ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 13191 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

แตงกวา เทคนิคการปลูกแตงกวา

การปลูกแตงกวา สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่เหมาะสมคือช่วงปลายฤดูฝน จะให้ผลผลิตดี ผลผลิตเฉลี่ยสูง

data-ad-format="autorelaxed">

ฤดูกาลที่เหมาะสม ในการปลูกแตงกวา

*  แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อย ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

*  ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ ให้การเจริญเติบโตทางลำต้นอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน และติดผลในระยะ

เริ่มฤดูหนาวจะให้ผลผลิตดี

*  ฤดูร้อน     บางช่วงอาจจะพบปัญหาดอกร่วง  ทำให้ผลผลิตลดลง

*  ฤดูหนาว   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส แตงกวาจะมีอาการชะงักการเจริญเติบโต

*  เพาะกล้า ใช้เมล็ด  150-200 กรัม/ไร่  (หยอดหลุม 300 กรัม/ไร่)

*  ผลผลิต  5-6 ตัน/ไร่

 

แตงกวา เทคนิคการปลูกแตงกวา

 

รายการ

พันธุ์

ลักษณะ

ลำต้นแข็งแรง  เจริญเติบโตเร็ว ผลดก    แตกแขนงดี  ต้านทานโรคได้ดี

อายุการเก็บเกี่ยว

อายุเก็บเกี่ยว 28-32 วันหลังหยอดเมล็ด

ผล

ผลยาว 8-10 ซม.  สีเขียวอ่อน ไหล่เขียว ทรงกระบอก ผลยาวสวย ไส้เล็ก น้ำหนักดี

 

เตรียมดินการปลูก  แบบขึ้นค้างการปลูก  แบบเลื้อยตามดิน

1. ไถดินลึก 30-35 ซม.

2.  ตากแดดทิ้งไว้ 7-10 วัน

3. ใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 1-2 ตัน/ ไร่

และปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองก้น

หลุมก่อนปลูก

4. คลุมแปลงด้วยพลาสติกเพื่อ

ป้องกันการสูญเสียความชื้น

และลดการระบาดของแมลง

 

1. ระหว่างต้น 40-50 ซ.ม.

ระหว่างแถว 80-100 ซ.ม.

เว้นร่องน้ำระหว่างแปลง 50 ซ.ม.

2. หยอดเมล็ดหลุมละ 1-2 เมล็ด

3. เมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ  ถอนแยกให้

เหลือ 1 ต้น/ หลุม

4. จัดการง่าย ผลผลิตมีคุณภาพและ

ผลผลิตสูงกว่าวิธีปลูกแบบเลื้อย

ตามดิน

1. ระหว่างต้น 40-50 ซ.ม.

ระหว่างแถว 3-4 เมตร

เว้นร่องน้ำระหว่างแปลง 50 ซ.ม.

2. หยอดเมล็ดหลุมละ1-2 เมล็ด

3. เมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ  ถอนแยกให้

เหลือ 1 ต้น/หลุม

4. สะดวกและประหยัดต้นทุน

 

การใส่ปุ๋ยให้กับแตงกวา

อายุ                สูตรปุ๋ย              อัตราการใช้

1. เตรียมดินปลูก   (ใส่รองก้นหลุม)

2. ระยะต้นกล้า      (อายุ  15 วัน)

3. ระยะดอกบาน  ( อายุ  25 วัน)

4. ระยะบำรุงผล   (อายุ  28 วัน)

15-15-15

15-15-15  หรือ  25-7-7

15-15-15   หรือ  8-24-24

15-15-15

50  กก. / ไร่

50  กก. / ไร่

50  กก. / ไร่

50  กก. / ไร่

 

