ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่ข้าวโพด | อ่านแล้ว 7905 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มอดดิน แมลงศัตรูข้าวโพด เราจะป้องกันและกำจัดได้อย่างไร

มอดดิน อาศัยอยู่ในดิน และมีสีสันกลมกลืนกับดิน เป็นศัตรูของข้าวโพด ที่ทำให้ต้นกล้าเสียหายถึงตายได้ ลองดูวิธีป้องกันกำจัด.

data-ad-format="autorelaxed">

มอดดิน

 

มอดดิน มีสีสันกลมกลืนกับดิน

โดยทั่วไปชอบอาศัยอยู่ในดินและมีสีสันกลมกลืนกับสีดินจึงได้ชื่อว่า มอดดิน แต่มีรูปร่างลำตัวอ้วนป้อมสั้น และมีปากงุ้มลงคล้ายงวงช้าง เกษตรกรจึงนิยมเรียกว่า มอดช้าง พบระบาดครั้งแรกที่อำเภอลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ปี 2522 และมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยกัดกินใบและต้นอ่อน ตลอดจนเมล็ดที่เพิ่งงอกของข้าวโพด ทำให้ต้นกล้าเสียหายถึงตายได้ ต้นที่รอดจากการทำลายจะแตกแขนง ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ข้าวโพดแก่ไม่พร้อมกัน ฝักลีบเล็กหรือไม่ติดเมล็ด เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขเมื่อเกิดการระบาดของแมลงชนิดนี้ จำเป็นต้องไถทิ้งและปลูกใหม่ และอาจต้องทำเช่นนี้ 3-5 ครั้ง ต่อฤดูปลูกที่ 2 ในระหว่างปลายเดือนสิงหาคม และกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่พบการระบาดของแมลงรุนแรง และรวดเร็ว ประกอบกับในระยะดังกล่าวเป็นช่วงปลายฤดูฝน ซึ่งมักประสบปัญหาฝนแล้ง จึงเป็นการเพิ่มระดับความเสียหายจากแมลงชนิดนี้ให้รุนแรงยิ่งขึ้น แมลงชนิดนี้จะทำลายพืชในระยะตัวเต็มวัยเท่านั้น

 

ลักษณะของ มอดดิน

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ มอดดินในระยะไข่มีลักษณะกลมรีสีขาว ผิวเรียบวางเป็นฟองเดี่ยว ๆ มีขนาดความกว้างเฉลี่ย 0.30 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 0.50 มิลลิเมตร ระยะไข่เฉลี่ย 6.8 วัน หนอนมีรูปร่างงอเป็นรูปตัว C ไม่มีขา หนอนทีฟักใหม่ ๆ มีสีขาวใสและมีขนเล็ก ๆ สีขาวใสทั้งตัว หัวกะโหลกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อหนอนอายุมากขึ้น หนอนที่โตเต็มที่มีความกว้างของหัวกะโหลกเฉลี่ย 0.75 มิลลิเมตร ความยาวลำตัวเฉลี่ย 6.5 มิลลิเมตร ระยะหนอนเฉลี่ย 45 วัน ดักแด้มีรูปร่างแบบ exaratepupa คือขาและปีกเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระไม่ติดกับลำตัว มีสีขาวครีม ขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ย 2.00 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 3.89 มิลลิเมตร ระยะดักแด้เฉลี่ย 5 วัน ตัวเต็มวัยเป็นตัวงวงขนาดเล็กลำตัวป้อมมีสีดำปนน้ำตาลและเทา มีขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ย 2.22 มิลลิเมตร ความยาวลำตัวเฉลี่ย 3.5 มิลลิเมตร กลางวันพบเดินอยู่ทั่ว ๆ ไปในแปลงหรือหลบอยู่ใต้ดินบริเวณโคนต้นพืชหรือเศษซากพืช โดยเฉพาะตามกอต้นอ่อนของข้าวโพดที่งอกจากฝักที่หลงตกค้างอยู่ ตัวเต็มวัยเริ่มออกหากินในเวลาพลบค่ำ พร้อมกับจับคู่ผสมพันธุ์กันไปด้วยตัวเต็มวัยวางไข่ในเดิน และตัวหนอนจะอาศัยกินอินทรียวัตถุที่อยู่ในดิน จนกระทั่งเข้าดักแด้

 

