ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 19568 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

น้ำ..สำคัญต่อการผลิตพืชและการจัดการ - เกษตรน่ารู้

เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัยคือปัจจัยสี่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยที่มาของปัจจัยสี่เหล่านี้คือ ดิน..

data-ad-format="autorelaxed">

น้ำ สำคัญต่อการผลิตพืช

น้ำ..สำคัญต่อการผลิตพืชและการจัดการ - เกษตรน่ารู้ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัยคือปัจจัยสี่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยที่มาของปัจจัยสี่เหล่านี้คือ ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิ เป็นธรรมชาติพื้นฐานและมีพืชรวมทั้งจุลินทรีย์เป็นผู้ทำหน้าที่เปรเปลี่ยนทรัพยากรธรรมาชาติข้างต้นให้เกิดปัจจัยสี่แล้วถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นห่วงโซ่ต่อๆกัน สิ่งที่ท้าทายสำหรับปัจัยสี่ของมวลมนุษย์ปัจจุบันและอนาคตได้แก่

- อัตราประชาการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

-ทรัพยาการดินน้ำเพื่อการเพาะปลูกที่มีจำกัดลง

-สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง

-ต้นทุนที่สูงขึ้น

-ความมั่นคงทางอาหาร

-การแข่งขันระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน

ประชากรโลกในวันที่ 26 มกราคม 2556 ที่เขียนบทความนี้ 7,095 ล้านคน อัตราการเกิด 240,000 คน/วัน ดังนั้นไม่อยากคิดเลยว่าประชากรจำนวนมหาศาลเหล่านี้จะอยู่กันอย่างไรในอนาคตโดยเฉพาะในประเทศที่อัตราประชาการหนาแน่นทั้งหลาย นอกจากความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตปัจจัยสี่แล้ว ประชากรเหล่านี้ยังต้องการพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย ต้องการพื้นที่เพื่อสร้างสาธารณูปโภค การคมนาคม การสันทนาการและอื่นๆอีกมากมายไม่จบสิ้น ประเด็นก็คือทรัพยากรเหล่านี้มีอยู่จำกัดไม่สามารถสร้างให้เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นด้วยจำนวนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและถูกใช้ไปเพื่อที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมอื่นๆมากขึ้นจนทำให้พื้นที่การผลิตปัจจัยสี่ลดลงเป็นลำดับนั้น ทางออกก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้นโดยเฉพาะในเชิงคุณภาพเป็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยพืชที่ใช้น้ำมากที่สุดคือข้าว ข้าวนาดำและนาหว่าน 1 ไร่/1 ฤดูต้องใช้น้ำประมาณ 1000 คิวบิกเมตร(กรมชลประทาน) ดังนั้นพื้นที่นาทั้งประเทศประมาณ 60 ล้านไร่ต้องใช้น้ำถึง 60,000 ล้านคิวบิกเมตร/ฤดู นาชลประทาน 1ไร่ผลผลิตเฉลี่ย 80 ถังหรือ 800 กก.ข้าวเปลือก ดังนั้นข้าวสาร 1กก.ใช้น้ำเพาะปลูกประมาณ 20 คิวหรือ 20000 ลิตร (อัตราข้าวเปลือก 100 ถังสีเป็นข้าวขาวได้ประมาณ 60 ถัง )

สถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติปี 2538 ประมาณการว่าพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพาะปลูกจะมีเพียง 8% แต่ในปี 2593 คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกที่ขาดแคลนน้ำจะมีถึง 42%

ปัญหาสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในเขตุศูนย์สูตรหรือเขตุร้อนทำให้ไม่สามารถคำนึงแต่เฉพาะการขาดแคลนน้ำเท่านั้นแต่ต้องคำนึงถึงเรื่องน้ำมากเกินหรือน้ำท่วมด้วย ดังนั้นการจัดการน้ำที่เกี่ยวกับพืชจะมีประเด็นหลัก 3 เรื่อง

1 จัดการเพื่อให้พืชได้รับน้ำที่พอเหมาะตามช่วงการวงจรของพืชและชนิดพืช

2 จัดการการระบายน้ำ

3 การจัดการคุณภาพน้ำ

-การจัดการให้พืชได้รับน้ำที่พอเหมาะหรือการให้น้ำ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณาก็คือวิธีการให้น้ำ ความต้องการน้ำของพืชแต่ละช่วงวงจร คุณสมบัติกายภาพของดิน สภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันจากสภาพข้อจำกันในพื้นที่ ความอุดมสมบูรณ์ดินที่ลดลง ต้นทุนในทุกๆประเภทที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการผลิตพืชต้องให้ได้ทั้งปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพที่ดีที่สุด

