ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 23642 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปลูกมะนาว 10 ไร่ รายได้ 1.8 ล้านบาทต่อปี

อาจารย์ ม.เกษตรบางเขน ออกมาเป็นเกษตรกรเต็มขั้น ใช้องค์ความรู้ที่มี พัฒนาสวนมะนาวไม่ใช้สารเคมี ได้ 150,000 บาทต่อเดือน..

data-ad-format="autorelaxed">

ปลูกมะนาว
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต ไม่ใช้พื้นที่จริง)

ได้ใช้พื้นที่จำนวน 10 ไร่ ปลูกมะนาว พันธ์ุแป้นรำไพ ปลูกมาได้ 4 ปี ปัจจุบันสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ซึ่งเป็นระยะแรกในการเก็บเกี่ยว ใน 1 สัปดาห์ เก็บได้ประมาณ 5,000 ลูก

นายสมโชค โกศล ผู้พลิกผันจากอาชีพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนมาเป็นเกษตรกรเต็มขั้นที่ตำบลสมเด็จเจริญ  อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในวันนี้

ตำบลสมเด็จเจริญ  อำเภอหนองปรือ ในอดีตส่วนหนึ่งเป็นป่าสงวนที่มีความเสื่อมโทรมเนื่องจากถูกบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยจากประชาชน ต่อมาทางการได้เปิดให้ราษฎรเข้าใช้ประโยชน์ในการทำมาหากินด้วยการปลูกพืชพร้อมส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเรียนรู้วิธีการปลูกพืชตามสภาพของภูมินิเวศน์ คือตามสภาพดิน ปริมาณน้ำ และความต้องการของตลาด โดยมีโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ให้

แต่สำหรับกรณีของนายสมโชค โกศล ในเรื่องของภูมิรู้นั้นคงไม่ต้องกล่าวถึงมากนัก เพราะมีความรู้ในฐานะเคยดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแก่เยาวชนมานานหลายปี แต่ที่น่าสนใจก็คือ การพลิกผันวิถีชีวิตจากผู้สอนมาเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนว่าน่าจะมีคำตอบหลายอย่างน่าสนใจทีเดียว โดยเฉพาะในเรื่องการพลิกฟื้นผืนแผ่นดินที่ได้รับการขนานนามว่าแหล่งเสื่อมโทรมจนมาปลูกพืชและให้ผลผลิตสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ที่คุณสมโชคบอกว่ามากกว่าการเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยเสียอีก

เกษตรกรรายนี้ได้นำภูมิรู้ทางวิชาการที่ร่ำเรียนมา และถ่ายทอดให้แก่เยาวชนมาประยุกต์ใช้ในการเพาะปลูกพืชหลายอย่างด้วยกันตั้งแต่ยางพารา พืชผักนานาชนิด  และที่เป็นล่ำเป็นสันและสร้างรายได้อย่างดีก็คือ มะนาวพันธุ์แป้นอำไพ โดยปลูกแบบลงดินด้วยระบบน้ำหยด ไม่ใช้สารเคมีมาเป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโตของต้นมะนาว และไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง  หากแต่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักอีเอ็มที่ผลิตขึ้นมาเองจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตลอดถึงพันธุ์ไม้สมุนไพรบางชนิดที่สามารถป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้

“ได้ใช้พื้นที่จำนวน 10 ไร่ ปลูกมะนาว พันธ์ุแป้นรำไพ ปลูกมาได้ 4 ปี ปัจจุบันสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ซึ่งเป็นระยะแรกในการเก็บเกี่ยว ใน 1 สัปดาห์ เก็บได้ประมาณ 5,000 ลูก มีผู้ซื้อมารับถึงแปลงปลูกในราคา ลูกขนาดใหญ่ 5 บาท ลูกขนาดกลาง 3 บาท และลูกขนาดเล็ก 2 บาท ก็มีรายได้จากมะนาวเฉลี่ย 150,000 บาทต่อเดือน 1 ปีก็จะมีรายได้ประมาณ 1,800,000 บาท” เกษตรกรผู้พลิกผันจากอาจารย์มาเป็นเกษตรกรวัย 59 ปีผู้นี้กล่าว

นายสมโชค เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า การปลูกมะนาวของตนนั้นจะใช้ระบบธรรมชาติดูแลธรรมชาติเป็นประการสำคัญ นับตั้งแต่การปรับปรุงดิน จากเดิมที่เป็นดินลูกรังปนหินให้มาเป็นดินที่มีธาตุอาหารพืชบริเวณหน้าดินเพิ่มขึ้น โดยการใช้มูลสัตว์ เศษหญ้ามาปรับปรุง ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตขึ้นมาเป็นตัวช่วยย่อยสลาย ไส้เดือนฝอยบริเวณหลุมปลูกและโดยรอบเพื่อเป็นตัวช่วยย่อยสลายดินตามธรรมชาติ เมื่อนำพันธุ์มะนาวลงปลูกก็ใช้ปุ๋ยชีวภาพมาบำรุงต้นที่ผลิตขึ้นมาเองเช่นกัน ตลอดจนน้ำยาป้องกันและปราบศัตรูพืชก็ผลิตขึ้นมาเองตามภูมิปัญญาไทยที่เคยใช้กันมาตั้งแต่อดีต ผสมผสานกับความรู้ในยุคปัจจุบันที่ได้รับมาจากโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เข้าส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกพืชแบบชีวภาพปราศจากสารเคมี คือการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษพืชผักหมักกากน้ำตาลผสมเหล้าขาว ยาเส้น ใบและผลสะเดา เมื่อได้น้ำหมักแล้วก็นำมาฉีดพ่นมะนาวในแปลงปลูก แมลงศัตรูก็จะไม่เข้ามาทำลาย มะนาวเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างเต็มที่

ใช้ระบบน้ำหยดจากถังน้ำที่สร้างขึ้นมาเพื่อเก็บกักไว้ ซึ่งเป็นน้ำที่ผันมาจากแหล่งน้ำของทางโครงการห้วยองคตฯ ที่เข้ามาจัดสร้างให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ในรอบ 1 ปี น้ำที่เก็บไว้จะเพียงพอกับการใช้บำรุงแปลงปลูก

สำหรับมะนาวพันธุ์แป้นรำไพ นั้นเป็นมะนาวพันธุ์ลูกผสมระหว่างมะนาวพันธุ์แป้นทวายกับพันธุ์ต่างประเทศ สามารถผลิตมะนาวนอกฤดูได้ดี เพราะออกดอกติดผลง่าย อายุการเก็บเกี่ยวสั้นคือตั้งแต่ออกดอกจนเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาประมาณ 4 เดือนครึ่ง ผลมีขนาดค่อนข้างโต ลักษณะผลกลมเป็นผลมีขนาดสม่ำเสมอ เปลือกผลบาง ปริมาณน้ำในผลมีมาก.“

อ่านต่อที่ : dailynews.co.th

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 23642 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6024
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6393
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8255
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6840
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6819
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6319
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6340
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>