ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 13387 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปลูกขนุน ในสวนสับปะรด ปีละล้าน+

ปลูกขนุน ในสวนสับปะรด ปลูกง่ายๆ แต่ได้เงินเป็นล้าน ที่ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่งขายต่างประเทศ

data-ad-format="autorelaxed">

ปลูกขนุน ทำรายได้ ปีละล้าน

ขนุนเป็นไม้มงคลที่คนนิยมปลูกเช่นกัน เพราะตามความเชื่อของคนโบราณ บอกกันว่า การปลูกต้นขนุนจะทำให้การเกื้อหนุน จุนเจือกัน แล้วใครจะเชื่อครับว่าขนุนจะสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ขายได้ปีละล้านกว่าบาท ก็เพราะขนุนเป็นพืชไม้ผลที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย สร้างรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอนกว่าพืชอื่นยังงัยครับ ชาวสวนท่านนี้สามารถทำได้อย่างไร ติดตามอ่านได้เลยครับ

ขนุนเงินล้าน ปลูก 30 ไร่ ทำเงินสัปดาห์ละแสน
ปัจจุบันเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ขนุน ก็เป็นอีกหนึ่งไม้ผล ที่เข้ามานั่งอยู่ในใจผู้บริโภคไม่แพ้ไม้ผล อย่างอื่น ด้วยรสชาติที่หวาน อร่อย กลิ่นหอมเฉพาะตัว สีเหลืองอร่ามของยวงขนุนทำให้หลายคนอดใจไม่ไหวที่จะต้องลิ้มลองรสชาติความอร่อยกันเลยทีเดียว พื้นที่ที่มีการปลูกกันมากและเป็นพืชเศรษฐกิจหลักก็คือ จ.ระยอง จ.ปราจีนบุรี น่าแปลกที่ขนุนเป็นไม้ผลทำเงินให้กับผู้ปลูกอย่างน่าสนใจแต่เรื่องราวของขนุนกลับมีการนำเสนอผ่านสื่อน้อยมากเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น ขนุนจึงถือเป็นที่ซุ่มทำเงินเงียบๆให้กับชาวสวนผู้ปลูกมาโดยตลอด วันนี้เราจะพาไปดูสวนขนุนที่ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลูกขนุนในสวนสับปะรดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ส่งขายได้ทั้งในและต่างประเทศ สามารถทำเงินสร้างรายได้ที่ดีให้กับครอบครัวมาโดยตลอด

การปลูกขนุน รายได้ดี

บรรยากาศของสวนขนุน แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า พื้นที่ตรงนี้จะเคยเป็นสวนสับปะรดมาก่อน เพราะได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสวนขนุนที่ดูร่มรื่น ในตอนนี้ขนุนติดลูกดกเต็มต้นทั้งลูกเล็กลูกใหญ่ จากการบอกเล่าของเจ้าของสวน ก็คือ คุณทรงยศ ตุ้มกระทึก (ลุงยศ) เล่าว่า ปลูกสับปะรดมาตั้งแต่เด็กสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ คลุกคลีอยู่กับสับปะรดมาโดยตลอด แต่มาวันหนึ่งลุงยศรู้สึกเบื่อหน่ายสับปะรดเมื่อสับปะรดโรงงานราคาตกต่ำเหลือ 3 บาท ทำแล้วก็ขาดทุน ลุงยศจึงคิดว่าถ้าทำสับปะรดอย่างเดียวคงอยู่ลำบากแน่ จึงมองหาพืชอื่นมาแซม เช่น มะพร้าว และขนุนโดยเห็นว่า เมื่อใส่ปุ๋ย ฉีดยาสับปะรดขนุนก็ได้กินด้วยกัน เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 ปี ก็จะโล๊ะสับปะรดออกแล้วก็ขนุนไว้ ลุงยศ เล่าต่อว่า ที่นี่จะปลูกขนุนทั้งหมดประมาณ 4 พันธุ์ ทองประเสริฐ เพชรราชา เพชรดำรง และทองมาเลย์ ขนุนพันธุ์อื่นๆปลูกไว้แซมๆไม่กี่ต้น มีทั้งต้นเก่าต้นใหม่ที่ยังไม่ให้ผลผลิต แต่ที่เน้นๆจะเป็นพันธุ์ทองมาเลย์ที่ตัดขายกันอยู่ในตอนนี้

ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อนที่จะนำขนุนมาปลูกในพื้นที่แห่งนี้ มีชาวหาดใหญ่ไปเที่ยวที่ประเทศมาเลเซีย ได้ไปเจอเขาขายขนุนลูกหนึ่งหนัก 80 กก.เห็นแล้วก็อึ่ง ได้ขอซื้อเขามา 5 เมล็ด หรือ 5 ยวง เป็นเงิน 20 บาท แล้วนำมาขยายพันธุ์เรื่อยมา ต่อมามีชาวนนทบุรีไปเที่ยวที่หาดใหญ่เห็นขนุนลูกหนึ่งหนัก 50 กก.ก็ได้ขอซื้อมา 5 เมล็ดหรือ 5 ยวงเป็นเงิน 20 บาท แล้วก็มาขยายพันธุ์ต่ออีก ปรากฏว่าน้ำท่วมตายเหลือเพียง 2 ต้นให้น้ำหนักลูกละ 30 กก.ทางเกษตรอำเภอไปขอเช่าต้นปีละ 6,000 บาท เพื่อที่จะขยายพันธุ์ ทำกิ่งพันธุ์ขายกิ่งละ 500 บาท ผู้ที่ซิ้อมาต่อก็นำไปขยายพันธุ์ขายกิ่งละ 50 บาท นำไปเสียบยอดต่อกิ่งขายกิ่งละ 15 บาท “ผมได้ติดต่อขอซื้อเขามาจากหมู่บ้านหนองแกเป็นจำนวน 2,000 กิ่ง ทยอยปลูกไปประมาณ 1,800 กิ่ง โดยปลูกในสวนสับปะรดก่อน เมื่อขนุนอายุได้ 1.4 ปีก็ติดลูก จากนั้นอายุได้ 1.7 ปี ก็สามารถตัดลูกขายได้

ปลูกขนุน รายได้เดือนละแสน

ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกขนุนได้ 36 ต้นระยะห่าง 6×6 เมตร เนื่องจากว่า ขนุนของทางสวนปลูกแซมในไร่สับปะรดมาก่อน เมื่อใส่ปุ๋ยสับปะรดอย่างไรขนุนก็ได้กินปุ๋ยอย่างนั้นไปด้วยเช่นกัน โดยช่วงแรกจะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ขนุนอายุได้ 1.4 เดือนจะใส่ปุ๋ยเกร็ด 13-0-46 เพื่อเร่งตาดอก ฉีดพ่น 20-30 วันครั้ง เมื่อขนุนติดผลแล้วให้แต่งลูกด้วยการเด็ดลูกที่ไม่แข็งแรงไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เหลือไว้แต่ลูกที่สมบูรณ์ช่อละ 1 ลูก เมื่อแต่งผลแล้วรอไปอีก 90 วันจึงจะเก็บได้ ลุงยศเล่าว่า เมื่อก่อนจะมีการห่อผลด้วยถุงปูนเพื่อให้ลูกมีผิวขาวสวย และป้องกันหนอนผีเสื้อ หนอนหนังเหนียว ซึ่งแมลงศัตรูเหล่านี้จะมาเจาะลูก จริงๆแล้วผลเนื้อในไม่เสียแต่ผิวไม่สวย ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ห่อผลเหมือนที่ผ่านมา เพราะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้แล้ว อาจจะมีบ้างก็คงจะเป็นแมลงวันทองใช้ปากต่อยลงไปบริเวณแล้วฝังไข่ลงไป ทางสวนจะใช้สารล่อแมลง โดยล่อแมลงตัวผู้ให้เข้าไปในขวดที่ผสมน้ำยาไว้ เมื่อแมลงตัวเมียมาแล้วไม่ได้ผสมพันธุ์ก็ทำให้ฝ่อ ส่วนเรื่องเชื้อราก็มีบ้าง หากเชื้อราระบาดช่วงไหนของต้นก็ให้ตัดตรงนั้นทิ้ง ไม่นานก็จะแตกกิ่งออกมาใหม่ ลุงยศ บอกว่า ที่นี่จะสังเกตเห็นว่าใบขนุนจะเขียวเข้มเป็นมัน ต้นเจริญเติบโตดี ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องของโรคแมลง จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีฉีดพ่น การให้น้ำอาทิตย์ละครั้ง

