ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 18688 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โรคยางพาราตายจากยอด การรักษาโรคยางพารา

อาการของโรค คือต้นยางจะตายจากยอดลงมาเรื่อยๆ ปล่อยทิ้งไว้ก็จะตายลงมาถึงโคนต้นและตายไปในที่สุด

data-ad-format="autorelaxed">

โรคตายจากยอดในยางพารา : การรักษาและป้องกัน

การรักษาโรคยางพารา ตายจากยอด


ช่วงนี้เป็นช่วงที่ยางขนาดเล็ก อายุ 1-2 ปี เป็นโรคตายจากยอดในหลายพื้นที่ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกรทั้งหลาย ผมจึงนำวิธีรักษาและการป้องกันมาบอกกล่าวทุกท่าน ณ บัดนี้

อาการของโรคก็เหมือนดังชื่อ คือต้นยางจะตายจากยอดลงมาเรื่อยๆ ปล่อยทิ้งไว้ก็จะตายลงมาถึงโคนต้นและตายไปในที่สุด โรคนี้เกิดจากเชื้อไฟท้อปเทอร่า และเกิดขึ้นเฉพาะยางเล็กเท่านั้น กล่าวคือ ยางที่มีอายุ ประมาณ 3 ปีขึ้นไป จะพบโรคนี้น้อยมากๆ ส่วนต้นที่มีอาการ ถ้าท่านปล่อยไว้จนอายุ  3 ปี อาการของโรคก็จะหายไปเอง แต่อย่าเสี่ยงเลยครับ อาจจะตายหมดก่อน เพราะฉะนั้นเรามาดูวิธีการป้องกันและรักษากันเถิด

การป้องกัน โรคยางพาราตายจากยอด

ควรเว้นช่วงในการปลูกยางสักประมาณ 1 ปี หลังจากโค่นยาง หันมาปลูกพืชอื่นแทน อาจจะเป็นพืชตระกูลถั่ว หรือชนิดใดก็ได้ตามความชอบหรือความต้องการแต่ละคน ที่เราต้องการก็คือให้เชื้อร้ายในดินไม่มีที่อยู่อาศัยหลับนอนเติบโต เมื่อปลูกยางใหม่ ยางก็จะเติบโตโดยลดปัญหาเชื้อโรคสะสมไปได้หลายโรคทีเดียว

การรักษา โรคยางพาราตายจากยอด

1. เมื่อพบอาการของโรคแม้เพียงหนึ่งหรือสองต้นให้ทำการฉีดพ่นด้วย เมตาแลคซิล ขนาด 7-14 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

ฉีดพ่นทุกๆต้นทั่วทั้งแปลงทุกๆ 7 วัน ข้อสังเกตที่สำคัญคือให้ฉีดเมื่อใบยางยังอ่อนมีลีเหลืองนวล จนใบเป็นสีเขียว ก็จะถือได้ว่าเพียงพอ

2. ต้นที่เป็นโรคแล้วให้ตัด แต่ไม่ต้องตกใจครับ วิธีการตัดก็คือ ตัดจากยอดลงมาจนถึงช่วงรอยต่อระหว่างยางที่ตายแล้วกับยางที่ยังเปลือกสีเขียวอยู่ ให้ตัดเลยมาถึงช่วงที่เปลือกยังสีเขียวลงมาประมาณ 5-10 ซม. ยางที่เหลือก็จะรอด และแตกแขนงใหม่ต่อไปด้วยดี

3. กรณีที่ปล่อยไว้จนต้นยางตายจนเหลือประมาณ 2 เมตรหรือน้อยกว่านั้น ให้ตัดต้นยางที่โคนต้น เหนือพื้นดินขึ้นมาประมาณ 15-20 ซม. ไม่ต้องตกใจอีกแล้ว เพราะยางจะแตกแขนงขึ้นมาเท่ากับต้นอื่นๆภายในเวลาประมาณ  2 เดือนเท่านั้น จากนั้น ก็แต่งกิ่งที่อยู่บริเวณหน้ายางออกไปเสียก็จะเรียบร้อย

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/posts/255660


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 18688 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7627
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6913
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 6995
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6298
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7202
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6257
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6627
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>