ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 15509 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อย 6-7 ล้านไร่ ให้ผลผลิตอ้อยรวม 60-70 ล้านตัน ค่าเฉลี่ยของผลผลิตอ้อย 8-11 ตันต่อไร่

data-ad-format="autorelaxed">

สถานะตลาดอ้อยในประเทศไทย ปัจจุบัน

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลและพลังงานทดแทน ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อย 6-7 ล้านไร่ ให้ผลผลิตอ้อยรวม 60-70 ล้านตัน ค่าเฉลี่ยของผลผลิตอ้อย 8-11 ตันต่อไร่ แต่ละปีให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมทั้งระบบ ไม่น้อยกว่า 7 หมื่นล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น บราซิล และออสเตรเลีย ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตอ้อย 13-15 ตันต่อไร่ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตอ้อยและความหวานสูง จึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อย สนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศให้แข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกได้ โดยพันธุ์อ้อยที่ดีต้องให้ ผลผลิตสูงและความหวานสูง ต้านทานต่อโรคและแมลง มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี เช่น ไว้ตอได้หลายครั้ง ทนทานต่อการหักล้มไม่ออกดอก เป็นต้น และปรับตัวได้ดีในแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้มีอ้อยพันธุ์ดีส่งเสริมชาวไร่อ้อยอย่างต่อเนื่อง

 

สถานีผสมพันธุ์อ้อย บ้านทิพุเย ต.ชะแล ทองผาภูมิ กาญจนบุรี

สถานีผสมพันธุ์อ้อยบ้านทิพุเย ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

สวทช. สนับสนุนการพัฒนาพันธุ์อ้อย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกพันธุ์อ้อยทางการค้าของไทย โดยมีฐานพันธุกรรมมาจากพันธุ์อ้อยต่างประเทศเพียง 23 พันธุ์ และเมื่อสืบประวัติย้อนหลังไปหลายๆ ชั่วการผสมพันธุ์ พบว่าพันธุ์อ้อยเหล่านี้มี ฐานพันธุกรรมมาจากแหล่งเดียวกันที่มีความสัมพันธ์กันมาก ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์อ้อยที่เป็นปัจจัยสำคัญมีผลต่อความสำเร็จของการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โดยอ้อยแต่ละพันธุ์มีลักษณะทางการเกษตรดีเด่นแตกต่างกันไป นักปรับปรุงพันธุ์จึงพยายามนำลักษณะดีเด่นในแต่ละพันธุ์ มารวมอยู่ในอ้อยพันธุ์เดียวกัน


สวทช. สนับสนุน รศ.ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดำเนินโครงการประเมินเชื้อพันธุกรรมอ้อย และการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โดยรวบรวมเชื้อพันธุกรรมอ้อยทั้งในและต่างประเทศ อ้อยพันธุ์การค้า อ้อยพื้นเมือง อ้อยป่าและพืชสกุลใกล้เคียง ได้ทั้งสิ้น 2,559 โคลน เป็นพันธุ์อ้อยจากต่างประเทศ 431 โคลน พันธุ์อ้อยในประเทศ 1,973 โคลน พันธุ์อ้อยป่าและพืชสกุลใกล้เคียง 155 โคลน ตรวจสอบพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลจำแนกอ้อยเป็น 47 กลุ่ม เป็นพันธุ์อ้อยที่เก็บรวบรวมหลัก 300 โคลน ทั้งหมดรวบรวมไว้ที่สถานีผสมพันธุ์อ้อยบ้านทิพุเย ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการออกดอกของอ้อย ทุกพันธุ์ ในแต่ละปีโครงการฯ ดำเนินการผสมพันธุ์ได้เมล็ดพันธุ์อ้อยไม่น้อยกว่า 1,500 คู่ผสม เมื่อนำเมล็ดอ้อยไปเพาะได้ต้นกล้า 70,000-150,000 ต้น เชื้อพันธุกรรมอ้อยที่ได้เก็บรวบรวมไว้สามารถสืบประวัติย้อนหลังได้ 3-5 ชั่วการผสมพันธุ์ ทำให้ทราบความสัมพันธ์ทางเครือญาติของอ้อยแต่ละพันธุ์กับบรรพบุรุษดั้งเดิมและชนิดอ้อย ข้อมูลลักษณะทางการเกษตรและสัณฐานวิทยา และระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์อ้อยที่ให้ข้อมูลคู่ผสมพันธุ์ ช่วงเวลาการออกดอก การเพาะเมล็ด และความดีเด่นของอ้อยในแต่ละคู่ผสมพันธุ์


เชื้อพันธุกรรมอ้อยทั้งหมดรองรับการผสมพันธุ์เพื่อพัฒนาพันธุ์อ้อย 3 ชนิด คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยน้ำตาล ให้มีผลผลิตอ้อยและความหวานสูง มีปริมาณแป้งต่ำ ต้านทานต่อโรคและแมลง ไว้ตอได้หลายครั้ง และปรับตัวได้ดี ในแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศ เหมาะสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล การปรับปรุงพันธุ์อ้อยพลังงาน ให้ได้พันธุ์อ้อยใหม่ๆที่ให้ผลผลิตเอทานอลและเส้นใยสูง ใช้สนับสนุนอุตสาหกรรมด้านพลังงานโดยตรง โดยน้ำอ้อยนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเอทานอล และมีปริมาณชานอ้อยมากเพียงพอที่จะใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล อ้อยชนิดนี้เจริญเติบโตเร็ว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุก 8 เดือน และการปรับปรุงพันธุ์อ้อยอาหารสัตว์ ให้ได้พันธุ์อ้อยชนิดใหม่ที่เจริญเติบโตรวดเร็ว ให้ผลผลิตชีวมวลสูง เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุก 4 เดือน ใช้เป็นพืชอาหารหยาบทางเลือกหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตโคเนื้อและโคนม


อ้างอิง nstda.or.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 15509 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 6816
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 6691
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9018
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 7564
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 7878
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 7926
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 6935
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>