ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 17336 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เกษตรกรลุ่มน้ำปากพนังยกฐานะ พัฒนาปลูกข้าวเพื่อการค้า

ลุ่ม น้ำปากพนัง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ พื้นที่..

data-ad-format="autorelaxed">

 
 
 
 
 

ลุ่ม น้ำปากพนัง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนัง อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระพรหม พื้นที่บางส่วนของอำเภอเมือง และลานสกา พื้นที่บางส่วนของอำเภอควนขนุน และอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง พื้นที่บางส่วนของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา รวมพื้นที่ลุ่มน้ำ ประมาณ 3,100 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,937,500 ไร่ ในจำนวนนี้มีพื้นที่นามากกว่า 500,000 ไร่ แต่เดิมเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ ผลผลิตข้าวเหลือบริโภคในพื้นที่ จนสามารถส่งออกไปขายยังประเทศใกล้เคียงได้
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับทราบปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ภัยธรรมชาติ และความเดือดร้อนของราษฎร ได้พระราชทานพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภค รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร และชุมชนที่อยู่อาศัยเป็นเวลานาน ตลอดจนปัญหาดินเค็ม และดินเปรี้ยว ที่ขยายออกไปเรื่อย ๆ จึงเกิด “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้น กรมชลประทานรับสนองพระราชดำริ การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำที่มีอยู่ทั้งหมด รวมทั้งจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานอย่างครบถ้วน เพื่อความสมบูรณ์ของทั้งระบบลุ่มน้ำ
 
การบริหารจัดการน้ำนับเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เนื่องจากลุ่มน้ำปากพนัง มีปัญหาและปัจจัยเกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่ซับซ้อนมากมีความพิเศษและแตกต่างไปจากที่อื่น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนการมีส่วนร่วมใช้ในการดำเนินการ สามารถกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนัง แบบผสมผสาน คือ กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้เร่งระบายน้ำบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และฟื้นฟูระบบนิเวศแหล่งน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามสภาวะธรรมชาติ
 
เมื่อสามารถควบคุมบังคับน้ำได้ดังประสงค์ ณ วันนี้ได้มีการจัดทำแผนการพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาอาชีพในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ คือกำหนดเขตส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ส่งเสริม การทำงานในเชิงบูรณาการครบวงจร ตั้งแต่พัฒนาการผลิต แปรรูป และตลาด ดำเนินการในลักษณะโครงการนำร่องก่อนแล้วจึงขยายผลในทุกขั้นตอนให้เกษตรกรมี ส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ที่สำคัญ เมื่อการจัดการน้ำจืด เพื่อการเกษตรได้เพียงพอ สภาพพื้นที่ดินเหมาะสมที่จะทำนากว่า 600,000 ไร่ จึงได้ถูกกำหนดให้เป็นเขตส่งเสริมและพัฒนาการปลูกข้าว เพื่อการค้าที่ผ่าน กระบวนการมีส่วนร่วมตามขั้นตอน สำหรับแนวทางดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเกษตรกรร่วมกันคัดเลือกพื้นที่นำร่องวางแผนการ บูรณาการ องค์การภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน คือ 1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. การพัฒนาการผลิต 3. การเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการแปรรูป 4. การพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และ 5. การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลกำหนดแผนพัฒนาระยะเวลา 3 ปี (2550-2554) ใน 5 จุดดำเนินการที่มีความพร้อม กระจายโดยให้เป็นพื้นที่กึ่งกลางที่จะขยายผลออกไปรอบ ๆ พื้นที่ให้ครอบคลุมต่อไป ทั้งนี้เมื่อการพัฒนาให้พื้นที่นำร่องอย่างครบวงจรเกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันกลับมาทำนาเพิ่มมากขึ้น การขยายผลอย่างเป็นระบบ ทำให้เกษตรกรทำนามีรายได้ที่มั่นคงและการอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อมทำให้การประกอบอาชีพทำนามีความยั่งยืน ซึ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง ให้เขตส่งเสริมและพัฒนาอื่น ๆ ได้แก่ การปลูกข้าวเพื่อบริโภค, การปลูกปาล์มน้ำมัน, การปลูกไม้ผล-ยางพารา และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ก็ได้มีการดำเนินงานด้วยเช่นกัน
 
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการขนาดใหญ่ เมื่อการพัฒนาระบบชลประทานหลักของโครงการแล้วเสร็จ และการบริหารจัดการน้ำมีความลงตัว ถือเป็นความสำเร็จของโครงการให้ขั้นต้น เมื่อมีการดำเนินงานโครงการด้านพัฒนาอาชีพอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องดังที่กล่าวข้างต้น พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังจะกลับมาเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของพื้นที่ภาคใต้ ตอนบนอย่างแน่นอน.


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 17336 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9131
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7477
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7550
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7879
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6862
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8130
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7357
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>