ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 5449 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปลูกข้าวในกระถาง 1 ไร่ ได้ 9 ตัน ต่อ ปี

สำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัด อยากปลูกได้หลายรอบ ไม่ได้ทำเป็นอาชีพ หรือปลูกขาย ก็เป็นอีกแนวทางไว้ศึกษา (คุ้มค่ากระถางมั้ยนะ)

data-ad-format="autorelaxed">

ปลูกข้าวในกระถาง 1 งาน ใช้ 800 กระถาง 1 ไร่ ใช้ 3200 กระถาง 1 กระถาง จะได้ข้าว 7 ถึง 12 ขีด ถ้าใช้ช่วง 8 ขีดคูณ(3200×0.8 จะได้ข้าว 3360 ก.ก = 3.36 ตัน 1 ปี ปลูกได้ 3 ครั้ง ใช้ 3360×3 จะได้ข้าว 12080 ก.ก ต่อไร่ หรือ 12.08 ตันต่อปี เฉลี่ยแล้วปลูกข้าว 1 ไร่ ได้ 9 ตัน ต่อปีแน่นอน ปลูกข้าวต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต คืนชีวิตให้แผ่นดินไทย…ที่สำคัญกินแล้วสุขภาพดีครับผม

 

 

ทำนารูปแบบใหม่ “ปลูกในกระถาง”

 

มีข้าวกินตลอดปีในเนื้อที่จำกัด

 

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับการปลูกพืชผักไว้รับประทานเองของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง เพราะด้วยข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่ ยิ่งเป็นพืชอย่าง “ข้าว” ด้วยแล้ว แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการทำนาข้าวต้องใช้เนื้อที่ขนาดใหญ่ อีกทั้งยังต้องมีความเหมาะสมทั้งลักษณะของดินและลักษณะของพื้นที่ที่ต้องกักเก็บน้ำได้ รวมถึงการเตรียมดินและการเพาะปลูกก็ค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้การปลูกข้าวไว้รับประทานเองจึงเป็นเรื่องยากและเป็นไปไม่ได้จริง ๆ

 

แต่สำหรับเกษตรกรหัวใสอย่าง คุณสังคม น้อยสงวน ซึ่งได้พัฒนา วิธีการ “ปลูกข้าวในกระถาง” ร่วมกับ ดร.สมชาย ฐานเจริญ ซึ่งได้กำจัดข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่ไปอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ว่าอยู่ที่ไหน ลักษณะพื้นที่จะเป็นอย่างไรก็สามารถปลูกข้าวได้ ซึ่งการปลูกข้าวในกระถางยังเป็นวิธีการที่ง่าย ไม่ต้องไถเตรียมดินเหมือนปลูกในแปลงขนาดใหญ่ ที่สำคัญปีหนึ่งปลูกได้หลายรอบ ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของการปลูกข้าวในกระถางสูงกว่าการปลูกในแปลงนากว่าเท่าตัวเลยทีเดียว

 

“การปลูกข้าวหรือทำนาในกระถาง ก็คือการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวหรือกล้าข้าวมาปลูกลงกระถาง คล้ายกับการปลูกไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีง่าย ๆ ทั้งยังจัดการปัจจัยต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับข้าวได้ไม่ยาก ทำให้ทุกสภาพพื้นที่ปลูกข้าวได้ทั้งยังได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ให้สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกข้าวไว้รับประทานเอง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเมืองที่มีพื้นที่ไม่มากนัก หรือมีพื้นที่เป็นคอนกรีต ดาดฟ้า แม้แต่ระเบียงก็ปลูกได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ตามชนบทไม่มีที่นาก็สามารถนำวิธีนี้ไปปลูกข้าวไว้รับประทานเองได้ด้วย”

 

