ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 5828 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปุ๋ยสั่งตัด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ทำกำไรสูงขึ้นได้ ด้วยปุ๋ยสั่งตัด

การใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่านั้น จำเป็นต้องสนใจเป็นพิเศษ ต้องใช้ให้ถูกปริมาณ ถูกวเลา ถูกวิธี จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด และประหยัด..

data-ad-format="autorelaxed">

การ ใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่า เกษตรกรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการใช้ปุ๋ยให้ “ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี” แต่ขณะนี้เกษตรกรไทยเกือบ 100%ไม่มีการตรวจวิเคราะห์เอ็น-พี-เค ในดินก่อนปลูกพืช ทั้งยังใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับดินและไม่ตรงตามความต้องการของพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการผลิตพืช ดังนั้นจึงได้พัฒนาเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกข้าว, ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน…นี่เป็นคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ปุ๋ยสั่งตัด

“ปุ๋ยสั่งตัด” หรือ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ เป็นการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแต่ละชุดดินที่มีมากกว่า 200 ชุดดิน ทั้งยังต้องสอดคล้องกับความต้องการของพืช โดยนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน และปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดินมาพิจารณาร่วมกัน โดยใช้แบบจำลองการปลูกพืชและโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจมาคำนวณโดยใช้ คอมพิวเตอร์ คาดคะเนคำแนะนำปุ๋ยเอ็น-พี-เค ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีความแม่นยำและสอดคล้องกับความต้องการของพืช และยังสามารถคาดคะเนผลผลิตและผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อใช้เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด”

 

ปุ๋ยสั่งตัด

 

การใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด มี 3 ขั้นตอน ขั้นแรก เกษตรกรต้องตรวจสอบชุดดินในแปลงของตนเองก่อน โดยสามารถสอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดหรือดูจากแผนที่ชุดดิน หรือสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.soil.doae.go.th ขั้นที่สองตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน โดยเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์ หรือเกษตรกรอาจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit) และ ขั้นสุดท้าย ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ โดยศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือโปรแกรม SimRice, SimCorn และ SimCane สำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th (หรือ www.ssnm.info ในปัจจุบัน)

 

เกษตรกรส่วนใหญ่มองว่า การตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน มีวิธีการและขั้นตอนยุ่งยากจึงไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ไม่รู้จักดินในแปลงของตนเองอย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเบื้องต้นต้องแบ่งพื้นที่ก่อน หากพื้นที่ใหญ่มากหรือดินไม่สม่ำเสมอและดินมีลักษณะแตกต่างกัน ปลูกพืชต่างกัน ใช้ปุ๋ยต่างกัน และดินมีสีต่างกัน ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย และแยกเก็บดิน 1 ตัวอย่างต่อ 1 แปลงย่อย

 

การเก็บดินในแต่ละตัวอย่าง ให้เดินในลักษณะซิกแซ็ก สุ่มเก็บดินให้ทั่วแปลง แปลงละ 15 จุด ซึ่งการเก็บดินแต่ละจุดให้ใช้จอบหรือพลั่วขุดดินเป็นรูปลิ่ม ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร (นาข้าว) หรือลึก 15-20 เซนติเมตร (สำหรับข้าวโพด) ใช้เสียมหรือพลั่วแซะด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 เซนติเมตรจนถึงก้นหลุม ใช้เฉพาะส่วนกลางของแผ่น ตัวอย่างดินที่ได้นับเป็นตัวแทนของดินหนึ่งจุด นำตัวอย่างดินใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก และคลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก


และคลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง ถ้าดินเปียก ตากในที่ร่ม ห้ามตากแดด ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ กองดินเป็นรูปฝาชี แล้วขีดเส้นแบ่งกองดินเป็นสี่ส่วนเท่ากัน จากนั้นเก็บตัวอย่างจากกองดินเพียง 1 ส่วน ให้ได้ดินน้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม ถ้าดินยังเปียกอยู่ ให้ผึ่งในที่ร่มต่อไป แล้วบดให้ละเอียดโดยใช้ขวดแก้วที่สะอาด เก็บใส่ถุงพลาสติกและเขียนหมายเลขกำกับไว้ ส่งตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน หรือทำการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินด้วยตนเอง โดยใช้ ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบ

รวดเร็วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Soil Test Kit) ใช้เวลาเพียง 30 นาที ก็ทราบผลได้ ซึ่งชุดตรวจสอบดังกล่าว ราคาชุดละ 3,745 บาท สามารถตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารเอ็น-พี-เค ในดินและความเป็นกรดด่างของดินได้ 50 ตัวอย่าง จะทำให้เกษตรกรทราบว่า ดินในแปลงของตนเองมีธาตุอาหาร เอ็น-พี-เค อยู่ในระดับต่ำ ปานกลางหรือสูง และใช้คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนาไว้ให้เรียบร้อยแล้วสำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” มีอยู่ในลักษณะเป็นรูปเล่มและในรูปของโปรแกรมซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จาก เว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th หรือ www.banrainarao.com ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้ถูกต้อง และลดต้นทุนการผลิต

 

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ทำการวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปลูกพืช และเป็นแนวทางนำไปสู่การลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ใน “โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร”

 


 

ข้อมูลแนะนำเพิ่มเติม

การตรวจวิเคราะห์ค่าดินออนไลน์ เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์แบบออนไลน์ ส่งดินเข้าตรวจทางไปรษณีย์ รออ่านผลตรวจหน้าเว็บไซต์ รวดเร็วภายใน 7 วัน สามารถใช้บริการได้ที่ www.iLab.Asia

แอพผสมปุ๋ย สามารถทดลองคำนวณการผสมปุ๋ยได้ด้วยตัวเอง
Android: ดาวน์โหลดแอพผสมปุ๋ยสำหรับแอนดรอยด์
iOS: ดาวน์โหลดแอพผสมปุ๋ยสำหรับไอโฟน

สำหรับท่านที่ต้องการสั่งผสมปุ๋ยเป็นสูตรใดๆก็ได้ ขั้นต่ำเพียง 1 ตัน หรือ 20 กระสอบ กระสอบละ 50 กิโลกรัม ทางฟาร์มเกษตร ยินดีให้บริการผสมปุ๋ยได้ทุกสูตร ตามที่คุณต้องการ คุณภาพสูงด้วยแม่ปุ๋ยชั้นดี ในราคาย่อมเยาว์
ติดต่อ ฟาร์มเกษตร หรือ FarmKaset.ORG โทร 089-459-9003


อ้างอิง ssnm.info
รูปภาพจาก wisegeek.com

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5828 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6024
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6393
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8254
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6838
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6818
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6319
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6340
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>