ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 12873 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

แมลงศัตรูระบาดในหม่อน

ระวังโรคและแมลงศัตรูหม่อนระบาดช่วงปลายฤดูฝนและฤดูหนาว ในช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวมักมีโรคและแมลงศัตรูหม่อนหลายชนิด..

data-ad-format="autorelaxed">

แมลงศัตรูระบาดในหม่อน

ระวังโรคและแมลงศัตรูหม่อนระบาดช่วงปลายฤดูฝนและฤดูหนาว ในช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวมักมีโรคและแมลงศัตรูหม่อนหลายชนิดระบาด อาทิ โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคใบจุดกุหลาบเพลี้ยแป้ง และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนจึงควรหมั่นตรวจสอบความผิดปกติของแปลงหม่อนหากพบการระบาดจะได้กำจัดได้ทันท่วงทีและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นหม่อน โดยแมลงศัตรูหม่อนที่สำคัญและมักระบาดในช่วงนี้ ได้แก่ แมลงหวี่ขาว ซึ่งสามารถแพร่กระจายและระบาดในสวนหม่อนตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงปลายฤดูฝนและฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม ลักษณะของแมลงหวี่ขาวที่สามารถสังเกตได้ คือ จะมีขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยมีขนาด 2 มิลลิเมตร มีปีก 2 คู่ สีขาวอ่อน มักพบตามใต้ใบบริเวณยอดเพื่อวางไข่และพบตามใบแก่ แมลงหวี่ขาวตัวเต็มวัยจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ด้านใต้ใบใกล้กับเส้นใบ ไข่มีลักษณะยาวเรียว มีก้านสั้นๆ ยึดติดกับใบ ตัวอ่อนจะพบใต้ใบที่โตเต็มที่ ส่วนดักแด้มักพบในใบส่วนล่างกิ่ง แมลงหวี่ขาวจะทำลายต้นหม่อน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบหม่อนเป็นอาหาร และถ่ายมูลเป็นน้ำหวาน ออกมาติดใบหม่อนซึ่งเป็นอาหารอย่างดีของราดำ หากมีการระบาดรุนแรงแล้วทั้งราดำและตัวแมลงหวี่ขาวจะมีผลทำให้ใบหม่อนไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม ใบส่วนล่างจะเหลืองและร่วงหล่น เนื่องจากความชื้นและปริมาณธาตุไนโตรเจนในใบลดลง

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า การป้องกันและการกำจัดแมลงหวี่ขาวนั้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจสวนหม่อน หากพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบริเวณยอดหรือใบแก่ส่วนกลาง อาจใช้สารฆ่าแมลงที่มีสารพิษตกค้างสั้น อาทิ มาลาไธออน หรือ อ๊อกซามิล อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือ โปรมีคาร์บ 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น หลังจากนั้น 15 วัน จึงเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงไหม โดยการพ่นสารเคมีควรพ่นในช่วงเวลา 07.00 – 09.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีปริมาณแมลงหวี่ขาวอยู่ตามใบมากกว่าเวลาอื่น นอกจากนี้อาจใช้สารเหนียวพวกวาสลีนขาว ทาแผ่นพลาสติกสีเหลือง นำไปปักระหว่างแถวหม่อน เพื่อประเมินการระบาดและป้องกันกำจัด หรือใช้น้ำหมักจากใบกระเพราหรือใบโหระพา อัตราส่วน 50 กรัม/น้ำ 1 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นกรองเอากากออกแล้วนำไปฉีดพ่นในแปลงหม่อน หรือใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นบริเวณหลังใบที่มีแมลงหวี่ขาวเกาะอยู่ โดยฉีดพ่นทุกๆ 7 - 10 วัน ซึ่งน้ำส้มควันไม้จะไม่เป็นอันตรายต่อหนอนไหม หรืออาจกำจัดโดยใช้ศัตรูตามธรรมชาติ อาทิ ด้วงเต่าลาย และแตนเบียนเป็นต้น

สำหรับโรคหม่อนที่สำคัญและมักพบในช่วงปลายฤดูฝนเข้าฤดูหนาว คือ โรคราสนิม โดยสปอร์ของเชื้อราจะแพร่กระจายไปกับฝนและลม ความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นตามอายุของใบหม่อน ใบหม่อนที่แสดงอาการของโรคนี้ เริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีเหลือง และขยายขึ้นเป็นตุ่มแผลใหญ่ขึ้น เมื่อเนื้อเยื่อใบหม่อนถูกทำลายและแตกออกจะเห็นสปอร์ของเชื้อรามีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลปนแดงคล้ายสนิมกระจายอยู่บริเวณผิวด้านใต้ใบหม่อน หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบหม่อนมีสีเหลืองทั้งใบและแห้งเป็นสีน้ำตาลและร่วงหล่น ซึ่งทำให้ใบหม่อนมีคุณภาพต่ำไม่เหมาะที่จะนำไปเลี้ยงไหม

การป้องกันและกำจัดโรคราสนิมนั้น ควรใช้วิธีผสมผสานในการบริหารจัดการแปลงหม่อน โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกปลูกหม่อนพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคราสนิม เช่น พันธุ์คุณไพ พันธุ์สกลนคร การลงปลูกหม่อนแบบแถวเดี่ยว การเพิ่มระยะปลูกหม่อนให้มากขึ้น โดยระยะห่างระหว่างต้นไม่น้อยกว่า 75 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวไม่น้อยกว่า 2 เมตร ควรตัดแต่งกิ่งหม่อนให้โปร่ง และไม่ปล่อยให้ใบหม่อนมีอายุแก่เกิน 3 เดือน ในกรณีพบการระบาดรุนแรงให้ตัดแต่งกิ่งและนำกิ่งและใบหม่อนไปเผาทำลาย หรือพ่นด้วยสารกำจัด เชื้อรา เช่น ไตรอะดิมิฟอส, โปรพิโคลนาโซล หรือไดฟิดนโคลนาโซล หากมีการพ่นสารเคมีควรเว้นระยะการเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงไหมโดยระยะที่ปลอดภัยคือ หลังพ่นสารเคมี ๒๐ วัน สำหรับกิ่งและใบหม่อนที่ตัดทิ้งควรนำไปเผาทำลาย ไม่ควรนำกิ่งมาคลุมแปลงหม่อน โดยเฉพาะกิ่งหม่อนที่มีเชื้อราโรคราสนิมเข้าทำลาย เนื่องจากจะเป็นแหล่งเพาะอาศัยของเชื้อโรคต่อไปได้

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12873 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6076
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6196
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6132
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7118
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 5821
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 5986
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5139
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>