ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 13402 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 ขึ้นแท่นพันธุ์ยางพาราสุดฮิต

กรมวิชาการเกษตร ประกาศให้ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 เป็นพันธุ์รับรองเมื่อปี 2543 จากนั้นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อ.

data-ad-format="autorelaxed">

พันยาง 251

'พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251' ขึ้นแท่นพันธุ์ยางพาราสุดฮิต กรมวิชาการเกษตร ประกาศให้ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 เป็นพันธุ์รับรองเมื่อปี 2543 จากนั้นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดให้พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 เป็น 1 ใน 12 พันธุ์ยางชั้น 1 นับเป็นยางพันธุ์ดีที่ผ่านการทดลองและศึกษาลักษณะต่าง ๆ อย่างละเอียดแล้ว แนะนำให้ปลูกโดยไม่จำกัดเนื้อที่ปลูก

นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 มีลักษณะเด่น คือ เจริญเติบโตก่อนเปิดกรีดดีและระหว่างเปิดกรีดเจริญเติบโตปานกลาง มีความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก ที่สำคัญยังให้ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูงมาก ในพื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 462 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM600 ประมาณ 57% และพื้นที่ปลูกยางใหม่ ให้ผลผลิต 8 ปีกรีดเฉลี่ย 343 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 คิดเป็น 59%

ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางทั้งพื้นที่ปลูกเดิม ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก และพื้นที่ปลูกยางใหม่ คือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมใช้ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 มากกว่าทุกพันธุ์ ซึ่งกระแสความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี สังเกตจากอัตราการจำหน่ายกิ่งตายางของกรมวิชาการเกษตร ปรากฏว่า กิ่งตาพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 มียอดจำหน่ายสูงสุด โดยเฉพาะ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ปีที่ผ่านมามีการจำหน่ายกิ่งตายางพันธุ์ดังกล่าว ประมาณ 200,000 กิ่งตา คิดเป็น 50% ของกิ่งตาที่จำหน่ายทั้งหมด

ทางด้าน น.ส.กรรณิการ์ ธีระวัฒนะ สุข นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา กรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังกระทรวงเกษตรฯประกาศกำหนดให้ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 เป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในศักยภาพของพันธุ์และหันมาปลูกกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกในช่วงแรก ๆ สามารถกรีดยางได้แล้วและได้รับผลผลิตสูงด้วย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิมหรือพื้นที่ปลูกยางใหม่ หากพื้นที่มีสภาพเหมาะสม และเกษตรกรมีระบบการจัดการแปลงที่ดีตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง คาดว่า จะได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

น.ส.กรรณิการ์ กล่าวด้วยว่า เชื่อมั่นว่า ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 มีศักยภาพสูง สามารถเทียบชั้นกับพันธุ์ยางของประเทศคู่แข่งอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซียได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ปลูกยางพาราโดยเฉพาะเกษตรกรรายใหม่ควรต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ดูสภาพพื้นที่แปลงของตนเองว่ามีความเหมาะสมที่จะปลูกยางหรือไม่ ทั้งควรเลือกใช้พันธุ์ยางที่เหมาะสมตาม คำแนะนำพันธุ์ยางของสถาบันวิจัยยาง ที่สำคัญควรเลือกซื้อยางชำถุงจากแปลงขยายพันธุ์ยางขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรแล้ว ซึ่งจะได้รับยางชำถุงที่มีคุณภาพและไม่ถูกหลอก

หากสนใจเกี่ยวกับ การเลือกใช้พันธุ์ยางพารา สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-2183, 0-2579-8557 หรือศูนย์วิจัยยางทุกแห่งทั่วประเทศ.

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13402 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9160
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7487
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7557
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7890
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6874
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8142
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7367
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>