ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 15564 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

รัฐบาลลุยจำนำข้าว ปี2 คนไทยบักโกรกแบกหนี้

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าจะล้มเหลวหรือไม่? หลังจากรัฐบาล.

data-ad-format="autorelaxed">

จำนำข้าว

รัฐบาลลุยจำนำข้าว ปี2 คนไทยบักโกรกแบกหนี้ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าจะล้มเหลวหรือไม่? หลังจากรัฐบาลยอมทุ่มเงินมหาศาลแลกกับการยกระดับราคาข้าวเปลือก เพื่อรักษาสัญญาที่ได้ให้ไว้กับคะแนนเสียงกว่า 15.7 ล้านเสียง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายงานเสนอความเห็นต่อครม.ว่า การจำนำข้าวรอบปีแรก 54/55 ได้ใช้วงเงินเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี และข้าวเปลือกนาปรัง ไปแล้วกว่า 517,958 ล้านบาท ซึ่งแม้จะไม่ระบุที่มาที่ไปว่าเป็นการใช้วงเงินจากส่วนใดบ้าง แต่ถือว่าเป็นเม็ดเงินสูงที่สุด เมื่อเทียบกับโครงการประชานิยมอื่น ๆ

หากนับรวมโครงการจำนำฤดูกาลใหม่ที่เพิ่งเริ่มขึ้น ถ้ารัฐบาลยังจำนำแบบเต็มที่เหมือนเดิม ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อรับจำนำข้าวเปลือกเพิ่มอีก 26 ล้านตัน วงเงิน 4.05 แสนล้านบาท และเงินจ่ายขาดเพื่อดำเนินการรับจำนำ 11,771.25 ล้านบาท ซึ่งเมื่อนำงบประมาณที่ใช้หมุนเวียนในโครงการจำนำข้าวทั้ง 2 ปีมารวมกัน รัฐต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 9 แสนล้านบาทเลยทีเดียว แม้ระหว่างนั้นรัฐบาลสามารถนำเงินจากการขายข้าวที่ได้รับจำนำมาคืนทุนให้ก็ตาม

ตัวเลขวงเงินงบประมาณที่สูงขนาดนี้ ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงว่า รัฐบาลกำลังก่อหนี้เกินตัวและกลายเป็นภาระของประเทศของคนไทยทุกคนหรือไม่ เพราะล่าสุดตัวเลขจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ระบุว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนก.ค.55 มีทั้งสิ้น 4.89 ล้านล้านบาท คิดเป็น 44.19% ของจีดีพี หากหารเฉลี่ยแล้วคนไทยทั่วประเทศทั้งเกือบ 66 ล้านคนมีหนี้เฉลี่ยสูงถึง 74,332 บาทต่อคนเลยทีเดียว

ที่น่ากลัวไปกว่านั้น ยังพบว่านับตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ ได้ใช้เงินทำโครงการประชานิยมจำนวนมาก จนทำให้ภาระหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยเฉพาะเดือนก.ค. 55 มีหนี้เพิ่มขึ้นถึง 1.08 แสนล้านบาท และหากนับตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนก.ค.55 มีหนี้เพิ่มแล้วกว่า 5.3 แสนล้านบาท ที่สำคัญ สบน.ประเมินด้วยว่าหนี้สาธารณะอาจเพิ่มสูงต่อเนื่องไปอีก 5 ปีข้างหน้า จนทะลุจุดอันตรายไปถึง 54-55% ของจีดีพี หากรัฐบาลยังคงเดินหน้าแผนการกู้เงินเพื่อการลงทุน 2 ล้านล้านบาท

ผลกระทบต่อภาระหนี้สาธารณะ...นับเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะหากมองไปในโลกปัจจุบันแล้ว จะเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้โลกเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น มาจากนโยบายและการใช้งบประมาณผิดพลาดของรัฐบาล จนสร้างหนี้สาธารณะมากเกินไปและพาประเทศล้มละลายแบบประเทศกรีซ

แม้กระทรวงพาณิชย์ออกมาโต้แย้งว่างบประมาณที่ใช้จำนำข้าวหลายแสนล้านบาท ไม่ใช่งบประมาณที่เสียเปล่าไปทั้งหมด เพราะถึงอย่างไรต้องมีเงินจากการขายข้าวที่รับจำนำ มาทยอยจ่ายคืนเงินคงคลังแน่นอน โดยกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายว่ารัฐบาลจะขาดทุนจากการจำนำไม่เกิน 60,000-70,000 ล้านบาทต่อฤดูกาล ต่ำกว่าเงินที่ใช้ในการประกันรายได้ของรัฐบาลชุดที่แล้ว เพราะหากขายข้าวได้ตามแผนจะได้เงินคืนถึง 2.6 แสนล้านบาททีเดียว โดยเริ่มได้เงินก้อนแรกทยอยคืนรัฐได้ตั้งแต่ปลายปีนี้ 85,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แผนของกระทรวงพาณิชย์เป็นเรื่องของอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ซึ่งอาจจะทำได้ตามแผน หรือทำไม่ได้ตามแผนก็ได้...

หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ระบายข้าวของรัฐบาลในปัจจุบัน ถือว่าเต็มไปด้วยความเสี่ยงว่าจะเกิดปัญหา “ซื้อข้าวมาแล้ว แต่ขายไม่ออก” เพราะบรรยากาศการเปิดประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลที่ผ่านมาไม่คึกคักนัก มีการเปิดประมูลไป 5 รอบ แต่ขายข้าวได้แค่ 4 รอบ ปริมาณ 4 แสนกว่าตัน ขณะที่การขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) แม้กระทรวงพาณิชย์จะโชว์ตัวเลขมากถึง 7 ล้านตัน แต่เป็นตัวเลขการส่งออกระยะยาวไปจนถึงปีหน้า แถมมีข่าวลือว่าเป็นเพียง “ออร์เดอร์ลม” ยังไม่สามารถส่งออกได้จริง ส่วนตัวเลขการส่งออกข้าวไทย ล่าสุดใน 9 เดือน ทำได้เพียง 5 ล้านตัน มีปริมาณส่งออกติดลบจากปีก่อน 44.56%

ส่วนสถานการณ์ราคาข้าวที่ผ่านมา ยังปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยข้าวขาว 5% จากเคยสูงเกิน 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงเหลือ 580-590 ดอลลาร์ และแนวโน้มหากรัฐบาลเร่งระบายออกไปในสถานการณ์ที่ถูกบังคับให้ระบาย อาจทำให้ราคาข้าวตกลงไปอีก ประกอบกับช่องโหว่ที่รั่วไหลจากการทุจริต จะยิ่งซ้ำเติมให้โครงการจำนำข้าวครั้งนี้มีโอกาสขาดทุนมากขึ้น และผลประโยชน์ตกไม่ถึงมือชาวนาอย่างแท้จริง

มีการประเมินกันว่า หากรัฐบาลขายข้าวขาดทุน 1 แสนล้านบาท จะทำให้ภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นประมาณ 1% ทันที และกับสถานการณ์ปัจจุบันที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีพุ่งขึ้นอยู่ที่ 44.19% ใกล้แตะระดับอันตราย 50% แล้ว ทำให้โครงการจำนำข้าว ซึ่งถือเป็นโครงการประชานิยมหัวแถว และใช้เงินมากที่สุดต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะหากผิดพลาดขึ้นมา จะกระทบชิ่งหลายทอด ทั้งต่อโครงการประชานิยมอื่น เสถียรภาพของรัฐบาล ตลอดจนการฉุดเศรษฐกิจไทยให้ตกอยู่ในความเสี่ยงทันที

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่รัฐบาลจะหาทางเหยียบเบรก เพื่อชะลอการเพิ่มภาระหนี้แก่ประชาชนไว้ก่อน เพราะไม่สามารถผลักภาระหนี้ไปซุกไว้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้อีกเหมือนการจำนำรอบแรก ส่งผลให้การประชุม ครม. ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบให้ดำเนินการเฉพาะข้าวเปลือกนาปีจำนวน 15 ล้านตัน วงเงิน 240,000 ล้านบาทไปก่อน จากวงเงินที่ขออนุมัติทั้งหมด 4.05 แสนล้านบาท โดยเงินจำนวนนี้ให้ใช้เงินกู้จาก ธ.ก.ส. เพื่อดำเนินโครงการ เพียง 150,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเพดานการกู้เงินที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ และส่วนที่เหลือให้ใช้เงินที่รับจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ 85,000 ล้านบาท

ส่วนผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง 55 ที่เหลืออยู่ จะรอใช้เงินที่ได้จากการระบายข้าวสต๊อกรัฐมาดำเนินการไปก่อน นอกจากนี้ ครม.ยังไม่เห็นชอบการพิจารณาเรื่องข้าวเปลือกนาปรังปี 55 รอบพิเศษ อีก 3.3 ล้านตัน วงเงิน 49,5000 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของสศช. ที่เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณารายละเอียดวงเงินงบประมาณให้ชัดเจนโดยคำนึงถึงรายได้ที่จะได้จากการระบายข้าวเพื่อลดยอดวงเงินกู้ ส่วนข้าวนาปรังควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทบทวนเป้าหมายใหม่เพราะมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ

ภาพเหล่านี้สะท้อนว่ารัฐบาลยังกังวลว่า การจำนำข้าวจะล้มเหลวจริงหรือไม่ เพราะกุนซือใหญ่ของรัฐบาล ’วีรพงษ์ รามางกูร“ ยังออกโรงเตือน หากจำนำข้าวกันแบบนี้ต่อไป อาจทำให้รัฐบาลล้มครืนได้ ซึ่งยังไม่นับรวมกลุ่มคนอีกหลายฝ่ายที่ต้องการล้มโครงการจำนำข้าว ทั้งฝ่ายค้านที่ค้านเพื่อหวังผลทางการเมือง พ่อค้าข้าวที่ต้องการทุบราคารอซื้อข้าวถูก รวมถึงนักวิชาการที่ยอมเป็นข่าวเพื่อสร้างชื่อเสียง

