ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 24278 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรป

สินค้าเกษตร อินทรีย์ (Organic) หรือสินค้าเกษตรที่เพาะปลูก/เพาะเลี้ยงแบบไร้สารพิษได้รับความนิยมเพิ่มมาก ขึ้นในตลาดยุโรป

data-ad-format="autorelaxed">

สินค้าเกษตร อินทรีย์ (Organic) หรือสินค้าเกษตรที่เพาะปลูก/เพาะเลี้ยงแบบไร้สารพิษได้รับความนิยมเพิ่มมาก ขึ้นในตลาดยุโรป ควบคู่กับการกระแสความนิยมการดูแลรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthiness) และการทำการเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainability) ยุโรปถือเป็นตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของโลก ควบคู่กับตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยไม่ว่าจะเป็นข้าว สินค้าประมง (โดยเฉพาะกุ้ง) หรือผักและผลไม้ล้วนเป็นสินค้าที่มีศักยภาพและมีช่องทางและโอกาสที่ดีในตลาด ยุโรป

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรป

ตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรปเป็นตลาดใหม่ และเป็น ‘niche market’ ที่ยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อย (เมื่อเทียบกับตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมดในสหภาพยุโรป) กล่าวคือ ในปี 2004 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ใน EU-25 มีมูลค่าประมาณ 11 พันล้านยูโร ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 1 ของตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมด โดยมีเยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกที่มีการค้าสินค้าอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น 3.5 พันล้านยูโร หรือร้อยละ 30 ของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดในยุโรป ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร (1.6 พันล้านยูโร) อิตาลี (1.4 พันล้านยูโร) และฝรั่งเศส (1.3 พันล้านยูโร)แม้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในยุโรปยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อย

แต่ นักวิเคราะห์คาดว่าเป็นตลาดที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวและเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากแสความนิยมการรักษาสุขภาพและการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในหมู่ ผู้บริโภคยุโรปเป็นกระแสที่มาแรง และผู้บริโภคยุโรปมีกำลังซื้อสูงจึงสามารถซื้อหาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มี ราคาสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปได้ ประกอบกับปัจจุบันสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญของการส่ง เสริมการค้าเกษตรอินทรีย์และการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเพื่อขยายตลาดเพิ่ม ขึ้น โดยสหภาพยุโรปใช้งบประมาณจำนวนมาก (80 ล้านยูโรต่อปี) สำหรับการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าและหาช่องทางตลาดใหม่ของเกษตรอินทรีย์

ความต้องการของผู้บริโภค

หาก พิจารณาความต้องการของผู้บริโภค เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีผู้บริโภคจับจ่าย/ซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์มากที่สุด คิดเป็นจำนวน 60 ยูโรต่อหัว ตามมาด้วย สวีเดน (45 ยูโร) ออสเตรีย (41 ยูโร) และเยอรมนี (40 ยูโร) ในขณะที่ผู้บริโภคในประเทศยุโรปอีกหลายประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอิตาลี จับจ่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ประมาณ 20-25 ยูโรต่อหัวในภาพรวม ประเทศยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือเป็นตลาดสำคัญในยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนการค้าสินค้าอินทรีย์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 1-2 ตั้งแต่ปี 1997 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเดนมาร์ก ออสเตรีย และเยอรมนี เป็นตลาดหลัก แต่ประเทศยุโรปใต้และยุโรปตะวันออกยังเป็นตลาดที่เล็กมาก อาทิ สเปน กรีซ โปรตุเกส ฮังการี และเช็กยังมีความต้องการสินค้าอินทรีย์น้อยมาก กล่าวคือเพียงร้อยละ 0.1