คุณสังคม บอกว่าตัวเองได้ทดลองปลูกข้าวไรซ์เบอร์รีลงในกระถางขนาดกว้างประมาณ 12 นิ้ว จำนวน 1,600 กระถาง ใช้พื้นที่สำหรับวางประมาณ 4 กระถาง / ตารงเมตร รวมใช้พื้นที่เฉพาะใช้วางกระถางประมาณ 400 ตารางเมตร หรือประมาณ 1 งาน ซึ่งได้ผลผลิตต่อรวงอยู่ที่ประมาณ 300 เมล็ด / รวง หรือกระถางละ 0.8-1 กิโลกรัม ผลผลิตรวมที่ได้ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1,400 กิโลกรัม ถือว่าเป็นผลผลิตที่สูงมากเมื่อเทียบกับขนาดของพื้นที่ที่ใช้ปลูก และใน 1 ปี สามารถปลูกได้ถึง 3 ครั้ง ซึ่งจะได้ผลผลิตรวมมากถึง 4,200 กิโลกรัมเลยทีเดียว

 

 

สำหรับวิธีการทำนาในกระถาง เริ่มจากการเตรียมกระถางที่นำมาใช้ปลูก ซึ่งใช้กระถางพลาสติกปากกว้างประมาณ 12 นิ้ว ราคาอยู่ที่ใบละ 10 บาท เกษตรกรอาจใช้ภาชะอื่นอย่างเช่ง ถัง กะละมัง หรือวัสดุเหลือใช้ที่มีขนาดพอเหมาะไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป มาใช้แทนกระถางก็ได้ ซึ่งก็ช่วยให้ต้นทุนการปลูกข้าวในกระถางลดลง แต่ทว่าจัดการได้ค่อนข้างยากถ้าหากปลูกจำนวนมาก ๆ

 

ส่วนดินที่นำมาใช้ปลูก ก็ใช้ดินจากพื้นนา แล้วนำมาคลุกเคล้ากับส่วนผสมที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักจุลินทรีย์ (EM) ก็ทำให้ได้ดินที่เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวในกระถาง ทั้งนี้การใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ผสมกับดินปลูก นอกจากช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นข้าวใช้ในการเจริญเติบโตแล้ว ยังช่วยกำจัดวัชพืชอย่าง ตะไคร่ เครือเถาล์ และหญ้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระถางปลูกได้ด้วย เนื่องจากน้ำหมักจุลินทรีย์ช่วยป้องกันไม่ให้แสงส่องทะลุถึงผิวดินในกระถาง เมื่อวัชพืชไม่ได้รับแสงจึงไม่มีแหล่งพลังงานจึงเจริญเติบโตไม่ได้

 

จากนั้นก็ต่อท่อเล็ก ๆ ไว้ที่บริเวณปากกระถางทุกใบสำหรับให้น้ำ ซึ่งก็คล้าย ๆ กับระบบการให้น้ำของพืชทั่วไป ซึ่งช่วยให้การจัดการการให้น้ำทำได้ง่าย หรืออาจใช้วิธีการขุดพื้นให้เป็นร่องลึกประมาณ 1 เมตร และกว้างพอให้พอวางกระถางได้ ซึ่งให้น้ำโดยการปล่อยเข้าไปในร่องจนท่วมกระถาง การให้น้ำแบบนี้อาจเหมือนการให้น้ำในนาข้าวทั่วไป แต่ทว่ารากข้าวที่อยู่เฉพาะในกระถางก็ทำให้การใส่ปุ๋ยและการดูแลต้นข้าวง่ายและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บริเวณสันร่องยังใช้ปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ได้ เป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และไม่ต้องกังวลว่าพืชที่ปลูกนั้นจะมาแย่งธาตุอาหารของต้นข้าวด้วย

 

“ก่อนเริ่มปลูกข้าว เราให้น้ำจนเต็มกระถาง แต่ก่อนที่เริ่มปลูกควรรอให้ตะไคร่ในกระถางตายให้หมดเสียก่อนถึงนำข้าวมาปลูกลงกระถางได้ ส่วนข้าวที่นำมาปลูกสามารถทำได้สองรูปแบบคือ นำเมล็ดข้าวเปลือกที่แช่น้ำพร้อมงอกแล้วมาปลูกในกระถาง โดยทำหลุมปลูกในกระถางจำนวน 3 หลุม ห่างกันพอประมาณ แต่ละหลุ่มใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 3 เมล็ด หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ เพาะกล้าในถาดเพาะเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 3 เมล็ด / หลุม เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 10-15 วัน ก็ย้ายมาปลูกในกระถาง จำนวน 3 ต้น / กระถางเช่นกัน”

