ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 16199 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ผักสดไทย สู่ในตลาด อียู แนวโน้มดี

การส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ทำให้ปัญหาสารเคมีตกค้างและ...

data-ad-format="autorelaxed">

ผักสดไทย สู่ตลาด อียู

“ผักสดไทย”สู่ในตลาด “อียู”แนวโน้มดี ปัญหา สารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ ตก ค้างปนเปื้อนในพืชผักและผลไม้ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสินค้าพืชของไทยไปต่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวเกือบทำให้ไทยถูก สหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) ระงับการนำเข้าสินค้าผักสด หลังได้รับการแจ้งเตือนจากอียูบ่อยครั้ง กรมวิชาการเกษตร ได้มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยกำหนดมาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ (Establishment list : EL)การส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ทำให้ปัญหาสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อียูเชื่อมั่นในมาตรการฯนี้ ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าผักสดไปยังอียู ได้คล่องตัวมากขึ้น

นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ภายหลังกรมวิชาการเกษตรได้นำ มาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ มาใช้ควบคุมระบบการผลิตสินค้าผักสด เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มอียูสามารถแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในสินค้าผักสดได้ ถือเป็นเครื่องสำคัญที่ช่วยผลักดันการส่งออกสินค้าผักสดไปยังตลาดอียูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ส่งหนังสือแจ้งสถิติปริมาณการตรวจพบสารตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ตกค้างในผักไทยที่ส่งออกไปยังอียูไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ซึ่งผลการสุ่มตรวจพบว่า ปัญหาการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์และสารพิษตกค้างในพืชผักของไทยมีปริมาณลดลงในระดับที่ต่ำกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 คาดว่า อาจเป็นผลมาจากการที่กรมวิชาการเกษตรนำผักกลุ่มภายใต้ข้อกำหนด EC Regulation 669/2009 ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือ พืชตระกูลกะหล่ำ สะระแหน่ ผักชี และขึ้นฉ่าย เข้าสู่ระบบ EL ด้วย DG-SANCO ได้แจ้งสถิติการตรวจพบสารฆ่าแมลงตกค้างในสินค้าผักไทยที่ส่งออกไปอียูภายใต้การถูกสุ่มตรวจเข้ม ณ ด่านนำเข้าของอียู โดยไตรมาสแรกของปี 2555 ตรวจพบ 6.2% และไตรมาสที่ 2 พบเพียง 2.35% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ตรวจพบสารฆ่าแมลง 10.96% และ 14.43% ส่วนการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ในผักสด ได้แก่ เชื้อซัลโมเนลลา ปีนี้ไม่พบการปนเปื้อน ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่ปัญหามีแนวโน้มลดลงมาก ทำให้อียูมีความพึงพอใจในผลการสุ่มตรวจ

จากสถิติดังกล่าว ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมที่จะเสนอต่อประเทศสมาชิกให้ลงมติลดระดับการสุ่มตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างในผักกลุ่มกะหล่ำ มะเขือ และถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากไทย จากเดิมที่เคยสุ่มตรวจที่ระดับ 50% ลดลงเหลือ 20% ซึ่งคาดว่า ประเทศสมาชิกอียูจะเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และลดระดับการสุ่มตรวจผักสดไทยในต้นปี 2556

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา มีประเทศที่ส่งออกผักสดไปยังอียู ประสบปัญหาการตรวจพบสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนสินค้าคล้ายกับไทย โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ทางอียูจึงได้ขอให้ไทยเป็นต้นแบบให้กับประเทศที่มีปัญหา โดยเวียดนามได้ขอความร่วมมือจากไทย เพื่อศึกษาเรียนรู้และดูงานเกี่ยวกับการจัดทำมาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว

ทั้งนี้ มาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ ที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำขึ้น เป็นระบบที่ควบคุมการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงโรงคัดบรรจุ รวมถึงด่านตรวจพืชก่อนส่งออก โดยผู้ส่งออกและโรงคัดบรรจุต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้ไปอียู สำหรับผลผลิตพืชที่จะส่งออกนั้นต้องมาจากแปลงเกษตรกรเครือข่ายโรงคัดบรรจุ ขณะเดียวกันโรงคัดบรรจุต้องได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) มีการประยุกต์ใช้ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม (HACCP) นอกจากนั้น โรงคัดบรรจุต้องมีความรู้ ความสามารถและมีเครื่องมือในการตรวจสอบแมลงศัตรูพืชที่ติดมากับผลผลิตด้วย ปัจจุบันมีโรงงานคัดบรรจุผักและผลไม้ผ่านการตรวจประเมินและได้รับการรับรองเข้าสู่ระบบ EL แล้ว จำนวน 22 โรงคัดบรรจุ

...นอกจากกรมวิชาการเกษตรจะติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุ และแปลงเกษตรกรเครือข่ายในระบบ EL อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังมีแผนเร่งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและผลักดันให้โรงคัดบรรจุและเกษตรกรระบบ EL มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าพืชผักที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยทางอาหาร และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มอียูและเพิ่มจุดแข็งสินค้าพืชผักของไทย ทำให้สามารถแข่งขันได้และช่วยผลักดันมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไทยเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต.

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 16199 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 7590
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6327
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6323
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 7674
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7043
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7340
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6599
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>