การให้น้ำโรคที่สำคัญแมลงที่สำคัญการใช้ฮอร์โมน
1. ให้น้ำพอดีจะทำให้มีผลผลิต
สูงสุด และคุณภาพดีที่สุด
2. แตงกวาเป็นพืชที่ต้องการน้ำ
มาก แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง
3. ช่วงเริ่มให้ผลผลิต ไม่ควร
ให้เกิดการขาดน้ำ
4. ไม่ควรให้น้ำช่วงเย็นจะทำให้
เกิดโรคทางใบได้ง่าย
โรคราน้ำค้าง
ป้องกันโดยฉีดพ่น
คาร์เบนดาซิม
แมนโคเซ็ป
หรือริโดมิล
 
1. เพลี้ยไฟ
ป้องกันโดยฉีดพ่น
สารอะบาเม็กติน
หรือไซเปอร์เมทริล
2.  แมลงเต่าต่างๆ
ใช้ คาร์บาเมท
หรือออร์แกโนฟอสเฟต
กระตุ้นการแตกแขนง
ใช้สาหร่ายทะเลผสมธาตุอาหารเสริมฉีดพ่นตั้งแต่ระยะแตงกวามีใบจริง 3-5 ใบ
 

 

โรค และแมลงในแตงกวา

1.โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า “โรคใบลาย” 

เชื้อสาเหตุ :  Peronospora cubensis

ลักษณะอาการ : 

เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ
 
แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง
 
ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ
 
การป้องกันกำจัด : 
 
คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน
 
หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้
 
เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ยาไซเนบ  มาเนบ
 
ไม่ควรใช้ยาเบนโนมิล หรือยาเบนเลท เพราะไม่สามารถกำจัดโรคนี้ได้  ซึ่งควรฉีด Curzate M8, Antrachor
 
สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ  ต้นที่เป็นโรคให้ตัดใบและกำจัดต้นที่เป็นโรคออกไปทำลายโดยการเผา
 
 
ra-namkang
โรคราน้ำค้าง ที่เกิดกับแตงกวา
 
 
2. โรคใบด่าง (Mosaic)
 
เชื้อสาเหตุ : Cucumber mosaic virus
 
ลักษณะอาการ : 
 
ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ       มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ
 
ใบหงิกเสียรูปร่าง ยอดที่แตกใหม่จะมีสีซีดและอาการ่างมากขึ้น ใบจะมีขนาดเล็ดลง มีรูปร่างผิดปกติ
 
ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
 
 การป้องกันกำจัด :  
 
ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด
 
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส
 
อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาดแปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้
 
สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ  การติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วเพราะมีการปลูกที่ระยะใกล้กันมาก
 
แมลงจะเป็นพาหะนำเชื้อนี้จึงควรป้องกันด้วยการไม่ปลูกชิดกันจนเกินไป
 
เมื่อพบต้นที่แสดงอาการให้รีบถอนแยกเสียทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด
 
 
bai-dang
โรคใบด่าง ที่เกิดกับแตงกวา
 
3. โรคผลเน่า (Fruit rot)
 
เชื้อสาเหตุ :  Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea
 
ลักษณะอาการ : 
 
มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น
 
กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม
 
กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน
 
แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า
 
จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
 
การป้องกันกำจัด : 
 
ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
 
 
 
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew) 
 
เชื้อสาเหตุ : Oidium sp.
 
ลักษณะอาการ :
 
 มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป
 
เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
 
มักพบการระบาดในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ภายในอากาศต่ำ
 
การป้องกันกำจัด : 
 
ควรป้องกันก่อนการระบาด ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเขื้อราในกลุ่มของ       ไดโนแคป ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ
 
20 ลิตรเมื่อพบอาการเริ่มแรก หลังจากนั้นฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน หรือฉีดพ่นด้วยสารละลายกำมะถัน ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ 20
 
ลิตร แต่ต้องพ่นในเวลาเย็นหรืออากาศไม่ร้อน เป็นต้น หรือเมื่อว่ามีการระบาดควรฉีดพ่นด้วย เบนเลท  เดอโรซาล
 