 

สำหรับการจัดการดูแลหลังการปลูก ก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างจากการปลูกในแปลงนามากนัก มีการเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นข้าวโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ด ทยอยให้ครั้งละน้อย ๆ โดยดูจากความสมบูรณ์ของต้นและใบ เช่นใบข้าวมีอาการขาดสารอาหาร ใบเหลืองก็เสริมปุ๋ยอินทรีย์เข้าไป ซึ่งตลอดช่วงการปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต เฉลี่ยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 1 กำมือต่อกระถาง ระหว่างนี้หากพบวัชพืชขึ้นในกระถางก็กำจัดหรือถอนออก เมื่อครบกำหนดข้าวตั้งท้อง ออกร่วงและให้ผลผลิต ซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตทำได้โดยการเกี่ยวเหมือนข้าวทั่วไป แต่จะง่ายกว่าเนื่องจากข้าวแยกกออยู่ในกระถาง ทำให้เข้าถึงได้ง่าย

 

คุณสังคม บอกว่าพื้นที่ 1 งาน เมื่อรวมทางเดินด้วย สามารถปลูกข้าวได้ 800 กระถาง พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 3,200 กระถาง จากการทดลองปลูก 1 กระถางได้ผลผลิตประมาณ 0.8-1 กิโลกรัม ดังนั้นพื้นที่ 1 ไร่ ของการทำนาในกระถางจะได้ผลผลิตประมาณ 2,500-3,200 กิโลกรัม ซึ่ง 1 ปี สามารถปลูกได้ถึง 3 รอบ ดังนั้นพื้นที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวทั้งหมดสูงสุดถึง 9 ตันเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นปริมาณที่สูงมาก

 

แต่สำหรับการปลูกไว้รับประทาน โดยเฉลี่ย 1 คน จะบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม / ปี ครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่ 3 คน ถ้าปลูกข้าวในกระถางที่มีผลผลิตเฉลี่ย 0.9 กิโลกรัม ต้องปลูกไว้ประมาณ 350 กระถาง ซึ่งใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 90 ตารางวา หรือ กว้าง 9 เมตร ความยาว 10 เมตร ทำให้ได้ผลผลิตที่ 300 กิโลกรัม ซึ่งก็เพียงพอกับความต้องการบริโภคของทุกคนในครัวเรือนแล้ว แต่ถ้าพื้นที่มีจำกัดจริง ๆ ก็ใช้วิธีการปลูก 3 ครั้ง / ปี ซึ่งใช้พื้นที่ในการปลูกเพียง 1 ใน 3 หรือประมาณ 30 ตารางเมตร ซึ่งใช้พื้นที่กว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร เท่านั้น ไม่ว่าเป็นบนดาดฟ้าหรือหน้าบ้าน ก็สามารถใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวไว้รับประทานได้ทั้งหมด

 

“การทำนาในกระถาง อาจมีต้นทุนที่สูงในครั้งแรก ในส่วนของค่ากระถางและการวางระบบน้ำ แต่ถ้าดูจากปริมาณของผลผลิตที่ได้ ถือว่าคุ้มค่าอย่างมาก อีกทั้งไม่ต้องเสียเวลาในการไถเตรียมแปลง ทำให้ต่อปีสามารถปลูกข้าวได้ถึง 3 ครั้ง และยังควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่นการให้ปุ๋ยและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ได้ผลผลิตค่อนข้างสูง รวมถึงไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาน้ำแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการทำนาในกระถางยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมว่าเหมาะสมกับการทำเป็นแปลงขนาดใหญ่หรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ เวลานี้ ทุกคนสามารถปลูกข้าวในกระถางไว้รับประทานเองได้อย่างแน่นอน” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสังคม น้อยสงวน โทร. 08-9625-4674

 

Source: http://www.kaset.pw/2016/06/1-9.html


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5449 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

หมอผีไซด์เบอร์
[email protected]
ปลูกในแปลงนาไม่ต้องลงทุนกระถางสบายกระเป็ากว่ากันเยอะ
31 ก.ค. 2559 , 09:05 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7482
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 7824
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 8807
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 7638
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 7883
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 7646
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7566
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>