ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 12240 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

สู้วิกฤติยางพารา - ม.อ. เร่งบทบาทนำวิจัยนวัตกรรม

ใช้งานวิจัยเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องยางพาราสู่การใช้ประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และ..

data-ad-format="autorelaxed">


รองศาสตราจารย์ ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่ามหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันในภาคใต้ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านยางพารา ได้มีบทบาทในการใช้งานวิจัยเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องยางพาราสู่การใช้ประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่นการพัฒนาพันธุ์ยางพารา โรคของยางพารา การจัดระบบสวนยาง การเพิ่มผลผลิตน้ำยาง การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำยางข้น เทคโนโลยีการอบแห้งหรือรมควัน การปรับปรุงคุณภาพยางแท่ง หรือ การพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ เป็นต้น



มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา เพื่อการเรียนการสอนและผลิตบุคลากร ที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ มีการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนและให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม ในการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ และร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับยางพาราอย่างต่อเนื่อง

ทุกวันนี้มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับยางพาราที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ร่วม 30 ผลงาน เช่น การประยุกต์ใช้งานน้ำยางครีมในการทำยางเคลือบสระน้ำ ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำจากน้ำยางธรรมชาติ อุปกรณ์รองส้นเท้าจากยางธรรมชาติเพื่อลดความดันในส้นเท้า รูปแบบอุณหภูมิสำหรับการรมควันยางแผ่น การออกแบบห้องรมควันยางใหม่สำหรับเกษตรกร เป็นต้น



ในวิกฤติการณ์ยางพาราที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้เสนอแผนพัฒนายางพาราของประเทศไทย ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2558 – 2562 ต่อรัฐบาล เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ การรับโจทย์งานวิจัยจากภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเกษตรกรรม การจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยยางพาราของประเทศ จัดตั้งศูนย์ทดสอบยางพาราและผลิตภัณฑ์ ทำการวิจัยและต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรม การสร้างต้นแบบสนามฟุตซอลและสนามเด็กเล่นเพื่อทดสอบการใช้งาน และการเปิดหลักสูตรปริญญาโทด้านยางพาราร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร และ CIRAD เป็นต้น



นอกจากนั้น ยังได้เสนอโครงการแก้ปัญหายางพาราโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจและสามารถเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศคือ ยางปูสนามฟุตซอล ลานกีฬาเอนกประสงค์ และสนามเด็กเล่น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อประเทศทั้งใน มิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และมิติทางการเมือง และ เสนอการแก้ปัญหายางพาราอย่างยั่งยืนด้วยการเพิ่มมูลค่าและสร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการแปรรูปยางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มเกษตรกรหรืออุตสาหกรรมในประเทศ ในระยะสั้น 1-5 ปี และ สร้างนวัตกรรมจากยางพาราที่สามารถถ่ายทอดสู่เชิงพาณิชย์ได้ได้ในระยะยาว 1-10 ปี ผ่าน “ศูนย์นวัตกรรมต้นแบบชีวผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง” และ “อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้” โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีในตลาด เทคโนโลยีการทำอุตสาหกรรมยางล้อ ชีวผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากส่วนที่ไม่ใช้ยางในน้ำยางสำหรับยาและเครื่องสำอางค์ และการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางพาราแก่ภาคอุตสาหกรรม



สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 ได้ชื่นชมบทบาทของมหาวิทยาลัยในการร่วมแก้ปัญหาวิกฤติพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ เนื่องจากเป็นสถาบันที่น่าเชื่อถือ มีผลงานที่น่าประทับใจ เอกชนพร้อมจะให้ความร่วมมือ โดยมีการเสนอแนะให้มีแนวคิดในการจัดการเชิงธุรกิจมากขึ้น เพิ่มระดับความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ หรือหน่วยงานที่จะช่วยสร้างความร่วมมือเชื่อมโยงงานวิจัยสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ TCELS เพื่อส่งเสริมการนำวัตถุดิบไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราไทย แทนที่จะเน้นการขายวัตถุดิบเช่นยางแผ่นและน้ำยางเป็นหลัก

นอกจากนั้น ยังควรให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องการบริหารจัดการสวนยาง พันธุ์ยาง ผลประโยชน์ระหว่างเจ้าของสวนยางและผู้รับจ้างกรีด การตลาด และการเร่งพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยาง เนื่องจากปัจจุบันความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากยางยังคงมีอยู่ แต่ผลิตภัณฑ์และคุณภาพสินค้ากลับด้อยลงเพราะขาดแคลนบุคลากรในการพัฒนา

จาก psu.ac.th

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12240 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7649
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6929
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7003
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6311
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7214
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6266
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6642
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>