Diametan หรือ Sumilex
 
 
rapang
โรคราแป้ง ในแตงกวา
 
 
5. เพลี้ยไฟ (Thrips: Haplothrips floricola) 
 
ลักษณะ :  
 
เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
 
การทำลาย : 
 
 ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง
 
ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
 
การป้องกันกำจัด : ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น
 
จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้
 
ใช้สารฆ่าแมลง : คาร์โบฟูราน ได้แก่ ฟูราดาน 3 จี หรือ คูราแทร์ 3 จี 1 ช้อนชาต่อหลุม     ใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ด
 
จะป้องกันได้ประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้สารฆ่าแมลง พวก โมโนโครโตฟอส เมทโธมิล อะบาเม็กติน
 
ฟอร์มีทาเนท พอสซ์เมซูโรล แลนเนท ไดคาร์โซล ออลคอล อะโซดริน โตกุไทออน หรือทามารอน ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
 
เป็นต้น
 
plear-fire
โรคเพลี้ยไฟ ที่เกิดในแตงกวา
 
 
6. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii) 
 
ลักษณะ : 
 
เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว   2 ท่อน
 
เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเหลืองอมเขียว รูปร่างคล้ายรูปไข่ มีปากยื่นยาวไปใต้ส่วนอก
 
เมื่อโตขึ้นจะมีสีคล้ำเป็นสีเขียวอมเทา ตัวแก่สีดำและมีปีกบินได้ ระยะตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ใช้เวลา 5-41 วัน
 
ตลอดชีวิตตัวเต็มวัยตัวหนึ่งๆสามารถออกลูกได้ 15-450 ตัว
 
การทำลาย :
 
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย
 
มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
 
บริเวณที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายจะค่อยๆมีสีเหลืองจนในที่สุดจะมีสีเหลืองซีดและหลุดร่วงหล่นจากต้น
 
การเจริญเติบโตของพืชจะหยุดชะงัก
 
นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนของพืชที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายอาจมีราดำเกิดขึ้นและเมื่อราดำระบาดมากๆปกคลุมส่วนยอดและใบ
 
อ่อนก็จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปได้ยาก มีผลทำให้การเจริญเติบโตของพืชไม่เป็นไปตามปกติ
 
การป้องกันกำจัด : ถ้าพบต้นที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดทำลายให้ถอนแล้วนำไปทำลายโดยการเผาไฟ
 
ถ้าระบาดมากอาจใช้ยาป้องกันกำจัดมลงฉีดพ่น ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
 
 
 
7. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.) 
 
ลักษณะ :  ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
 
การทำลาย : 
 
ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน
 
มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
 
การป้องกันกำจัด : ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น
 
 
 
8. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills)  และ   เต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis) 
 
ลักษณะ : 
 
เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม.
 
อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า
 
การทำลาย :
 
 กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต
 
ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก
 
การป้องกันกำจัด:  
 
ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว  ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน
 
คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น          ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี
 
ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ       2 สัปดาห์
 
 
Read-beatles
เต่าแตงแดง
 
 
9. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring
 
caterpillar: Helicoverpa armigera) 
 
ลักษณะ :
 
หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2
 
เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า
 
ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน
 
การทำลาย : กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
 
การป้องกันกำจัด :  ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น
 
 
none-gin-bai-tang
หนอนกินใบแตง ในแตงกวา
 
 

อ้างอิง

 
ข้อมูลจาก chilliseedsthailand.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ตราทองไทย ซึ่งให้ข้อมูลไว้ละเอียดดีมากครับ ทำข้อมูลดีๆ ก็น่าสนับสนุน (ผมไม่ได้รับค่าโฆษณาจากเขานะครับ นำข้อมูลของเขามาขึ้นเว็บไซต์ และเห็นว่าเป็นประโยชน์ น่าสนับสนุนครับ)
 
รูปแตงกวารูปบนสุดจาก prachachat.net

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13191 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 7583
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6319
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6312
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 7661
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7039
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7327
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6589
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>