ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 21974 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โรคราน้ำค้าง ที่เกิดกับแตง

โรคราน้ำค้างของแตงตามรายงานมีผู้พบครั้งแรกในประเทศคิวบา เมื่อราวปี ค.ศ. 1864 หลังจากนั้นก็ปรากฏว่าเป็นโรคที่ระบาดแพร่..

data-ad-format="autorelaxed">

โรครานํ้าค้าง (downy mildew)

โรคราน้ำค้างของแตงตามรายงานมีผู้พบครั้งแรกในประเทศคิวบา เมื่อราวปี ค.ศ. 1864 หลังจากนั้นก็ปรากฏว่าเป็นโรคที่ระบาดแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความชื้นสูงอุณหภูมิต่ำ แตงที่ได้รับความเสียหายจากโรคนี้มากได้แก่ แตงกวา แตงร้าน แคนทาลูป แตงไทย ส่วนพวกฟักทอง สคว๊อช ฟักแฟง บวบ เสียหายรองลงมา สำหรับแตงโมพบเป็นบ้างแต่ไม่มากและร้ายแรงนัก

โรคราน้ำค้าง ในแตง

อาการโรคราน้ำค้าง

อาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ โดยจะเริ่มจากจุดแผลสีเขียว

ซีดขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นเป็นสีเหลืองและมีขอบเขตเป็นเหลี่ยมตามแนวหรือข่ายของเส้น vein ขณะเดียวกันหากความชื้นในอากาศสูง เช่น ในระยะที่มีฝนปรอย หรือหมอกนํ้าค้างจัด ทางด้านใต้ใบตรงกับจุดแผลที่เกิดขึ้น จะพบกลุ่มของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อสาเหตุลักษณะเป็นขุย หรือผงสีเทา ซึ่งเมื่อแก่หรือแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ในกรณีที่เกิดโรครุนแรงและสิ่งแวดส้อมเหมาะสม ใบส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในต้นอาจถูกเชื้อเข้าทำลายอย่างรุนแรง ทำให้ใบทั้งใบแห้งตาย ต้นจะโทรมอาจถึงตายได้ทั้งต้น สำหรับลูกแตงมักจะไม่ถูกเชื้อเข้าทำลายโดยตรง แต่เมื่อต้นเป็นโรคก็จะมีผลทางอ้อม เช่น เจริญเติบโตไม่เต็มที่ แกร็น คุณภาพและรสเสียไป

สาเหตุโรคราน้ำค้าง : Pseudoperonospora cubensis

เป็นราชั้นต่ำใน Class Phycomycetes ซึ่งขยายพันธุ์ได้ทั้งมีและไม่มีการผสมทางเพศ โดยการเกิดสปอร์ที่มีหางเคลื่อนไหวได้ ผงหรือขุยสีเทาและน้ำตาลที่เกิดขึ้นด้านใต้ใบตรงกับจุดแผลสีเหลืองด้านบน คือ กลุ่มของสปอร์ที่มีรูปร่างคล้ายมะนาวฝรั่ง (lemon-shaped) ซึ่งเกิดบนก้าน (sporangiophore) ที่มีปลายแยกออกเป็นคู่ (dichotomously branches) สปอร์เมื่อแก่ก็จะหลุดออกจากก้านปลิวไปตามลม นํ้า เครื่องมือกสิกรรม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของกสิกรผู้ปลูก หรือผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับต้นแตงดังกล่าว เมื่อตกลงบนพืชสิ่งแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเป็น zoospore หรือ swarm cell มีทาง 2 เส้น ว่ายน้ำเคลื่อนไหวอยู่ระยะหนึ่ง แล้วจึงทิ้งหางเข้าซีสต์ (cyst) เป็นเม็ดกลมๆ ต่อมาจึงจะงอกออกมาเป็นเส้นใย (germ tube) เข้าทำลายพืชได้ กระบวนการทั้งหมดนี้ จะกินเวลาราว 24 ชั่วโมง หลังจากเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในพืชแล้วก็จะสร้างสปอร์ใหม่ขึ้นได้อีกภายใน 4-5 วัน

สำหรับการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อ เนื่องจากราน้ำค้างเป็น obligate parasite ไม่สามารถอาศัยเกาะกินเศษซากพืช เพื่อความอยู่รอดชั่วคราวได้เหมือน parasite ธรรมดาอื่นๆ เมื่อหมดฤดูปลูกพืชจริง จึงต้องหาวัชพืชหรือต้นแตงที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ต้นที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยว ต้นที่งอกขึ้นมาเอง (volunteer seedling) สำหรับอาศัยอยู่ชั่วคราว นอกจากนั้นก็มีผู้พบว่าเชื้อ P. cubensis มีการสร้าง sexual spore คือ oospore ที่มีผนังหนาคงทนต่อสิ่งแวดล้อมที่ผิดปกติ เช่น ความร้อน ความแห้งได้นานกว่าสปอร์ธรรมดา จึงเชื่อกันว่าเชื้ออาจอยู่ข้ามฤดูได้ในลักษณะนี้อีกวิธีหนึ่ง

สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดและความรุนแรงของโรค

ก็เช่นเดียวกับราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16 – 27° ซ. แต่จะดีที่สุดที่ 20° ซ. ส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป

การป้องกันกำจัดราน้ำค้าง

1. ขจัดทำลายวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก

2. เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูกให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารเคมี เช่น

ก. แมนโคเซ็บ (หรือไดเทนเอ็ม 45) 20 – 30 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ ข. คูปราวิท (หรือคอปปิไซด์) 30 – 40 กรัม ต่อนํ้า 1 ปี๊บ

ค. นาแบม (หรือพาราเซท) 50 กรัมต่อนํ้า 1 ปี๊บ

ง. ซีเน็บ (หรือโลนาโคล) 25 – 30 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ

จ. เบนเลท 50 – 75 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ

ฉ. แมนเซทดี 50 – 75 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ

การฉีดพ่นสารเคมีดังกล่าว ควรทำทันทีเมื่อเริ่มมีโรคเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันควรทำหลังจากต้นแตงเกิดใบจริงแล้ว 2 – 5 ใบ โดยทำการฉีดทุกๆ 5 วัน หรือ 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์ หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสม และทำต่อเนื่องไปจนกระทั่งพืชแข็งแรงพ้นระยะการระบาดของโรค

3. วิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือเลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค

 

อ้างอิง thaikasetsart.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 21974 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 7582
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6318
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6309
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 7660
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7037
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7325
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6589
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>