โดย ทั่วไปราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดจะสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปอยู่มาก เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประมาณร้อยละ 30-40 (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักธุรกิจไทยและผู้นำเข้ายุโรปในงาน European Seafood Exposition 2007) อย่างไรก็ดี ราคาและส่วนต่างของราคาระหว่างสินค้าเกษตรทั่วไป-สินค้าเกษตรอินทรีย์จะแตก ต่างกันไปตามรายสินค้า นอกจากนั้น อาจยังอาจสังเกตได้ว่า ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศยุโรปใต้นั้นสูงกว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ใน ประเทศยุโรปอื่นๆ มากในปี 2003 มีผู้นำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองในสหภาพยุโรป (EU-15) ทั้งหมด 1400 ราย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 160 เทียบกับจำนวนผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าวในปี 1998 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตและการขยายตัวของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในยุโรป ในประเทศเบลเยียม เยอรมัน กรีซ ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และสเปน ตลาดเป็นลักษณะเป็นการขายตรงผ่านร้านที่ขายสินค้าอินทรีย์โดยเฉพาะ (Specialist Retailers)

ส่วน ในประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวีเดน สหราชอาณาจักร ฮังการี และเช็ก สินค้าอินทรีย์กว่าร้อยละ 60 ขายผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ต และวางขายในร้านขายของทั่วๆ ไป ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า ในประเทศที่ขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ตจะมีอัตราการเจริญ เติบโตและการขยายตัวของตลาดสูงกว่าในขณะที่เกษตรกรและผู้ผลิตยุโรปเองก็ผลิต สินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่มาก (โดยยุโรปมีพื้นที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 23 ของการทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดทั่วโลก และส่วนใหญ่ผลิตสินค้าเนื้อวัว นม ธัญพืช ผักและผลไม้เมืองหนาว) แต่สินค้าส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเภทสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทย สินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยจึงน่าจะยังมีโอกาสที่ดีในตลาดยุโรปอีกมาก

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

กฎ ระเบียบสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรป ได้แก่ 1) Regulation EEC N° 2092/91 ปรับใช้ตั้งแต่ปี 1992 และ 2) Regulation EC N° 1804/1999 http://ec.europa.eu/agriculture/qual/organic/reg/index_en.htm ซึ่งเป็นกรอบที่ครอบคลุมการเพาะเลี้ยง การผลิต การติดฉลาก และการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์เฉพาะในภาคปศุสัตว์และพืช (livestock and crops) เท่านั้น แต่ไม่รวมสัตว์น้ำ ซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปยังไม่มีมาตรฐานร่วมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อินทรีย์ ทำให้ต้องใช้มาตรฐานภาคเอกชนในแต่ละประเทศสมาชิกอยู่ล่าสุด สำนักงานที่ปรึกษาด้านการเกษตรต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 กรรมาธิการยุโรปด้านการเกษตร ได้เปิดเผยถึงการเตรียมการเสนอการปฏิรูปกฎระเบียบการผลิตสินค้าเกษตร อินทรีย์ใหม่ ซึ่งจะรองรับแผนปฏิบัติงานเกษตรอินทรีย์ของคณะกรรมาธิการยุโรปภายใต้ชื่อ “European Action Plan for Organic Food and Farming” โดยแผนการปฏิรูปดัวกล่าวได้กำหนดวัตถุประสงค์และหลักการของเกษตรอินทรีย์ กฎระเบียบการติดฉลากที่ชัดเจน และกฎระเบียบการนำเข้า เพื่อทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ หากกฎระเบียบใหม่ผ่านความเห็นชอบ คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

กฎระเบียบใหม่ดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกไทยสนใจส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์มายังสหภาพยุโรป อาทิ

- การวางมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้วัตถุประสงค์และหลักการของเกษตรอินทรีย์ มีการปรับใช้อย่างเท่าเทียมกันในทุกขั้นตอนและในทุกภาคของการผลิตสินค้า เกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่สินค้าที่ทำจากสัตว์และพืช การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สินค้าอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ และรวมถึงในภาคการผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์

- การทำให้กฎระเบียบการปรับใช้เกี่ยวกับ GMO (การดัดแปรพันธุกรรม) มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของเกณฑ์ระดับการปนเปื้อน โดยเน้นถึง สินค้า GMO ไม่สามารถติดฉลากอินทรีย์ได้ และระดับการปนเปื้อนโดยไม่ได้ตั้งใจไม่เกินร้อยละ 0.9

