ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 12008 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ฮือฮา มช.เจ๋งวิจัยสาหร่ายเล็ก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถนำสาหร่ายขนาดเล็กมาทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซล เติมเชื้อเพลิงรถได้สำเร็จ เมื่อทราบดังนั้นผู้สื่อ...

data-ad-format="autorelaxed">

สาหร่าย ผลิตน้ำมัน

ฮือฮา มช.เจ๋งวิจัยสาหร่ายเล็ก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ผู้สื่อข่าวทราบว่าที่สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีวิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถนำสาหร่ายขนาดเล็กมาทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซล เติมเชื้อเพลิงรถได้สำเร็จ เมื่อทราบดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามยังสาขาวิชาจุลชีวิทยา เพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ น้ำมันชีวภาพจากสาหร่ายขนาดเล็ก”

รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี พีรพรพิศาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า เชื้อเพลิงจากถ่านหินกำลังใกล้หมดไปจากโลกของเรา และน้ำมันจากแหล่งธรรมชาติก็กำลังถูกใช้ไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายประเทศก็ได้พยายามหาพลังงานจากแหล่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะได้มาจากถั่วเหลือง สบู่ดำ ดอกทานตะวัน ปาล์มน้ำมัน เศษวัสดุทางการเกษตร รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ที่สามารถนำมาหมักให้เป็นเอธานอล โดยใช้จุลินทรีย์ซึ่งก็เป็นพลังงานสะอาดอีกรูปแบบหนึ่ง

แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อีกชนิดหนึ่งซึ่งพึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันไม่นานนักว่าสามารถให้พลังงานแก่โลกของเราด้วยศักยภาพที่สูงและไม่มีวันหมด บางคนให้ความเห็นว่าสิ่งมีชีวิตนี้เป็นความหวังเดียวในโลกด้วย ซึ่งก็คือสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) ซึ่งเราจะพบเห็นโดยทั่วไปทั้งในน้ำ บนบก แม้กระทั่งในอากาศซึ่งอยู่ในรูปของสปอร์ ที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือในน้ำ โดยเฉพาะในน้ำที่มีสีเขียว ทั้งเขียวใสและเขียวขุ่น ซึ่งเราเรียกสาหร่ายขนาดเล็กนี้ว่าแพลงก์ตอนพืช โดยทั่วไปจะทราบกันอยู่แล้วว่าสาหร่ายขนาดเล็กเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการสังเคราะห์แสงซึ่งต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นวัตถุดิบ ผลลัพธ์ที่ได้คือน้ำตาลซึ่งจะเป็นอาหารของพืชและก๊าซออกซิเจน

ดังนั้นทางสาขาวิชาจุลวิทยา จึงได้นำสาหร่ายดังกล่าวมาทำการวิจัยเพื่อให้ทราบประโยชน์ของสาหร่ายชนิดนี้ให้มากที่สุด ซึ่งก็พบว่าสาหร่ายเหล่านี้ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ และพร้อมกันนั้นก็ให้ก๊าซออกซิเจนแก่แหล่งน้ำหรือสิ่งแวดล้อมด้วย จากนั้นจึงได้ศึกษาหาคุณสมบัติเพิ่มเติมในเรื่องของพลังงาน ซึ่งจากการศึกษา เริ่มจากเซลล์ของสาหร่ายเหล่านี้มีกรดไขมันค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับพืชอื่นๆ โดยทั่วไปจะมีราว 20 เปอร์เซนต์ แต่บางชนิด อาจมีถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสามารถเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเหล่านี้ได้เป็นปริมาณมากๆ แล้วนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เอสเทอริฟิเคชัน (esterification) ในที่สุดก็จะได้ไบโอดีเซล ซึ่งใช้เป็นน้ำมันเต็มรถให้รถวิ่งฉิวได้เลย หรืออาจจะใช้กระบวนการทางกายภาพโดยการเผาด้วยความร้อนสูงๆ ที่เรียกว่าไพโรไลซิส (pyrolysis) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน ในสภาวะไร้อากาศ ซึ่งในที่สุดก็จะได้น้ำมันก็ออกมาเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีกระบวนการอื่นๆ อีกหลายอย่างที่สามารถเปลี่ยนชีวมวลของสาหร่ายเป็นน้ำมันได้

สาหร่ายขนาดเล็กเองก็มีสิ่งที่ได้เปรียบพืชน้ำมันอื่นๆ มากมาย นอกจากจะมีกรดไขมันสูงแล้ว ยังเพาะเลี้ยงง่าย ใช้สารอาหารที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เก็บเกี่ยวได้เร็ว ราว 2-3 อาทิตย์ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว น้ำเลี้ยงสาหร่ายยังสามารถเลี้ยงสาหร่ายรุ่นต่อไปได้อีกหลายครั้ง แล้วการเลี้ยงก็ใช้พื้นที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับการปลูกพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชน้ำมันชนิดต่างๆ อีกด้วย ข้อได้เปรียบเหล่านี้นำมาซึ่งความหวังที่จะได้น้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็กอย่างยิ่งยวด และนับเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยในเรื่องพลังงานชีวภาพของสาหร่ายขนาดเล็กจากบริษัทแอลวีเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศต่างๆ ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก ถ้านำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้มาเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กให้เจริญอย่างรวดเร็วแล้วนำมวลของสาหร่ายมาใช้เป็นพลังงานอีกทางหนึ่งให้กับโรงงานน่าจะเป็นแนวคิดที่ดี คาดว่างานวิจัยในเรื่องนี้คงจะสำเร็จภายในปี 2556 อย่างไรก็ตามงานวิจัยสาหร่ายน้ำมันยังต้องดำเนินการต่อไปอีกสักระยะหนึ่งและจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติจริงๆ ก็ต่อเมื่อสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตเวลานั้น เราคงได้น้ำมันจากสาหร่ายไปใช้เติมรถกันได้อย่างทั่วถึง.

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12008 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6078
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6197
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6132
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7118
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 5822
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 5986
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5139
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>