ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 6384 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ส่งออก AEC ศักยภาพ ข้าว, ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, กาแฟ, มันสำปะหลัง

ส่งออก AEC - การยกเลิกกำแพงภาษีและลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตร ภายใต้การเปิดตลาดสินค้าเกษตร หลังการรวมกลุ่มเป็นประชา..

data-ad-format="autorelaxed">

ส่งออก AEC

 

ส่งออก AEC

 

ส่งออก AEC - การยกเลิกกำแพงภาษีและลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตร ภายใต้การเปิดตลาดสินค้าเกษตร หลังการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว ในภาพรวมจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ฐานการผลิตเดียวกัน การขยายการส่งออก และโอกาสทางการค้าสินค้าเกษตรและบริการ เนื่องจากอาเซียนจัดเป็นตลาดใหญ่มีประชากรรวมกันถึง 580 ล้านคน ทั้งยังเป็นยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่สำคัญและได้รับความสนใจจากประเทศคู่ค้า จนมีการลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน +1 ไปแล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์

 

FTA

FTA ส่งออก AEC

 

ความตกลงเปิดการค้าเสรี (FTA) เหล่านี้ส่งผลให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองในเวทีระดับโลก ทั้งเวที องค์การการค้าโลก (WTO) หรือการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (APEC) และที่สำคัญการรวมกลุ่มนี้ยังได้ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน จากการศึกษาระบุว่า การรวมกลุ่ม AEC จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 8-10% ต่อปี และเพิ่มรายได้ที่แท้จริงอีก 5.3% คิดเป็นมูลค่า 69,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

แม้ว่าการเปิดตลาดภายใต้กรอบอาเซียนจะสร้างประโยชน์ให้กับภาคการส่งออก แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เช่นกันว่า การเปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าภายในประเทศได้เช่นเดียวกัน

 

ข้าว

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก มีความคาดหวังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ว่าจะทำให้ภาษีนำเข้าข้าวของตลาดอาเซียนลดลงเป็น 0% ซึ่งจะช่วยเปิดตลาดส่งออกข้าวไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนให้ได้มากขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้ว การลดภาษีนำเข้าข้าวของประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, และฟิลิปปินส์ ต่างกำหนดให้สินค้าข้าวอยู่ในรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง (Sensitive List) และยังคงอัตราภาษีนำเข้าอยู่ระหว่างร้อยละ 30-40 อยู่ รวมทั้งมีการใช้มาตรการที่มีใช่ภาษีในการนำเข้าข้าวด้วย

 

ข้าว ส่งออก AEC

 

นอกจากนี้สินค้าข้าวไทยยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันในด้านราคากับประเทศคู่แข่งในอาเซียนด้วยกันเอง อาทิ เวียดนาม กัมพูชา และในอนาคตอาจจะเป็นเมียนมาร์ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตข้าวต่ำกว่าประเทศไทย ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของการส่งออกข้าวไทยในอาเซียนปรับลดลง

 

โดยผลศึกษาตลาดข้าวอาเซียนของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าการส่งออกข้าวเวียดนามกับข้าวไทยในตลาดอาเซียนระหว่างปี 2547-2551 ปรากฏข้าวไทยมีอัตราการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับข้าวเวียดนาม นับตั้งแต่ปี 2548 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังตลาดอาเซียนมีการขยายตัว 94.2% ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 67.5% ขณะที่ไทยมีอัตราการขยายตัวเพียง 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 31.1% เท่านั้น

 

และหลังจากนั้นเป็นต้นมา แม้ข้าวไทยจะมียอดการส่งออกข้าวในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวจากเวียดนามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวคุณภาพต่ำ เวียดนามมีราคาขายถูกกว่าข้าวไทยมาก ยกตัวอย่าง ราคาข้าวขาว 5% ของไทยสูงกว่าเวียดนามเฉลี่ย 30 เหรียญสหรัฐ/ตัน และในปี 2552 ราคาข้าวขาว 5% ของไทยสูงกว่าเวียดนามถึง 123 เหรียญสหรัฐ/ตัน สาเหตุที่ต้นทุนข้าวไทยสูงกว่าข้าวเวียดนามอาจจะมาจากนโยบายของรัฐบาล อาทิ การรับจำนำข้าวสูงกว่าราคาตลาดโลก ซึ่งจัดเป็นการอุดหนุนชาวนาโดยตรง ส่งผลให้ข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้

 

ที่สำคัญการที่ ราคาข้าวไทยสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรับจำนำของรัฐบาล อาจจะทำให้ข้าวราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชาทะลักเข้ามาภายในประเทศผ่านตามแนวชายแดนได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เดียวกันกับกรณีของน้ำมันปาล์ม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง เมล็ดกาแฟดิบ และน้ำตาล เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้