มันสำปะหลังได้ นน.หัวมัน/ไร่สูง % แป้งที่สูง

ผักใบอายุสั้น ต้องการน้ำเพียงพอตลอดอายุ

เมลอนผักผลที่มีราคาแพง คุณค่าอยู่ที่ความหวานและกลิ่นหอมของเนื้อผล การจัดการน้ำและธาตุอาหารคือหัวใจในการผลิต

ผลไม้มีคุณภาพ สีรสชาติที่ดี ต้นสมบูรณ์ไม่มีปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า โดยผลไม้เหล่านี้จะต้องเลือกทำเลปลูก การเตรียมพื้นที่ การจัดการดิน ธาตุอาหารพืชแต่ละช่วงของรอบปี การจัดการน้ำที่ลงตัวในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวและเก็บเกี่ยว

-การออกแบบระบบน้ำ การเลือกระบบให้น้ำที่เหมาะสมกับพืช กับสภาพพื้นที่ กับผู้ใช้งาน ยังมีประเด็นที่จะต้องให้ทำความเข้าใจและถ่ายทอดให้ผู้จัดการระบบน้ำเข้าใจต่อไปก็คือการจัดการน้ำ โดยมีประเด็นเรื่องของ ความสัมพันธ์ ดิน น้ำ พืช รวมทั้งภูมิอากาศเหนือระดับดินที่ปลูกพืชด้วย

-ปกติคำแนะนำในการให้น้ำแก่พืชจะแนะนำให้ระดับน้ำในดินมีค่าที่เรียกว่า Field Capacity ซึ่งมีทั้งการคำนวณโดยใช้ค่าการระเหยน้ำจากถาดระเหยและค่าสัมประสิทธิ์การคายน้ำของพืชอ้างอิง อีกวิธีที่ชัดเจนขึ้นคือการวัดค่าความต่างศักดิ์ระหว่างน้ำในดินกับอากาศโดยใช้เครืองมือคือเทนซิโอมิเตอร์ ซึ่งจะมีวิทยาการบรรยายในช่วงต่อๆไป

-ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจมากขึ้นคือเรื่องของสรีรวิทยาของพืชที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันและอนาคตเนื่องจากการที่จะต้องแข่งขันกับเรื่องต้นทุนการผลิต การแข่งขันกับสินค้าจากบางประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงของโรงงานแปรูปหรือผู้บริโภค การต้องการอาหารที่ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมี การให้น้ำพืชจึงไม่สามารถใช้เกณฑ์ของการรักษาน้ำในดินให้อยู่ในระดับที่พืชนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้น โดยเฉพาะในฤดูแล้งในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำทำให้ปากใบพืชปิดแคบลงเพื่อลดการคายน้ำให้มากที่สุด การให้น้ำมากจึงไม่มีประโยชน์ดังที่คิดตามที่เคยเรียนรู้กันมา การเพิ่มความชื้นในอากาศโดยระบบพ่นฝอยหรือฝนเทียมจะช่วยให้พืชยังคงเปิดปากใบและคายน้ำต่อไปทำให้กระบวนการดูดน้ำของรากและการสังเคราะห์แสงดำเนินต่อไปได้ (สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ ) การจัดการระบายน้ำ เป็นอีกประเด็นท่ำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ ทั้งนี้สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ปริมาณฝนตกไม่เป็นไปตามปกติ ตกมากในระยะเวลาสั้นๆทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างไม่คาดฝันได้ไม่ว่าจะเป็นที่บริเวณใดโดยเฉพาะที่ลุ่มหรือที่ลาดเชิงเขาเนื่องจากน้ำระบายไม่ทัน โดยเฉพาะในแปลงปลูกพืชที่เป็นพืชไร่ในพื้นที่ขาดใหญ่หรือแปลงย่อยๆที่รวมกันเป็นแปลงใหญ่ การเกิดน้ำขังเพียงบางจุดจะทำให้รากพืชบริเวณนั้นขาดอากาศทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักทันที สวนทุเรียนปัจจุบันชาวสวนจึงต้องปลูกแบบยกโคกสูงๆแทนการปลูกแบบยกร่องอย่างเดียวอย่างสมัยก่อน สวนส้มอย่างน้อยก็ต้องยกร่องลูกฟูก ไร่สับปะรดต้องทำคอนทัวร์ให้มีการระบายน้ำที่ดีตลอดแปลงปลูก แปลงมะละกอต้องยกร่องให้สูงเนื่องจากมะละกออ่อนไหวต่อรากขังน้ำและน้ำที่พอดีทำให้คุณภาพมะละกอรสชาดอร่อยเข้มข้นและสีเข้มกว่า

