ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 6940 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

สาหร่ายเกลียวทอง

สาหร่ายเกลียวทอง - การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง Commercial Spirulina Cultivation สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ดีต่อสุขภาพ

data-ad-format="autorelaxed">

สาหร่ายเกลียวทอง คืออะไร


           สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina) เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จัดเป็นพืชชื้นต่ำ (prokaryote) มีหลายเซลล์เรียงตัวกันเป็นเส้นสาย, บิดเป็นเกลียวที่เรียกว่า ทรัยโคม (trichome) ไม่มีกิ่งก้าน ไม่แตกแขนง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน ขนาดรูปร่าง และลักษณะเกลียวจะแตกต่างกันไป

           โครงสร้างผนักเซลล์มีความหนา 40-60 นาโนเมตร ประกอบด้วยผนังย่อย 4 ชั้น, ชั้นในสุดมีสาร b 1,2-glucan เป็นองค์ประกอบ ซึ่งถูกย่อยได้ยาก ชั้นถัดมามีความคงตัวสูงเป็นสารประกอบ peptidoglycan, ส่วนอีกสองชั้นเป็นสารประกอบ protein fibrils และ glycoprotein ไม่พบสารประกอบพวกเซลลูโลส ภายในเซลล์มีแกสแวคคูโวลขนาดใหญ่ทำให้ลอยตัวในน้ำได้ดี

           ในธรรมชาติจะพบสาหร่ายเกลียวทองทั่วไปทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม โดยเฉพาะน้ำที่มีความเป็นด่างสูง (pH~10.5) แหล่งที่พบในทะเลสาปธรรมชาติขนาดใหญ่มีอยู่หลายประเทศ เช่น ทะเลสาปเท็กซ์โคโค ประเทศเม็กซิโก, ในทะเลสาปหลายประเทศของทวีปอาฟริกา และในทะเลสาปประเทศพม่า สายพันธุ์ที่พบมาก และมีการนำมาเพาะเลี้ยงในทางการค้า คือ S.platensis และ S.maxima

คุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายเกลียวทอง


           สาหร่ายเกลียวทอง มีองค์ประกอบทางโภชนาการที่สำคัญต่อสุขภาพมากมาย ได้แก่ โปรตีนที่มีอยู่สูงถึงร้อยละ 62-68 พร้อมอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิดและธาตุอหาารสำคัญหลายอย่าง โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกพฤกษเคมี (phytonutrients) เป็นสารอาหารที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น ไฟโคไซยานิน, คลอโรฟิลล์, เบต้า-คาโรทีน, กรดแกมมาลิโนลินิค (GLA), ไกลโคไลปิด, ซัลโฟไลปิด เป็นต้น สารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญที่จะช่วยปรับสภาพความสมดุลของระบบในร่างกาย และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี

การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง (ภาพที่ 1) มี 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ

1. การเพาะเลี้ยงสาหร่าย (algal cultivation)

สายพันธุ์สาหร่ายเกลียวทอง ที่เพาะเลี้ยงในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคลังเก็บสายพันธุ์สาหร่าย ของห้องปฏิบัติการสาหร่าย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเพาะเลี้ยงในห้องควบคุม นำสาหร่ายเกลียวทองที่ต้องการมาใส่ในหลอดแก้วปลายแหลมขนาด 200 มิลลิลิตร เพาะเลี้ยงในตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิ 30oC ความเข้มข้นแสง 10-12 กิโลลักซ์ ช่วงเวลาให้แสง 16 ชม. และมืด 8 ชม. ให้อากาศที่มีแกสคาร์บอนไดออกไซด์ผสม 1-2% อาหารเพาะเลี้ยงใช้สูตรอาหาร Zarrouk’s ควบคุมการเจริญเติบโต โดยการวัดความเข้มเซลล์ (OD 560), pH, น้ำหนักแห้ง ฯลฯ และตรวจสอบการปนเปื้อนด้วยกล้องจุลทรรศน์
การเพาะเลี้ยงในอ่างขยายกลางแจ้ง ขยายหัวเชื้อสาหร่ายจากห้องควบคุม มาเพาะเลี้ยงกลางแจ้งในถาดโยก (Rocking tray) จำนวน 12 ถาดๆ ละ 6 ลิตร ใช้เวลาเพาะเลี้ยงประมาณ 1 สัปดาห์ จะส่งหัวเชื้อสาหร่ายทั้งหมดไปยังโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองสวนจิตรลดา 3 ที่สวนอุไทยธรรม ขยายต่อในอ่างน้ำวน (Raceway ponds) ขนาด 250 ลิตร เพื่อเป็นกล้าเชื้อเริ่มต้นของอ่างผลิต
การเพาะเลี้ยงในอ่างผลิต (production ponds) เป็นอ่างซีเมนต์ขนาดใหญ่ จะใช้เวลาเพาะเลี้ยง 10-15 วัน จึงทำการเก็บเกี่ยว
การเพาะเลี้ยงทุกขั้นตอนจะต้องควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของสาหร่ายให้เหมาะสม (ภาพที่ 2)  

2.   การเก็บเกี่ยว (harvesting)

         การเก็บเกี่ยวสาหร่ายเกลียวทอง โดยใช้ผ้ากรองละเอียดขนาด 30-50 ไมครอน กรองและล้างน้ำจนสะอาด จะเก็บเกี่ยวหมดทั้งอ่าง ล้างอ่าง นำน้ำเลี้ยงที่ผ่านผ้ากรองกลับอ่างเติมกล้าเชื้อสาหร่าย, สารอาหาร และทำการเพาะเลี้ยงต่อไป

3.   การทำแห้ง (drying)

         นำสาหร่ายเกลียวทองที่ผ่านการกรอง มาอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน อุณหภูมิ 60-70oC เวลา 6-8 ชม. นำไปบดละเอียด บรรจุในถุงฟอลย์ และส่งไปห้องบรรจุแคปซูล
       
         ผลิตภัณฑ์สาหร่ายเกลียวทองที่ผลิตออกมา จะผ่านมาตรวจคุณภาพความปลอดภัย และคุณค่าทางอาหารอย่างสม่ำเสมอ จากงานควบคุมคุณภาพและงานประกันคุณภาพ ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา        

กิจกรรมโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและงานสาหร่ายประยุกต์ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

เป็นแหล่งคัดเลือกและเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายเกลียวทองบริสุทธิ์, ผลิตหัวเชื้อสาหร่ายบริสุทธิ์เพื่ออนุเคราะห์แก่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
จัดฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แก่เจ้าหน้าที่โครงการฯ ให้เรียนรู้เทคนิค และความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสาหร่าย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อการบริโภค
เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบระบบการเพาะเลี้ยงแบบอ่างน้ำวน, ระบบเก็บเกี่ยว และการทำแห้ง ที่มีประสิทธิภาพ ง่าย สะดวกต่อการปฏิบัติงาน. ให้คำปรึกษาปัญหาในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง และแปรรูปผลิตภัณฑ์


ภาพที่ 1  ขั้นตอนการผลิตสาหร่ายเกลียวทอง



ภาพที่ 2  ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของสาหร่าย


สาหร่ายเกลียวทอง

ภาพที่ 3 แผนภาพการเพาะเลี้ยงและผลิตสาหร่ายเกลียวทอง


ข้อมูลจาก rdi.ku.ac.th

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6940 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6021
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6391
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8249
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6835
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6816
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6308
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6336
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>