- การบังคับใช้เครื่องหมาย (โลโก้) สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเลือกที่จะติดฉลากสิ่งชี้บ่งถึงเกษตรอินทรีย์ของ EU (EU-ORGANIC) โดยยังคงสามารถใช้เครื่องหมายหรือการติดฉลากของผู้ผลิตเองได้ต่อไป

ทั้ง นี้ สินค้าขั้นสุดท้ายจะต้องประกอบด้วยเกษตรอินทรีย์อย่างน้อย 95% และการกำหนดข้อบังคับอย่างเข้มงวดสำหรับติดฉลากและการโฆษณาเพื่อทำให้เกิด การส่งเสริม “แนวคิดร่วม” ของสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง

- การเสริมความสำคัญในด้านพื้นฐานความเสี่ยงและการปรับปรุงคุณภาพการควบคุม โดยวางระบบการควบคุมไปยังระบบที่เป็นทางการของ EU ที่จะปรับใช้กับอาหารและอาหารสัตว์ทั้งหมด

- การปรับปรุงการจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยการกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดและการเสริมระบบการควบคุมอย่างยุติธรรม ซึ่งจะทำให้ระบบมาตรฐานเป็นที่รู้จักร่วมกันและลดปัญหาการควบคุมของกฎ ระเบียบเคร่งครัดที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเทศสมาชิก

- การพัฒนากฎหมายการนำเข้าถาวร โดยใช้พื้นฐานของการนำเข้าโดยตรงสำหรับสินค้าที่มีการปรับใช้มาตรฐานอย่าง เต็มรูปแบบหรือจากพื้นฐานระบบความเท่าเทียม

การส่งเสริมของหน่วยงานราชการไทย

ปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยกำลังเร่งดำเนินการเพื่อจัดตั้งหน่วยงานเพื่อ การตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยเพื่อการส่งออก เพื่อจะเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกและรองรับการขยายตัวสินค้าเกษตรอินทรีย์ ของไทยมายังสหภาพยุโรปได้

ล่า สุด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 คณะผู้แทนไทย นำโดย นายมนตรี กฤษณีไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้เข้าพบ Mr. Aldo LONGO ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ DG-Agriculture and Rural Development โดยได้ยื่นหนังสือขอสมัครขึ้นบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่สามารถส่งออก สินค้าเกษตรอินทรีย์ไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป โดยไทยสามารถมีระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของตนเอง (และเป็นระบบตรวจสอบรับรองที่ EU ยอมรับว่าเท่าเทียมกับของ EU)

ภาย หลังการเข้าพบ ได้มีการประชุมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในส่วนสินค้าเกษตรอินทรีย์ของ DG-Agriculture โดยไทยได้นำเสนอเกี่ยวกับระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยในปัจจุบัน แจ้งให้ DG-Agriculture ทราบว่า สินค้าศักยภาพของไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าว ผักผลไม้ และกุ้ง ทั้งนี้ DG-Agriculture ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากประเทศไทย เพื่อใช้ในการประเมินระบบการรับรองของไทย ซึ่งอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไข และจะใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับไทยจะมีความพร้อมและความสมบูรณ์ของระบบของไทย ในปัจจุบัน ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์มายังตลาดสหภาพยุโรปได้ หากแต่ต้องมีการตกลงกับประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เป็นรายสินค้า โดยแต่ละสินค้ามีระยะเวลาที่สามารถจำหน่ายได้ 1 ปี โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์แต่ละชนิดต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่ประเทศ สมาชิกนั้นๆ ให้การยอมรับ

สุรีรัตน์ฟาร์ม จังหวัดจันทบุรี ฟาร์มกุ้งกุลาดำแบบอินทรีย์แห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้ร่วมดำเนินธุรกิจกับบริษัท Yuu n’ Mee ประเทศออสเตรีย เพื่อส่งออกกุ้งกุลาดำอินทรีย์คุณภาพของไทยสู่ตลาดสหภาพยุโรปเป็นเจ้าแรก และได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์จาก ‘Naturland’ ประเทศเยอรมนีเรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลจาก thaieurope.net


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 24278 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9139
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7477
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7550
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7879
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6863
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8130
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7357
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>