แมลงหางหนีบ ป้องกันกำจัด มอดดิน ได้

การป้องกันกำจัด แมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ คือ แมลงหางหนีบ Prereus simulans Stallen เป็นตัวห้ำกัดกินไข่และหนอนของมอดดิน เนื่องจากมอดดินทำลายข้าวโพดตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก ดังนั้นการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด คือ การป้องกันมิใช่กำจัด หากรอใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเมื่อพบมีรอยทำลายแล้วอาจป้องกันไว้ไม่ได้เพราะลักษณะการทำลายรุนแรงมาก ถ้าเกิดการระบาดขึ้น ดังนั้นถ้าจำเป็นที่ต้องปลูกข้าวโพดในแหล่งที่เคยมีการระบาดหรือมีการระบาดทุกปี ควรใช้สารฆ่าแมลงประเภทคลุกเมล็ดก่อนปลูก เพราะให้ผลในการคุ้มกันได้ดี อีกทั้งประหยัด สะดวกและปลอดภัยต่อผู้ใช้ ซึ่งสารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลดี คือ imidacloprid (Guacho 70% WS) อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ carbosulfan (Posse 25 ST) อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม สำหรับในกรณีที่จำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงชนิดผสมน้ำฉีดพ่น หรือหากยังพบปริมาณแมลงสูงอยู่โดยสังเกตจากรอยทำลาย ถ้าพบต้นที่ใบถูกทำลายเสียหาย 50 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทั้งหมดให้พ่นสารฆ่าแมลงชนิดผสมน้ำอีกครั้งให้ทั่วต้นอ่อนและรอบ ๆ บริเวณโคนต้น สารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ดี คือ carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbousulfan (Posses 25% ST) คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก โดยใช้อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ imidacloprid (Gaucho 70% WS) คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก โดยใช้อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เนื่องจากการทำลายของแมลงชนิดนี้จะรุนแรงขึ้นเมื่อแล้งจัด ดังนั้นควรจัดระยะเวลาปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้นอ่อนกระทบแล้ง เพราะหลัง

 


ข้อมูลจาก arda.or.th/kasetinfo/north/plant/corn_insect.html


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 7905 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่ข้าวโพด]:
หนอนเจาะฝักข้าวโพด ข้าวโพดใบไหม้ ข้าวโพดฝักหวี ราสนิมข้าวโพด รู้โรคแก้ได้ แก้แล้วผลผลิตเพิ่ม
ข้าวโพดอ่อนแอต่อโรค เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ หนอน แมลงศัตรูพืช และโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายข้าวโพดของเราได้ง่าย
อ่านแล้ว: 5086
โรคราสนิม ในข้าวโพด สร้างความเสียหาย ทำให้ผลผลิตลดลง ควรป้องกัด และรักษา
โรคราสนิม ที่เกิดกับข้าวโพด ใบข้าวโพดจะซีด เหลือง และแห้ง ซึ่งส่งให้ให้ ผลผลิตข้าวโพดลดลงเป็นอย่างมาก
อ่านแล้ว: 5893
ข้าวโพดใบไหม้ โรคใบไหม้แผลใหญ่ ทำข้าวโพดแห้งตายได้ ป้องกันได้ดังนี้
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคนี้ แผลหลายๆแผลจะขยายรวมกันมาก จนทำให้ข้าวโพด ใบแห้ง และตายลงไปในที่สุด
อ่านแล้ว: 6429
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดติดเมล็ดน้อย ไม่เต็มฟัก และยังดึงดูดศัตรู้พืชอื่นๆ - ปราบได้
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เข้าทำลายต้นข้าวโพด โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าวโพด เช่น กาบใบ โคนใบ ยอด กาบฝัก
อ่านแล้ว: 6779
กลางปีหน้า เจียไต๋ ปล่อยของ ข้าวโพดหวานม่วง..กินสดได้
ข้าวโพดหวานลูกผสมสีม่วง ที่ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์มานานถึง 10 ปี เพื่อให้ได้ข้าวโพดที่มี แอนโทไซยานิน หรือสาร..
อ่านแล้ว: 6375
ข้าวโพด8ล้านตันใครได้-ใครเสีย พรศิลป์ ชำแหละธุรกิจอาหารสัตว์

อ่านแล้ว: 5298
บัณฑิตเกษตรยุคไอที ปั้นข้าวโพดแดงขายผ่านโซเชียล
บัณฑิตป้ายแดงจากรั้วนนทรี ผู้ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ทำการตลาดเอง ปั้นแพ็กเกจสุดเก๋ ขายผ่านออนไลน์
อ่านแล้ว: 5554
หมวด ไร่ข้าวโพด ทั้งหมด >>