ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 39442 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเลี้ยงปลาในกระชัง โดย นายเมฆ บุญพราหมณ์

การเลี้ยงปลาในกระชัง หมายถึง การเลี้ยงปลาในภาชนะกักขัง ตั้งแต่ลูกปลาไปจนถึงปลาขนาดใหญ่ น้ำสามารถถ่ายเทได้รอบด้านของภาชน

data-ad-format="autorelaxed">

การเลี้ยงปลาในกระชัง โดย นายเมฆ บุญพราหมณ์

          การเลี้ยงปลาในกระชัง  หมายถึง การเลี้ยงปลาในภาชนะกักขัง ตั้งแต่ลูกปลาไปจนถึงปลาขนาดใหญ่ น้ำสามารถถ่ายเทได้รอบด้านของภาชนะกักขัง

          การเลี้ยงปลาแบบนี้สามารถดำเนินการได้ในแหล่งน้ำทั่วไป ในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ  คลองส่งน้ำ แม้แต่ในบ่อที่ขุดแร่ ซึ่งมีน้ำขัง หรือแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยตอไม้ก็ใช้ได้  การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นวิธีการหนึ่งที่เหมาะสมทั้งทางเศรษฐกิจและการ ปฏิบัติ นอกจากนั้น วิธีนี้อาจจะนำไปใช้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือในทะเลก็ได้การเลี้ยงปลาในกระชัง สามารถปล่อยปลาได้หนาแน่น การให้อาหารสมทบที่สมดุลจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว    และให้ผลผลิตสูงในระยะเวลาอันสั้น

          ส่วนประกอบอย่างอื่นของตัวกระชัง ก็คือ
          ๑. ทุ่นสำหรับลอยกระชังชนิดที่ลอยผิวน้ำ ประกอบด้วยทุ่นโลหะหรือพลาสติก หรือท่อพีวีซี (PVC) ปิดหัวท้าย

          ๒. ฝาปิด  ฝาปิดส่วนบนจะช่วยป้องกันศัตรูโดยเฉพาะพวกนก ป้องกันสาหร่ายเกาะตัวกระชัง และป้องกันขโมยและบางโอกาสทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจ   กินอาหารดีขึ้น  ฝาปิดอาจทำด้วยอวน  ไม้หรือตาข่ายโลหะ และผักตบชวา

          ๓. ที่ให้อาหารควรจะต้องมี มิฉะนั้นจะสูญหาย ที่ให้อาหารอาจเป็นแป้นสี่เหลี่ยมมีเนื้อที่  ๑ ตารางเมตร หรือถ้าให้อาหารลอยก็ ควรมีกรอบป้องกันอาหารไหลตามน้ำ

          รูปร่างลักษณะของกระชัง ส่วนใหญ่มีรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า บางแห่งสร้างรูปกลมหรือหกเหลี่ยม ขนาดของกระชังมีปริมาตร ตั้งแต่ ๑-๑๐๐ ลูกบาศก์เมตร ขนาดเล็ก๐.๗-๑๐ ลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่ใช้สำหรับทดลอง แต่ที่ทำเป็นการค้า เช่น ในอินโดนีเซีย อาจมีขนาดถึง ๑๖-๑๕๐ ลูกบาศก์-เมตร การเลี้ยงปลาในกระชังไม่ควรจะทำกระชังขนาดใหญ่เพราะมีข้อเสียหายและความไม่ สะดวกหลายประการในการจัดการ   ขนาดกระชังที่เหมาะกับการเลี้ยงปลา ควรมีขนาดความจุ๒๐ ลูกบาศก์เมตร

          การเลี้ยงปลาในกระชังมิใช่ของใหม่ แต่มีมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี การเลี้ยงปลาดังกล่าวกระทำกันตามทะเลสาบ  แม่น้ำโขง  และสาขาของแม่น้ำโขง  ปลาที่เลี้ยงส่วนใหญ่  ได้แก่  ปลาสวาย ปลาเทโพ และปลาดุก การเลี้ยงปลาในกระชังของไทยกระทำกันอยู่ในแม่น้ำน่าน   จังหวัดนครสวรรค์    และแม่น้ำสะแกกรัง  จังหวัดชัยนาท

การเลี้ยงปลาในกระชัง

 

 ชนิดของปลาที่ควรจะเลี้ยงในกระชัง
    
         
ควรมีลักษณะดังนี้
          ก.   ในแง่ทางชีววิทยาและสรีรวิทยา
          ๑. โตเร็ว
          ๒. กินอาหารสมทบที่ให้
          ๓. สามารถเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อได้ดี
          ๔. สามารถอยู่ได้หนาแน่นแออัด
          ๕. ทนต่อสภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะในน้ำที่มีก๊าซออกซิเจนต่ำ
          ๖. ทนทานและมีความต้านทานโรคสูง
          ๗. หาลูกปลาได้สะดวก  มีปริมาณพอเพียง
          ข. ในแง่เศรษฐกิจ
          ๑. ราคาซื้อขายสูง
          ๒. ขายง่าย ขายสดไม่ต้องผ่านกรรมวิธีมาก
          ๓. ชนิดที่ตลาดต้องการ
          
