ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 7093 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ใบยาสูบ กระจายรายได้กว่า 3 พันล้าน

ในทุกปีจะมีเกษตรกรจำนวนไม่ต่ำกว่า 15,000 ราย ทั่วประเทศ ปลูกใบยาสูบ ส่งขายให้กับสำนักงานยาสูบส่วนภูมิภาค..

data-ad-format="autorelaxed">

 สำนักงานยาสูบส่วนภูมิภาค มีที่ตั้งอยู่ 8 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย นครพนม และบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

 
การปลูกใบยาสูบขายให้กับสำนักงานยาสูบ ไม่ถือเป็นการผูกขาด เพราะแต่ละปีความต้องการใบยาสูบไม่เท่ากัน แม้ว่าจะมีแนวโน้มความต้องการที่มากขึ้นในทุกปี แต่ความพร้อมของเกษตรกรและพื้นที่ปลูกที่ไม่เหมือนกัน ทำให้โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง จำเป็นต้องพิจารณาความพร้อมของเกษตรกร เนื่องจากการปลูกใบยาสูบในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่แนวทาง การปลูกแบบ GAP (Good Agricultural Practices) จึงต้องพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกควบคู่ไปด้วย

ใบยาสูบที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ส่งเสริมให้ปลูก มี 3 ประเภท คือ

1. เวอร์ยิเนีย มีเกษตรกรปลูก 3,177 ราย โควต้าการผลิต 13.76 ล้านกิโลกรัม

2. เบอร์เลย์ มีเกษตรกรปลูก 8,922 ราย โควต้าการผลิต 14 ล้านกิโลกรัม

3. เตอร์กิซ มีเกษตรกรปลูก 4,823 ราย มีโควต้าการผลิต 5 ล้านกิโลกรัม

ใบยาสูบ จัดเป็นพืชไร่ที่ชอบอากาศเย็น ต้องการน้ำและความชื้นค่อนข้างสูง ดังนั้น พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกใบยาสูบจึงไม่กระจายวงกว้างไปทุกจังหวัด และจังหวัดที่พบว่ามีเกษตรกรปลูกใบยาสูบมากจังหวัดหนึ่งคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกใบยาสูบเกือบ 100,000 ไร่ มีสถานียาสูบรับซื้อจากเกษตรกรถึง 2 แห่ง โควต้าที่จัดสรรให้กับเกษตรกรที่เข้าโครงการปลูกใบยาสูบแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 5 ล้านกิโลกรัม

พื้นที่ 1 ไร่ สามารถลงปลูกใบยาสูบได้มากถึง 3,000 ต้น ใบยาสูบเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็วมาก สามารถตัดใบยาขายได้ เมื่อต้นยาสูบมีอายุ 70-80 วัน โดยตัดใบยาสูบใบล่างก่อน อีกระยะหนึ่งจึงจะเก็บใบยาสูบกลางต้น ซึ่งเรียกว่ายากลางฤดู และเก็บใบยาบริเวณใกล้ยอด เป็นใบยาสูบชุดสุดท้าย หรือเรียกว่า ใบยาปลายฤดู ราคาขายจะแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรปลูกใบยาสูบสายพันธุ์ใดด้วย



คุณดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ กล่าวว่า ใบยาสูบเป็นพืชที่ต้องอยู่ในการควบคุมการผลิต จำเป็นต้องให้เกษตรกรที่ต้องการปลูกสมัครเข้าโครงการและปลูกเพื่อขายผลผลิตคืนให้กับโรงงานยาสูบ ซึ่งต้องเป็นผลผลิตที่ได้คุณภาพ และการปลูกถูกต้องตามกฎหมาย โดยปัจจุบันมีการนำระบบดาวเทียมเข้ามาใช้สำรวจพื้นที่ปลูก ซึ่งมีความแม่นยำเกือบ 100% และปัจจุบันราคารับซื้อใบยาสูบถือว่าเป็นราคาให้ผลตอบแทนกับเกษตรกรดี คือ พันธุ์เวอร์ยิเนีย รับซื้อ 90-96 บาท ต่อกิโลกรัม+เงินให้เปล่า 26 บาท ต่อกิโลกรัม พันธุ์เบอร์เลย์ รับซื้อ 70 บาท ต่อกิโลกรัม+เงินให้เปล่า 8 บาท ต่อกิโลกรัม และพันธุ์เตอร์กิซ รับซื้อ 70-75 บาท ต่อกิโลกรัม+เงินให้เปล่า 15 บาท ต่อกิโลกรัม

คุณประสาท เมืองนันท์ พนักงานเกษตร สถานีใบยานางั่ว สำนักงานยาสูบเพชรบูรณ์ ให้ข้อมูลการปลูกใบยาสูบว่า เกษตรกรที่เข้าโครงการปลูกใบยาสูบของโรงงานยาสูบ จะได้รับเมล็ดพันธุ์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เมื่อได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วเกษตรกรต้องเพาะกล้า เมื่อต้นกล้ามีอายุ 45 วัน นำลงแปลงปลูก โดยใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 90 เซนติเมตร ปลูกในแนวเฉียงหรือสลับฟันปลา เพื่อให้ลำต้นได้รับแสงแดด ให้น้ำทุก 5-7 วัน เมื่อต้นยาสูบมีอายุ 65 วัน จะนำยาคุมแขนงมาหยอดที่ยอด เพื่อตอนต้นไม่ให้ออกดอกติดผล และเป็นการช่วยให้ใบยาแผ่ใบออก ยกเว้นบางต้นที่เกษตรกรต้องการเก็บพันธุ์ไว้เอง จะปล่อยให้ยอดเจริญเติบโตออกดอกและผล จากนั้นนำผลมาเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์ไว้

“ยาสูบ เป็นพืชไร่ที่ไม่ต้องดูแลมาก แต่น้ำต้องไม่ขาด และให้ปุ๋ยตามสมควร เกษตรกรที่เข้าโครงการปลูกใบยาสูบตามโควต้าจะมีเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และการดูแลใบยาสูบให้ก่อน เพราะเกษตรกรต้องผลิตใบยาให้ได้ GAP ก่อนถึงโรงงานยาสูบ จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโรงงานยาสูบที่จะดูแลการผลิตให้ดี ส่วนเกษตรกรเมื่อส่งขายใบยาสูบให้กับสถานียาสูบแล้ว จะมีรายได้เฉลี่ย 20,000-30,000 บาท ต่อไร่ ต่อรอบการเก็บขาย”

สำหรับเกษตรกรที่สนใจปลูกใบยาสูบส่งให้กับโรงงานยาสูบ ติดต่อได้ที่ สถานียาสูบ 8 แห่ง ทั่วประเทศ เนื่องจากแต่ละปีพื้นที่และปริมาณความต้องการใบยาสูบไม่เท่ากัน ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการใบยาสูบเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายใบยาสูบ รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท จึงนับเป็นพืชไร่ที่สร้างรายได้ที่ดีอีกตัวหนึ่ง

ข้อมูล นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน www.technologychaoban.com
 

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 7093 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6021
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6391
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8249
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6835
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6816
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6307
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6336
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>