 

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สถานการณ์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศก็คือ มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลให้ต้องเปิดให้มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ


จากการศึกษาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าภายหลังการเปิดเสรีในปี 2558 ที่อัตราภาษีนำเข้าข้าวโพดจะลดลงเป็นร้อยละ 0 จะมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาภายในประเทศมากขึ้น

 

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งออก AEC

 

แม้ว่าการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระยะแรกจะยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ในระยะยาวการนำเข้าข้าวโพดจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากบริษัททางด้านปศุสัตว์ไทยได้เข้าไปส่งเสริมการลงทุนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และพืชชนิดอื่นๆ รวม 10 รายการในลักษณะ Contract Farming ภายใต้โครงการความร่วมมือสาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมภายใต้ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม โดยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certicate of Origin : C/O) เป็นโครงการนำร่องอยู่แล้ว โดยพืชทั้ง 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ละหุ่ง, มันฝรั่ง, ข้าวโพดหวาน, มะม่วงหิมพานต์, ยูคาลิปตัส, ลูกเดือย และ ถั่วเขียว ผิวมัน ในอนาคตจะเข้ามากดราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศ เหมือนกับที่กำลังเกิดขึ้นจากการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากกลุ่ม ACMECS อยู่ในปัจจุบันจนต้องมีการกำหนดระยะเวลาการนำเข้าในที่สุด

 

ถั่วเหลือง

ปัจจุบันผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศไทยที่ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ เมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนต้องลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553 ทำให้ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรงงานผลิตน้ำมันถั่วเหลืองกับ โรงงานผลิตอาหารสัตว์สามารถนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองได้ในราคาที่ถูกลง ในระยะสั้นอาจจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง เนื่องจากรัฐบาลมีระบบการนำเข้าภายใต้โควตาและบังคับให้โรงงานรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองในราคาประกัน

 

ถั่วเหลือง ส่งออก AEC

 

แต่ในระยะยาวอาจจะส่งผลกระทบให้จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองลดลง เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนาม ลาว สามารถปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าผลผลิตถั่วเหลืองไทย หากประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาผลผลิตต่อไร่และต้นทุนการผลิตให้ต่ำกว่าประเทศไทย จะยิ่งมีเมล็ดถั่วเหลืองราคาถูกทะลักเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น จนถูกกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกดราคารับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองจากเกษตรกรในที่สุด

 

ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม

ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของเกษตรกรของไทย โดยเฉพาะทางภาคใต้ รวมถึง ยังส่งผลให้ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านความมั่นคงทางด้านอาหารประเภทน้ำมัน โดยน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทยถือได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก เนื่องจากเป็นน้ำมันที่มีลักษณะใส ไม่มีตะกอน และไม่เป็นไข

 

ปาล์มน้ำมัน ส่งออก AEC

 

สำหรับพันธกรณีการเปิดตลาดสินค้าน้ำมันปาล์มตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับลดอัตราภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เหลือเพียงร้อยละ 5% ในปี 2556 จากอัตราภาษีภายใต้ข้อผูกพันสินค้าเกษตรขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเดิมภาษีนำเข้าในโควตากำหนดอยู่ที่ร้อยละ 20 หากเป็นภาษีนอกโควตากำหนดอัตราไว้ที่ร้อยละ 143% อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 ได้มีการยกเลิกมาตรการโควตาภาษี แต่หันมาใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี หรือ NTBs แทนด้วยการกำหนดให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มในอัตราภาษีร้อยละ 0 ได้เพียงหน่วยงานเดียว

 

ส่วนการปรับลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2553 ที่ต้องปรับลดภาษีลงเหลือ 0% ประเทศไทยยังคงสงวนการนำเข้าภายใต้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เหมือนกับการนำเข้าภายใต้ AFTA ในทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มดิบ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลโดย อคส.ได้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศมาเลเซียเข้ามาเป็นระยะๆ

 

ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนปาล์มอย่างชัดเจน เนื่องจากน้ำมันปาล์มดิบจากประเทศเพื่อนบ้านมีราคาถูกกว่าน้ำมันปาล์มดิบไทย อาจจะมีเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดราคาประกันผลปาล์มทะลายให้กับเกษตรกรภายในประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบไทยสูงกว่าน้ำมันปาล์มดิบจากมาเลเซีย

 

ประกอบกับการทำสวนปาล์มในประเทศไทยเป็นระบบสวนขนาดเล็ก พันธุ์ปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาน้อยกว่าพันธุ์ปาล์มของมาเลเซีย ต้นทุนการผลิตของประเทศไทยจึงสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น


การปรับลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มจึงส่งผลกระทบการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และผู้บริโภคในประเทศ ในแง่ที่ว่า จะต้องเผชิญกับสถานการณ์การขาดแคลนน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ มีราคาแพงเป็นระยะๆ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายไม่ยอมให้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ปรับขึ้นราคาตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้

 

นอกจากนี้โอกาสที่ประเทศไทยจะพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้แข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซียคงทำได้ยากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรของไทยเป็นเกษตรกรรายย่อย ขาดการบริหารจัดการและนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ทั้งสองประเทศดังกล่าวมีการทำสวนปาล์มแปลงขนาดใหญ่ผ่านการบริหารจัดการสวนที่ดี และอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มยังไม่ได้รับการปกป้องจากรัฐบาลด้วย จึงกล่าวได้ว่า


น้ำมันปาล์มของไทยเป็นสินค้าที่อยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง หากมีการปรับลดภาษีเป็นร้อยละ 0 และเปิดให้มีการนำเข้าได้โดยเสรี

 

กาแฟ

ปัจจุบันเมล็ดกาแฟดิบจากเวียดนามและสปป.ลาวทะลักเข้าสู่ประเทศไทยเพิ่มขึ้น หลังจากกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องลดภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟลงเหลือร้อยละ 5% ตั้งแต่ปี 2553 และเหลือร้อยละ 0 ในปี 2558 จะยิ่งทำให้มีการนำเข้าเมล็ดกาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมล็ดกาแฟดิบพันธุ์อาราบิก้าที่ให้ผลผลิตและคุณภาพดีกว่ากาแฟไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็น กาแฟพันธุ์ โรบัสต้า
เพาะปลูกในภาคใต้ของประเทศ

 

การแฟ ส่งออก AEC

 

ประกอบกับเวียดนามมีผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในขณะที่ประเทศไทยมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ทั้งของโรงงานคั่วบดและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้นทุนการปลูกกาแฟเวียดนามต่ำกว่ากาแฟไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นต้นทุนการจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว ดูแลรักษา ปุ๋ย สารเคมีป้องกันศัตรูพืช และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จึงเชื่อได้ว่า หลังการเปิดเสรีในปี 2558 เมล็ดกาแฟไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับกาแฟเวียดนามและ สปป.ลาวได้ การเตรียมตัวของภาคเอกชนไทย ขณะนี้เริ่มมีการเข้าไปลงทุนปลูกกาแฟใน สปป.ลาวเพิ่มขึ้น

 

มันสำปะหลัง

การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลทางด้านบวกกับสินค้าเกษตรอย่างมันสำปะหลังเพียงรายการเดียว เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังได้มากที่สุดในอาเซียน โดยครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าประเทศ คู่แข่งอย่าง เวียดนามและอินโดนีเซียค่อนข้างมาก ประกอบกับไทยมีต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ต่ำกว่า รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการแปรรูปมันสำปะหลังในรูปแบบต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น

 

มันสำปะหลัง ส่งออก AEC

 

ไม่ว่าจะเป็นโรงงานแป้งมัน โรงงานแป้งแปรรูป และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยปัจจุบันขึ้นอยู่กับการส่งออก “มันเส้น” ไปยังประเทศจีน โดยที่มันเส้นไทยจะต้องแข่งขันทางด้านราคากับมันเส้นจีน มีข้อได้เปรียบอยู่ที่เวียดนามยังไม่สามารถผลิตมันเส้นเพียงพอต่อความต้องการใช้ในตลาดจีนได้ แต่ข้อน่าเป็นห่วงในอนาคตก็คือ มันเส้นเวียดนามมีการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพมากกว่ามันเส้นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “มันเส้นสะอาด” กลายเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมาในช่วง 1-2 ปีนี้ หลังจากที่ผู้นำเข้ามันเส้นจีนอาศัยเรื่องของความสะอาด-สิ่งเจือปน
มากดราคามันเส้นไทย

 

ในทางกลับกัน เมื่อรัฐบาลไทยกำหนดนโยบายรับจำนำมันสำปะหลังภายในประเทศด้วยราคาที่สูงกว่าราคามันสำปะหลังในตลาดโลก ก็มักจะเกิดปรากฏการณ์ลักลอบนำเข้ามันสำปะหลังตามแนวชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกัมพูชา เข้ามาสวมสิทธิจำนำมันสำปะหลังภายในประเทศ เป็นปัญหาต่อเนื่องมาทุกปี แม้ว่าปริมาณการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านจะไม่มากพอที่จะส่งผลกระทบกับมันสำปะหลังไทยก็ตาม

 

ที่มา:หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6384 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9120
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7471
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7545
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7876
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6855
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8123
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7351
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>