เมื่อขนุนอายุได้ 1.7 ปีก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้ ขนุนที่สวน 1 ลูกจะให้น้ำหนักประมาณ 15-20 กก.ปริมาณผลผลิตอายุต้น 1-2 ปีจะให้ผลผลิตประมาณ 100 กก.อายุ 3 ปีขึ้นไปจะได้ปริมาณ200-500 กก.ต่อต้นขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของเจ้าของสวน ปัจจุบันทางสวนขนุนมีอายุได้ 11 ปีแล้ว ที่นี่จะเก็บขนุนอาทิตย์ละครั้งๆละประมาณ 13-14 ตันในพื้นที่มีขนุน 600 ต้นหรือประมาณ 30 ไร่ ขนุนที่เก็บแล้วนำมาขายส่งแม่ค้าที่ตลาดสี่มุมเมืองจะได้ราคา 10-12 บาท และส่งตลาดต่างประเทศไปทางประเทศจีน เวียดนาม สิงคโปร์ ราคาลูกละ 300 บาท สร้างรายได้อาทิตย์ละ 1.4 แสนบาท

การปลูกขนุน

ลุงยศเล่าว่า เมื่อครั้งที่ปลูกขนุนช่วงแรกๆ ที่ตัดขายได้ราคา 15 บาทต่อกก. หนึ่งปีขายได้เงิน 1.5 แสนบาท ต่อมาขนุนราคาลดลงเหลือเพียง 8 บาทต่อกก.แม้จะราคาลดลงแต่ขนุนติดดก เก็บผลขายได้เยอะ ก็ยังได้เงินแสนกว่าบาท เพราะต้นใหญ่ผลผลิตเริ่มเยอะขึ้นแม้จะราคาลดลงก็ตาม ย่างเข้าปีที่ 4 ราคาตกฮวบเหลือเพียงแค่ 3 บาทต่อกก. ตัดขายแล้วก็ยัง 8 หมื่นกว่าบาทในปีนั้น หลังจากขนุนราคาลดลงติดต่อกันทุกปีจากเดิมที่ชาวสวนเขตนี้ปลูกขนุนกันเยอะก็ทำให้เกษตรกรที่ปลูกขนุนบริเวณนี้เลิกปลูกกันไปหลายราย แต่ลุงยศไม่ท้อ เพราะในแต่ละปีขนุนก็ยังทำเงินได้ดีและอยู่ในระดับที่พอใจ จึงยังยืนหยัดปลูกขนุนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันให้หลานชาย 2 คนเข้ามาช่วยบริหารจัดการในสวน ขนุนสามารถตัดขายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งรุ่นหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนในแต่ละปีจะสามารถตัดขนุนขายสร้างรายได้ประมาณ 8-9 แสนบาท แต่ปีนี้คาดว่าจะได้รายได้จากการขายขนุนประมาณ 1.5 ล้านบาท

ลุงยศกล่าวทิ้งท้ายว่า ขนุนเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย สร้างรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอนกว่าพืชอื่น ไม่ต้องห่วงเรื่องตลาดมีตลาดทั้งในและต่างประเทศที่พร้อมรับซื้อ เพียงผลิตสินค้าให้มีคุณภาพทั้งเรื่องขนาดและรสชาติสีกลิ่นให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า เท่านี้ก็สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกรได้ไม่ยาก ขนุนก็เป็นพืชเงินล้านได้เหมือนกับผลไม้อื่นๆได้เช่นกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม คุณทรงยศ ตุ้มกระทึก 32 ม.6 ต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

ที่มา : ไทยอินโฟเน็ต , dokmy.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13387 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6119
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6785
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6228
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7298
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6694
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5695
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5810
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>