ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 5106 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ทำไม เงาะ ลองกอง ทุเรียน จึงปลูกได้ที่ศรีสะเกษ

อำเภอขุนหาญจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ผลหลากหลายชนิดในภาคอีสาน จนได้รับการเรียกขานว่าเป็นดินแดนมหัศจรรย์..

data-ad-format="autorelaxed">

rambutan

 

เนื่องจากถูกบังโดยเทือกเขา จึงมักเปลี่ยนเส้นทางลงสู่ภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนฤดูหนาวที่นี่จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยอากาศจะหนาวจัดระหว่างเดือนมกราคม

 

อำเภอขุนหาญจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ผลหลากหลายชนิดในภาคอีสาน จนได้รับการเรียกขานว่าเป็นดินแดนมหัศจรรย์ เพราะเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่มีปลูกในทั่วทุกภาคของประเทศ ที่นี้มีผลไม้แทบทุกชนิดตั้งแต่ ทุเรียน มังคุด รวมทั้ง สะตอ ลองกอง ยางพารา ลำไย ลิ้นจี่ มะปรางหวาน กระท้อน ส้มโอ มะม่วง และฝรั่ง โดยเฉพาะ เงาะ และทุเรียนนั้น นับเป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีคุณภาพระดับส่งออกเช่นเดียวกับทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออก แถมมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากทางภาคตะวันออก และภาคใต้ คือ มีขนาดของผล รสชาติ และสีสันของเนื้ออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ที่สำคัญ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตามอายุ จึงได้ผลผลิตคุณภาพดี เหมาะแก่การส่งออก ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่มีสภาพอากาศที่เหมาะสม เพราะตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของอากาศจากเทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาที่กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ถึงแม้ว่าจะตั้งอยู่ห่างไกลจากทะเลมากและอยู่ในเขตร้อนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้จะพัดเข้ามาช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนลมนี้จะพัดเอาความชุ่มชื้น และนำฝนมาตกนอกจากนี้ยังอยู่ในเส้นทางของพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้อีกด้วย

 

แต่พื้นที่จะมีฝนตกน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีเทือกเขาพนมดงรักทางตอนใต้ขวางกั้นลมฝนหรือที่เรียกว่าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลักษณะเงาฝน ส่วนลมพายุที่ก่อตัวแถบทะเลจีน ใต้ จะไม่เบนทิศทางเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเนื่องจากถูกบังโดยเทือกเขาจึงมักเปลี่ยนเส้นทางลงสู่ภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนฤดูหนาวที่นี่จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์โดยอากาศจะหนาวจัดระหว่างเดือนมกราคม ส่วนฤดูร้อนจะเริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม เดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดคือเดือนเมษายน ด้วยลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวจึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มี3ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาวแต่สิ่งที่ยังขาดอยู่ก็คือเรื่องน้ำ เพื่อการเพาะปลูกอย่างเพียงพอดังที่กล่าวมาว่าพื้นที่แห่งนี้ปริมาณน้ำฝนจะน้อย อดีตในพื้นที่จะไม่สามารถปลูกพืชให้ผลได้ เพราะขาดน้ำแต่ต่อมาเมื่อการบริหารจัดการน้ำที่ดีเกิดขึ้นในพื้นที่ การปลูกพืชให้ผลจึงประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏในทุกวันนี้ เพราะที่นั่นมีโครงการอ่างเก็บน้ำ ห้วยตาจูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลโนนสูง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ตั้งอยู่ เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนและส่งเข้าสู่แปลงปลูกพืชอย่างทั่วถึงและเพียงพอในช่วงฤดูแล้ง การปลูกพืชให้ผลของพื้นที่จึงประสบความสำเร็จ และล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 ที่ผ่านมานายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วยนายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการ กปร. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ ที่ปรึกษาสำนักงาน กปร. นายเทิดศักดิ์ บุณยขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านแหล่งน้ำ มูลนิธิชัยพัฒนา และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการน้ำ ของโครงการฯ พบว่าตั้งแต่ปี 2529 ภายหลังจากได้จัดสร้างอ่างเก็บน้ำ และคลองส่งน้ำ ระบบชลประทาน ทางส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง จวบจนปัจจุบันระบบน้ำ ได้เข้าถึงแปลงปลูกของเกษตรกร อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ราษฎรมีแหล่งน้ำ เพียงพอต่อการเกษตร โดยอ่างฯ สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกเป็นนาข้าวประมาณ 13,000 ไร่ ในช่วงฤดูฝน และประมาณ 4,500 – 6,500 ไร่ ในฤดูแล้ง และพื้นที่ไม้ผลอีกจำนวนไม่น้อย ราษฎรมีน้ำสำหรับทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมกันนี้คณะยังได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมสวนผลไม้ของ นายสามารถ ทองสวัสดิ์ เกษตรกรผู้ปลูกไม้ให้ผลนานาชนิดบนเนื้อที่กว่า 88 ไร่ อาทิ มะม่วง ลิ้นจี่ ทุเรียน มังคุด และฝรั่ง ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวอย่างของความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำของโครงการฯ อย่างเห็นได้ชัดเจน

 


ข้อมูลจาก dailynews.co.th/agriculture/318278


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5106 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6119
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6785
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6228
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7298
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6695
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5695
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5810
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>