          ปลาน้ำจืดที่มีความต้านทานที่เหมาะจะเลี้ยงในกระชังมีอยู่ ๕ ครอบครัว   คือ  ไซพรินิดี (Cyprinidae) ได้แก่ ปลาไนซิลูริดี (Siluridae) ได้แก่  ปลาสวาย  ปลาเทโพ คลาริไอดี(Clariidae) ได้แก่ ปลาดุก  โอฟิเซฟาลิดี (Ophicephalidae) ได้แก่  ปลาช่อน และซิคลิดี (Cichlidae) ได้แก่ ปลาในสกุลตีลาเบียชนิดต่างๆ   เช่น ปลานิล   ผลการทดลองปรากฏว่า ปลานิลเหมาะแก่การเลี้ยงในกระชังมาก   มีการเจริญเติบโตดีและมีอัตรารอดสูงกินอาหารเม็ดและเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ได้ดี    มีความต้านทานโรคสูงและสามารถปรับตัวอยู่ได้หนาแน่น

          ข้อเสียของปลาสกุลตีลาเบียที่เลี้ยงในบ่อดินก็คือ  อัตราการขยายพันธุ์ปลาสกุลตีลาเบีย เช่น ปลาหมอเทศ มีอัตราการขยายพันธุ์รวดเร็วมาก จึงทำให้การเจริญเติบโตชะงักงัน   แต่เมื่อนำไปเลี้ยงในกระชัง  การสืบพันธุ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากปลาไม่สามารถทำหลุมวางไข่ในกระชังลอย ในปัจจุบันได้มีการทดลองเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันในกระชัง   ซึ่งจะทำให้ผลผลิตปลาสูงขึ้น โดยปล่อยปลาไนร้อยละ  ๖๕ ปลาลิ่นร้อยละ ๑๘และปลาซ่งร้อยละ  ๑๘ ในระยะเวลาเลี้ยง ๑๑๗ วัน ปลาไนจะโตจาก ๑๑๐ กรัม เป็น ๕๔๐ กรัม ปลาลิ่นจะโตจาก ๑๕๐ กรัมเป็น ๓๗๐ กรัม และปลาซ่งจะโตจาก ๑๗ กรัม เป็น ๒๐๐ กรัม

          กระชังที่เลี้ยงปลาควรจะทำด้วยวัสดุที่มีราคาถูก    มีความคงทนและง่ายต่อการรักษาดูแล แต่ในทางปฏิบัตินั้นก็แตกต่างกันไปตามท้องที่  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มีใช้อยู่ในท้องที่นั้นๆ รวมทั้งรูปแบบและการลงทุนซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจ

ปลาไน


ปลานิล


ปลาเทโพ
 อัตราการปล่อยและผลผลิตปลาในกระชัง

          ชนิดของปลาที่เลี้ยงในกระชัง  คือ  ปลาสวาย  ปลาเทโพปลาช่อน ปลาบู่  ปลาตะเพียน  ปลาตะโกก  อัตราการปล่อยลูกปลาขนาด ๓.๘-๖.๓ เซนติเมตร ปลาช่อน ๘๐ ตัวต่อตารางเมตรปลาสวาย  ปลาเทโพ ๙๓ ตัวต่อตารางเมตร  ปลาตะเพียน ๓๖๑ตัวต่อตารางเมตร และปลาไน ๑๐๗ ตัวต่อตารางเมตร เมื่อเลี้ยงครบ  ๑  ปี  ผลผลิตในปริมาตรน้ำ ๑ ลูกบาศก์เมตร จะได้ปลาตะเพียน  ๔๕.๕  กิโลกรัม ปลาสวายหรือปลาเทโพ ๖๒.๑ กิโลกรัมปลาช่อนชะโด  ๑๑๒.๘ กิโลกรัม และปลาไน ๑๓๓.๓ กิโลกรัมสรุปแล้วจะเห็นว่า  การเลี้ยงปลาไนในกระชังให้ผลผลิตสูงกว่าการเลี้ยงปลาในบ่อ ๑๐- ๒๐ เท่า

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 39442 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

บัณฑิต สัวรัมย์
[email protected]
เรียน ครับถ้าผมจะขุดบ่อน้ำไว้ใช้ตามเกษตรผสมผสน ผมจะเลี้ยงปลาในกระชังของบ่อที่ผมขุดจะมีผลดีผลเสียอย่างไรบ้างครับ
30 มี.ค. 2554 , 09:56 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

tom
[email protected]
ความรู้เต็มๆteenคับพี่น้อง
09 พ.ค. 2553 , 09:15 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9166
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7491
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7561
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7896
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6882
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8145
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7373
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>