ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 49460 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ผักกาด หอมบัตเตอร์เฮด (Butterhead Lettuce)

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด (Butterhead Lettuce) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa L. ลักษณะทั่วไป ผักกาดหอม บัตเตอร์เฮด...

data-ad-format="autorelaxed">

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด (Butterhead Lettuce) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa L. ลักษณะทั่วไป ผักกาดหอม บัตเตอร์เฮด ใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อมกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบหลวมๆ
สภาพ แวดล้อมที่เหมาะสม

ผักกาดหอม บัตเตอร์เฮดอุณหภูมิ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24′C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางในจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม

ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็น กรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทน ต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน
การ ใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด เป็นพืชผักที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด รับประทานเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกต่างๆ ห่อเมี่ยงคำ เนื้อย่าง และยำต่างๆ หรือนำมตกแต่งในจานอาหาร

ผักกาดหบัตเตอร์เฮด มีน้ำ เป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรค โลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
การ ปฏิบัติดูแลรักษาผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเต รียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลง กว้าง 1 ม. ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่(รองพื้นที่) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่

การเต รียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์
ข้อควรระวัง

   1. อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหากการระบายน้ำไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย
   2. อย่าเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
   3. กล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
   4. ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ
   5. ก่อนใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ต้องวัด pH ก่อนช่วงเตรียมดิน
   6. หลังย้ายกล้าในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำ และจิ้งหรีด

การ ให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่ดการเจริญเติบโต การให้น้ำไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิดโคนเน่า

การ ใส่ปุ๋ย หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือผสม 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ อย่างละครึ่ง พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย 1/2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ
ข้อควรระวัง

   1. ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้(Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง
   2. การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบทระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
   3. ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก
   4. ไม่ควรปลูกซ้ำที่

การ เก็บเกี่ยว เมื่อมีอายุ ได้ประมาณ 40-60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้มีดตัดและเหลือใบนอก 3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียกน้ำ ควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว อย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติก
ข้อควรระวัง

   1. ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว ก่อนผักโตเต็มที่ 2-3 วัน เพราะ เน่าง่าย
   2. เก็บซากต้นนำไปเผาหรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก

โรค และแมลงศัตรูที่สำคัญของผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะ กล้า 20-25 วัน โรคกล้าเน่า, โรครากปม,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 25-30 วัน โรคใบจุด, โรครากปม,
ระยะห่อห้ว 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม,
ระยะเก็บเกี่ยว 50-55 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม

อ้างอิง : http://www.vegetweb.com/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%94/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 49460 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

Payalae
[email protected]
เรามีบัตเตอร์เฮด 150 กิโลกรัม,ฟิลเลย์ 200 กิโลกรัม ราคาพิเศษ กิโลกรัมละ 45 บาท สนใจติดต่อ 081-8786039
02 พ.ค. 2554 , 05:55 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 7597
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6333
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6337
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 7687
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7049
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7345
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6603
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>