คุณภาพน้ำ น้ำเพื่อการเพาะปลูกในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นน้ำผิวดินหรือน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ โดยการสูบไปใช้โดยตรงหรือการเก็บกักไว้ในบ่อเก็บน้ำ มีจำนวนหนึ่งที่ใช้น้ำบาดาล ในส่วนของคุณภาพน้ำที่จะต้องคำนึงก็คือเรื่องของค่า pH หรือค่ากรดด่าง ค่าความเค็มหรือ EC โดยเฉพาะเกลือโซเดี่ยมในบางพื้นที่อาจจะมีปัญหาโดยเฉพาะในเขตุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำแพงแสนบางจุด รวมทั้งจังหวัดริมทะเล การแก้ไขทำได้ยากและต้นทุนสูงมากซึ่งอาจใช้เกลือจืดหรือยิบซั่มจะช่วยได้ กรณีน้ำบาดาลหรือน้ำในพื้นที่ที่มีหินปูนมากทำให้น้ำ pH สูงหรือเป็นด่างก็ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรนอกจากการเลือกพืชบางชนิดที่ทนด่างได้ดีเช่นน้อยหน่า มะม่วง นอกจากดินด่างแล้วดินบางแห่งจะมีหินปูนอยู่มากเช่นแนวลพบุรี สระบุรี เพชรบูรณ์ ทำให้เหมาะในการปลูกพืชไร่หรือไม้ผลบางชนิดเท่านั้เครื่องมือสมาร์ทฟาร์มเทคโนโลยี่ ขอกล่าวไว้เล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องการใช้เครืองมือช่วยในการจัดการการผลิตพืชเพื่อเข้าสู่ “ Precision Farming Technology” ซึ่งเป็นนโยบายของทุกประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะญี่ปุ่น อมเริกาที่บุกเบิกเรื่องนี้มายาวนาน นั่นคือการใช้เครืองมือ Field Server ที่มีเซ็นเซอร์ร่วมกับ Mobile Application เพื่อบริการข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ทั้งฝน ลม ความชื้นสัมพัทธ์ แสงแดด การวัด N ,K ,Na ในดิน การบริการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการพืชสำคัญๆเพื่อให้ระบบการผลิตของประเทศไม่ใช้เพียงความรู้สึกจากความชำนาญหรือประสบการณ์แบบดั้งเดิมอย่างเดียวแต่ต้องเป็นการบริการข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ใครก็ใช้ได้และใช้เป็น อย่างกรณีญี่ปุ่นส่งนักศึกษาปริญญาเอกมาทำ Post Doct. เกี่ยวกับไม้ผลเมืองร้อนจนได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพืชเมืองร้อนของเราซึ่งเขาจะแปลงข้อมูลเหล่านี้ไปเป็นลักษณะของ Package ไปทำที่พม่าหรือลาวหรือการปลูกในโรงเรือนเมืองหนาวอย่างญี่ปุ่นเองก็ได้ ข้อมูลเหล่านี้เมื่อตกผลึกจนนิ่งแล้วอาจจะมีบริการในลักษณะ Ontology บริการอยู่บน Cloud Computer ที่สามารถเข้าดูได้ในลักษณะของ Service knowledge Platform ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานเกี่ยวกับ Service Innovation ขึ้นในเดือนกันยายนปลายปี 2556 นี้ ในหัวข้อจะมีเรื่องของการเกษตรอยู่ด้วย โดยเจ้าภาพคือ Nectec ภายใต้สวทช.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯร่วมกับกระทรวงเกษตรฯกระทรวง ICT เป็นต้น ดังนั้นเรื่องของ น้ำ การให้น้ำ เป็นพื้นฐานที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับ พืช ดิน ภูมิอากาศ การจัดการคือคนและวัฒธรรมของสังคมนั้นๆว่าจะพัฒนายอมรับเรื่องเหล่านี้กันอย่างไร

เปรม ณ สงขลา
…………………………………………………………………………………………………..
ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการฝึกอบรวม “การออกแบบระบบให้น้ำพืชแบบมืออาชีพ” โดยภาควิชาเกษตรกลวิทาน คณะเกษตร มก.บางเขน และสถาบันวิชาการเคหการเกษตร เดือนมีนาคม-เมษายน 2556

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19568 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9139
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7477
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7550
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7879
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6863
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8130
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7357
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>