ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 10697 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

จากบทเรียน สู่การแก้ปัญหาดินเค็ม อย่างเป็นระบบ

ดินเค็มเป็นปัญหาอันดับต้นๆของเกษตรกร แก้ปัญหาดินเต็ม ด้วยระบบ วิศวกรรม และระบบพืช ทำได้อย่างไร ลองมาดูกันครับ..

data-ad-format="autorelaxed">

แก้ปัญหาดินเค็ม

ดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช และยังส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากดินเค็มทำให้โครงสร้างของดินเสีย ดินแน่นทึบ และความเค็มแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำอื่นๆ กระทบโดยตรงต่อพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ปลูกมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นางปราณี สีหบัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบปัญหาดินเค็มเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 17.8 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชทั้งภาค ซึ่งสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดินเค็ม จึงได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาดินเค็ม พื้นที่ที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น ดังนั้นทางสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จึงได้เลือกพื้นที่ของตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 768,000 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาดินเค็มอย่างเป็นระบบ เนื่องด้วยพื้นที่นี้ประสบปัญหาดินเค็มอย่างรุนแรง เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกได้ นอกจากนี้ยังมีน้ำเค็มจากพื้นที่ดังกล่าวไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มปะปนไปกับแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ทำให้พื้นที่นาและแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีน้ำเค็มไหลผ่านกลายสภาพเป็นดินเค็ม

การแก้ดินเค็ม


สำหรับการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม มีการนำระบบเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินเข้าช่วยแก้ไขปัญหาซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ ระบบวิศวกรรมและระบบพืช ซึ่งในแต่ละระบบมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็มในระดับความรุนแรงของดินเค็มที่แตกต่างกันไป เช่น ระบบวิศวกรรมในพื้นที่ดินเค็มจัดนั้น จะมีการสร้างระบบระบายน้ำใต้ดิน (Sub drain) โดยฝังท่อไว้ใต้ดินเพื่อล้างดินเกลือในพื้นที่ดินเค็ม ส่วนบริเวณผิวดินจะมีการปรับให้เป็นกระทงนาเพื่อให้เกษตรกรสามารถขังน้ำไว้ในกระทงนาจากนั้นน้ำจะซึมลงไปในชั้นดินข้างล่าง และจะไหลไปรวมในท่อที่ฝังไว้ใต้ดินและระบายออกทางท่อสู่คลองหลัก เมื่อมีการล้างดินเป็นเวลา 1 ปี ความเค็มของดินจะลดลงประมาณ 20-30% เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 เกษตรกรจึงสามารถปลูกข้าวบนกระทงนาได้ ส่วนระบบพืชในพื้นที่ดินเค็มจัด ส่งเสริมการปลูกหญ้าชอบเกลือ (หญ้าดิ๊กซี่) หญ้าพันธุ์พื้นเมือง และกระถินออสเตรเลีย ส่งเสริมปลูกพืชปุ๋ยสด บนคันนา เช่น ถั่วพร้า ปลูกไม้ทนเค็มบนคันนา และขอบทางลำเลียง เช่น ยูคาลิปตัส และ กระถินออสเตรเลีย การส่งเสริมการปลูกโสนอัฟริกัน เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ขายให้กับทางกรมพัฒนาที่ดิน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการแก้ไขปัญหาดินเค็มได้หลายวิธี แต่ผลผลิตข้าวยังค่อนข้างต่ำ แต่ก็บ่งชี้ได้ว่าหากมีการจัดการดินเค็มที่ดี ถูกต้อง และเหมาะสม เกษตรกรก็สามารถใช้ประโยชน์จากดินเค็มได้ปกติ ดีกว่าต้องปล่อยที่ดินให้รกร้างโดยไม่เกิดประโยชน์ เพราะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ปัญหาดินเค็มลุกลามขยายวงกว้างมากขึ้นไปอีก

ปัญหาดินเค็ม


นางระเบียบ สละ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม เล่าว่า พื้นที่ของตำบลเมืองเพีย เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาดินเค็ม ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรได้ เกษตรกรส่วนใหญ่จำต้องทิ้งพื้นที่หลายไร่ให้ร้าง เพื่อเข้าไปหางานในกรุงเทพฯ เพื่อเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัว บางรายก็ขายที่ดินให้กับนายทุนไปทำนาเกลือ จนกระทั่งปี 2540 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ได้เข้ามาให้ความรู้เกษตรกรเพื่อที่จะพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม จึงได้มีการรวมตัวกันของเกษตรกร เจ้าหน้าที่เข้ามาส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และนำต้นกระถินออสเตรเลีย (อาคาเซีย) ไปปลูกตามแปลงนา ทำให้มีพืชขึ้นในแปลงนาบ้าง จากนั้นก็นำเมล็ดพันธุ์โสนอัฟริกันไปหว่านแล้วไถกลบ ดินมีสภาพดีขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาปรับปรุงดินถึง 4 ปี พอเข้าปีที่ 5 ก็ปลูกข้าวได้ผลผลิตประมาณ 100 กระสอบ จากนั้นมาถึงปี 2551 ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 400 กระสอบ และก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อย มองย้อนกลับไปเมื่อในอดีตจากพื้นที่ดินเค็มที่ไม่สามารถปลูกข้าวได้เลย พอได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูก็สามารถปลูกข้าวได้ ทุกวันนี้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านดีขึ้น ผู้คนที่เคยออกไปทำงานในกรุงเทพฯ ก็ได้กลับคืนถิ่นฐานบ้านเกิดมากขึ้น

ผลจากการแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็มในตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จนประสบความสำเร็จ จึงได้กลายมาเป็นทุ่งเมืองเพียโมเดล ที่กรมพัฒนาที่ดินนำมาเป็นรูปแบบการขยายผลในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็มในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง

จาก naewna.com
 
หมายเหตุ : สำหรับใครที่ต้องการตรวจค่าดิน ว่าดินของท่านเค็มหรือไม่ และมีธาตุหลัก ธาตุรองในดิน มาก หรือน้อยเพียงใด สามารถส่งดินทางไปรษณีย์ เข้าไปตรวจกับห้องปฏิบัติการได้ที่ www.iLab.Asia

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 10697 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

นายต้อม ท่าหิน
[email protected]
ถ้าจะปลูกโสมอัฟริกัน ต้องทำยังไงบ้างคับ ดูแลอยากมั้ย ใช้เวลากี่ปีคับ
07 มี.ค. 2559 , 05:35 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9126
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7474
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7547
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7878
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6860
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8127
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7355
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>