ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 81620 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เทคนิคใหม่ในการเพิ่มผลผลิตของน้ำยางพารา

ตามปกติพื้นที่ปลูกยางที่จะให้ผลดีจะต้องมีน้ำฝนรายปีมากกว่า 2000 mm มีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวันประ...

data-ad-format="autorelaxed">

เพิ่มน้ำยางพารา

ทุนอุดหนุนวิจัย ปี 2544 โครงการวิจัยรหัส พิเศษ 42.2.43

 ยางที่จะให้ผลดีจะต้องมีน้ำฝนรายปีมากกว่า 2000 mm

ตามปกติพื้นที่ปลูกยางที่จะให้ผลดีจะต้องมีน้ำฝนรายปีมากกว่า 2000 mm มีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวันประมาณ 7C และมีจำนวนวันฝนตก 100-150 วัน และมีช่วงแห้งแล้งไม่เกิน 4 เดือน สำหรับประเทศไทยสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส จันทบุรี และตราด อย่างไรก็ตามเกษตรกรได้ปลูกยางกันอย่างทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไป ได้แก่ ในเขตจังหวัดหนองคาย อุดรธานี บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งปริมาณน้ำฝนรายปีในจังหวัดเหล่านี้มีน้อยกว่า 1500 mm ซึ่งอาจเป็นตัวกำจัดการให้ผลผลิตน้ำยาง นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมแล้วมีรายงานว่าผลผลิตของน้ำยางยังขึ้นกับขนาดของ เส้นรอบวงยางที่เปิดกรีดยาง อายุยาง ระบบและความถี่ของการกรีดยาง รวมทั้งการใช้สารเคมีกระตุ้นการไหลของน้ำยาง นอกจากนี้สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกรายปีประมาณ 1500 mm ถ้ามีการให้น้ำจะทำให้ยางมีผลผลิตของน้ำยางที่สูงขึ้น

 

การไหลของน้ำยางพารา

 

เมื่อพิจารณาทางด้านสรีระวิทยาของยาง การไหลของน้ำยาง ที่กรีดได้ครั้งหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นในท่อลำเลียงอาหาร ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกันกับค่าแรงดันน้ำของเซลล์ท่อลำเลียง ความแตกต่างกันของแรงดันน้ำในท่อลำเลียงของยางพาราสองพันธุ์ที่ให้ปริมาณน้ำยาง ที่แตกต่างกัน เพราะการเคลื่อนที่ของน้ำในพืชเป็นระบบที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นแรงดันน้ำในเซลล์ท่อลำเลียงจึงน่าจะมีความสอดคล้องกับแรงดันน้ำใน เซลล์ใบยาง แรงดันน้ำในเซลล์ใบยางจะผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของศักย์น้ำรวมในใบยาง ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในรอบวันของแรงดูดซับไอน้ำของบรรยากาศ และความเข้มของแสง ดังนั้นการให้ผลผลิตของยางที่ปลูกจึงถูกควบคุมด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ สภาพแวดล้อม สรีระวิทยาของยางพารา รวมทั้งการจัดการ จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ต้องการประเมินอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ต่อ สถานภาพของศักย์น้ำในใบยางและการให้ผลผลิตน้ำยาง ซึ่งผลผลิตของน้ำยางจะแสดงในรูปมวลยางแห้งที่กรีดได้และพยายามหาความ สัมพันธ์ระหว่างแรงดันน้ำในเซลล์ใบยางกับผลผลิตของมวลยางแห้งที่กรีดได้นี้

การให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600

 

