนต์ ยังไม่ออกมาพูดเรื่องนี้โดยตรง มีเพียงผู้ผลิตยางแท่งส่งให้กับ 2 บริษัทออกมาพูดถึงเรื่องนี้


นายธีระชัย กล่าวด้วยว่า ยางอีสานมีคุณภาพดี นิยมนำไปทำยางแท่ง STR 20 เมื่อมีข่าวออกมาเช่นนี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยืนยันให้ชัดเจนว่าการใช้กรดซัลฟิวริกทำให้ยางไม่มีคุณภาพอย่างไรหรือไม่ เพราะในส่วนของสมาคมฯ ก็ได้รณรงค์เพื่อให้ยางของอีสานมีคุณภาพดี สามารถจำหน่ายได้ราคาสูง แต่การออกมาพูดครั้งนี้มองได้หลายแง่ ซึ่งราคายางแผ่นดิบรมควันชั้นต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ กำลังมีแนวโน้มราคายางจะสูงขึ้น ส่งผลให้ราคายางก้อนถ้วยมีมากในภาคอีสาน ก็มีราคาจะสูงตามขึ้นด้วย จาก 2 เดือนก่อน กก.ละ 13 บาท แต่ขณะนี้ราคาขึ้นมาถึง 24-25 บาท เมื่อมีข่าวออกมาราคาลดลงไปเหลือ 21 บาทเท่านั้น


“การพูดอย่างนี้ต้องมีหลักฐานยืนยันว่า 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ไม่ซื้อยางภาคอีสาน และทางโรงงานรับซื้อยาง  เพราะว่าเมื่อถึงเวลาก็ให้คนไปประมูลยาง นำยางไปผลิตเพื่อส่งออกอีกทีหนึ่ง ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นกา3รกดดันราคา ทางสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสานเห็นว่าหากผู้ผลิตยางรายนี้ที่กล่าวอ้างถึงบริษัทยักษ์ใหญ่นั้นจะไม่ซื้อยางภาคอีสาน  เราก็จะไม่ไปขายให้   เพราะว่าเรื่องดังกล่าวผู้บริหารของบริษัทผู้ผลิตยางรายนี้ออกมาพูดเพียงบริษัทเดียว ดังนั้น หากเป็นไปได้ขอให้ 2 บริษัทยางยักษ์ใหญ่ออกมาพูดให้ชัด ๆ รวมทั้งคำแนะนำต้องทำอย่างไร ฐานะที่เราเป็นผู้ผลิตส่งวัตถุดิบให้ เพื่อทำให้ถูกต้องได้คุณภาพ เพราะไม่อยากให้ประเทศไทยเสียชื่อเสียงเช่นกัน ไม่ใช่พอครบปีราคายางขึ้น ก็ออกมาพูดครั้งหนึ่ง ก็อดคิดไม่ได้ว่ามีการแย่งชิง มีการกดราคาแบบนี้ไม่ได้”


นายธีระชัยฯ กล่าวอีกว่า การพูดควรจะพูดในนามของสมาคมผู้ประกอบการยางทั้งประเทศ เพื่อที่จะได้รณรงค์ไม่ใช้กรดซัลฟูริกอย่างเต็มที่ ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการ ให้ออกมาประกาศในนามสมาคมฯ จะไม่มีการรับซื้อยางพาราที่ใช้กรดซัลฟิวริก ให้ประกาศออกมาเป็นหนังสือ เกษตรกรจะได้ปรับปรุง และทุกส่วนได้ร่วมกันรณรงค์ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอ ไม่ใช้กรดซัลฟิวริก


ด้านนายประสิทธิ์ กาญจนา ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวเช่นกันว่า ขอให้บริษัทผู้ผลิตยางทั้งสองรายนำผลงานวิจัยออกมาเปิดเผยอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการใช้กรดซัลฟิวริก การประกาศแบนยางพาราจากภาคอีสานและล้มเลิกแผนการตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท มีผลกระทบด้านจิตวิทยาระยะเวลาสั้น ๆ มองว่าเป็นเกมทางการค้าของกลุ่มพ่อค้ายางพารา แต่ไม่ทำให้ราคายางพาราของภาคอีสานลดลงอย่างฮวบฮาบ เพราะชาวสวนยางในภาค4อีสานมีการส่งยางพาราไปขายให้กับพ่อค้าในภาคตะวันออกและภาคใต้เป็นปกติอยู่แล้ว ขณะเดียวกันทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี ก็มีโรงงานผลิตยางแท่งแปรรูปส่งไปขายประเทศจีน และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้รับซื้อจากมาเลเซีย ซึ่งให้ความสนใจซื้อยางจากชุมนุมสหกรณ์ฯ ด้วย


“สวนยางของพี่สาวของผมอยู่ที่ภาคใต้ ต้นยางมีอายุกว่า 30 ปี และใช้กรดซันฟิวริกผสมในการทำยางก้อนถ้วย ก็ยังกรีดน้ำยางได้ตามปกติ ไม่ได้เสื่อมสภาพตามที่มีการกล่าวอ้าง เรื่องค่ายรถยนต์จะไม่รับซื้อยางพาราจากภาคอีสาน เป็นเรื่องได้ยินมา 2 ปีที่แล้ว และไม่รู้ว่าจริงตามข่าวหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงการใช้กรดซันฟิวริกให้ยางจับตัวกันเร็วนั้น มีการใช้มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย และปัจจุบันก็ยังใช้กันทั่วทุกภาคในไทย”.


-สำนักข่าวไทย


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5615 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7651
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6934
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7004
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6314
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7216
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6270
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6643
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>