กุมุท สังขศิลา ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน ได้ศึกษาทดลองเรื่อง "อิทธิพลของสภาพแวดล้อมลักษณะแสดงออกของยางพารา และการจัดการต่อสถานภาพของน้ำในต้นยางและการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600" เพื่อหาอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ลักษณะแสดงออกของยางพารา และการจัดการสวนยางที่มีผลต่อสถานภาพน้ำในใบยางและมวลยางแห้งที่กรีดได้ใน แต่ละครั้ง โดยใช้ตัวแปรคือ ปริมาณน้ำฝนและแรงดูดซับไอน้ำของบรรยากาศเป็นตัวแทนสภาพแวดล้อม ส่วนลักษณะแสดงออกของยางพาราได้ใช้ความยาวเส้นรอบวงของยางเป็นตัวแทน ส่วนการจัดการใช้จำนวนครั้งที่กรีดต่อเดือน การให้น้ำและสภาพน้ำฝนเป็นตัวแทน การทดลองนี้ใช้ยางพาราพันธุ์ RRIM 600 อายุระหว่าง 6-7 ปี เป็ฯตัวแทน พบว่าบริเวณที่มีฝนรายปีน้อยกว่า 1300 mm การให้น้ำทำให้อัตราการไหลของสารละลายในต้นยางสูงกว่ายางที่เจริญใต้สภาพน้ำ ฝน แต่ผลจะกลับกันถ้ามีฝนรายปีมากกว่า 1400 mm ที่เป็นเช่นนี้เพราะบริเวณที่มีฝนรายปีมากกว่า 1400 mm ยางเจริญบนดินที่มีชั้นหน้าดินตื้น และมีการระบายน้ำที่ไม่ดี ผลการทดลองไม่พบอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อค่าศักย์น้ำรวมในใบยาง ไม่ว่าแรงดูดซับไอน้ำของบรรยากาศเป็นเช่นไร ยางพาราพันธุ์นี้จะไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงค่าศักย์น้ำรวมในใบยางมากนัก การให้น้ำหรือสภาพน้ำฝนก็ให้ผลเช่นเดียวกัน ผลการทดลองยังชี้ว่าปัจจัยมีอิทธิพลต่อมวลยางแห้งที่กรีดได้ในแต่ละครั้ง เรียงลำดับความสำคัญจะขึ้นกับจำนวนครั้งที่กรีดในแต่ละเดือน แรงดูดซับไอน้ำบรรยากาศ ปริมาณฝนรายปี และความยาวเส้นรอบวงต้นยาง จำนวนครั้งที่กรีดต่อเดือนที่เหมาะสมคือ 13-15 ครั้ง การให้น้ำมีทั้งผลดีและเสียต่อมวลยางแห้งที่กรีดได้ในแต่ละครั้ง ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับปริมาณฝนรายปี การให้น้ำจะช่วยให้มวลยางแห้งที่กรีดได้เพิ่มขึ้น 10-35 % ถ้าบริเวณนั้นมีฝนรายปีน้อยกว่า 1300 mm แต่ถ้ามีฝนตกรายปีมากกว่า 1300 mm การให้น้ำจะลดมวลยางแห้งที่กรีดได้ 40 % ผลการทดลองไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันน้ำในเซลล์ใบยางกับมวลยางแห้งที่ กรีดได้

ข้อมูลจาก: http://www.ku.ac.th/e-magazine/november46/agri/rubber.html


โฆษนาสินค้าเพิ่มเติม
ฟาร์มเกษตรมีปุ๋ย และสิค้าอื่นๆ ที่เหมาะกับยางพารา ปุ๋ยเม็ดคลิกที่นี่  ปุ๋ยน้ำคลิกที่นี่


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 81620 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

สุมาลี
[email protected]


มีอาชีพกรีดยาง เป็นอาชีพที่ลงทุนน้อย  ถ้าจ้างกรีดก็จะจ้างแบบรายวัน แล้วแต่ตกลงกัน  ถ้าให้เขาจัดการสวนให้ด้วยก็จะแบ่งกัน 50: 50  คือ คนละครึ่ง (ถ้ามีรายได้วันละ 2,000 บาท แบ่งกัน คนละ 1,000 บาท เอง)



27 มิ.ย. 2554 , 07:24 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ชาติชาย
[email protected]
อยากปลูกยางแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจในการเลือกพื้นที่ที่จะปลูก ใครรู้ช่วยแนะนำบ้างครับ
22 ส.ค. 2553 , 09:59 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

คมสัน สุดสน
[email protected]
อยากทราบวิธีสังเกตพันธุ์ยางพาราจากลักษณะทางใบจุดเด่นของสายพันธุ์ RM600 กับ RRIT251 และสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกหมายความว่าดินควรเป็นสภาพแบบไหน เช่นดินในภาคอีสาน เป็นต้น ขอบคุณครับ
28 ก.ค. 2553 , 06:42 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

อภิชาติ
[email protected]
เพิ่มผลผลิตน้ำยาง ใน 3 วัน ต้นไม่โทรม www.farm488.blogspot.com ครับ
06 มิ.ย. 2553 , 08:02 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

สามารถ
[email protected]
www.paknamlangsuan.com/product
19 เม.ย. 2553 , 02:54 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

มยุรา จันทวงศ์
[email protected]
กำลังปลูกยางที่ อ.ไชยปราการ คาดว่าประมาณปลายปี 2553 จะกรีดยาง ถ้ากรีดเองจะต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ เท่าไร มีพื้นที่ 10ไร่ แต่ถ้าต้องการให้ผู้อื่นประมูลกรีดน้ำยาง ทำสัญญาปีต่อปีควร มีวิธีคิดอย่างไร
06 ส.ค. 2552 , 01:38 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

น้องแตวิดตาหารเทารังสีประชาสรรค์
[email protected]
ไอ้เวน ไมถึงไม่มีข้อมูลของยางพาราบ้างเลยวะ ช่วยหาข้อมูลมาหั้ยด้วยจะบ้าอยู่แล้วที่เรียนการงานกับกัลภัทรนะ ช่วยหนูด้วยนะค่ะ ขอบคุนค่ะ
01 ก.ค. 2552 , 11:24 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7667
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6943
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7013
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6321
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7222
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6276
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6657
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>