ปมปัญหาจำนำข้าวยังต้องติดตามกันต่อไปแบบชนิดที่เรียกว่าห้ามกะพริบตากันทีเดียว โดยเฉพาะในโครงการจำนำข้าวนาปรังปี 56 ที่ต้องรอลุ้นว่ารัฐบาลจะหาเงินมารับจำนำได้ทันการหรือไม่ เพราะครม.ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะไม่ให้เงินเพิ่ม แต่ให้ใช้เงินหมุนเวียนจากการขายข้าวแทน ดังนั้นในช่วง 4-5 เดือนนับจากนี้ จึงนับเป็นจุดสำคัญของโครงการรับจำนำอย่างแท้จริง หากรัฐขายข้าวได้น้อยกว่าแผนที่ตั้งไว้ รัฐจะไม่มีเงินจำนำต่อ แต่หากขายได้ตามแผนถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ถ้ายอมขายปริมาณมากแต่ราคาถูกก็เสี่ยงขาดทุนในระยะยาว

ในเมื่อรัฐบาลยังยืนยันเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวต่ออีกเป็นปีที่ 2 เพื่อรักษาสัญญาของตัวเอง แต่หากยังเดินหน้าตามแนวทางเดิม...ก็รังแต่จะสร้างปัญหาสร้างความสงสัยให้กับสังคมโดยเฉพาะเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะนั่นหมายความว่า...เงินทุกบาททุกสตางค์ที่รัฐบาลขาดทุนย่อมทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องแบกหนี้เพิ่มขึ้น.

ย้ำขายข้าวได้กว่า 2.6แสนล้านแน่

“บุญทรง เตริยาภิรมย์” รมว.พาณิชย์ บอกว่า โครงการจำนำข้าวที่หลายฝ่ายโจมตีว่าไม่โปร่งใส และทำให้รัฐบาลขาดทุนเป็นแสนล้าน ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ขาดทุนมากอย่างที่ถูกกล่าวหา และมั่นใจว่า ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จนถึงไตรมาสสุดท้ายของปีหน้า กระทรวงพาณิชย์จะสามารถขายข้าวในสต๊อกของรัฐบาล ที่ได้จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีปี 54/55 และโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 55 ได้ไม่ต่ำกว่า 260,000 ล้านบาท แบ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายปีนี้ 85,000 ล้านบาท ไตรมาสแรกปีหน้า 40,000 ล้านบาท ไตรมาสสอง 30,007 ล้านบาท ไตรมาสสาม 50,000 ล้านบาท และไตรมาสสี่ 55,800 ล้านบาท จากงบประมาณที่ใช้ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทั้ง 2 ฤดูกาลประมาณ 280,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ในปีนี้ยังยืนยันว่า ไทยยังรักษาแชมป์ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกไว้ได้แน่นอน โดยคาดว่า ปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้ไม่ต่ำกว่า 8.5 ล้านตัน แบ่งเป็นการส่งออก ของเอกชน 6.5 ล้านตัน ที่เหลือเป็นการส่งออกแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) จากสัญญาที่รัฐบาลได้ทำการซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับรัฐบาลจีน บังกลาเทศ โกตดิวัวร์ อินโดนีเซีย รวม 6 สัญญา ปริมาณ 7.328 ล้านตัน ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาที่เปิดแอลซีแล้ว ไม่ใช่แค่เอ็มโอยู และเริ่มทยอยส่งมอบได้ในปีนี้ 2 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะส่งออกได้ครบในปีหน้า ดังนั้นยืนยันว่าการขายข้าวจีทูจีจึงเป็นเรื่องจริงไม่ใช่ออร์เดอร์ลม ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์ยังได้เปิดให้ผู้ส่งออกประมูลซื้อข้าวรัฐอีกด้วย

ส่วนการจำนำข้าวปีนี้ รัฐบาลไม่ทบทวนลดเพดานราคารับจำนำข้าวเปลือกลงจากข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิ 20,000 บาท ตามที่นักวิชาการเสนอ และได้รับการยืนยันจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่าไม่ได้ขาดสภาพคล่องและพร้อมจะเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวให้กับเกษตรกรต่อไป

“ยืนยันว่า การทำงานของกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องการรับจำนำข้าว และการระบายข้าว ทำอย่างระมัดระวัง การขายแต่ละครั้งมองถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความรับผิดชอบต่องบประมาณ เราพยายามไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบการค้าและราคา ที่สำคัญได้เปิดให้เอกชนเข้าร่วมการประมูล เพราะเราไม่ต้องการขายได้ราคาต่ำ ๆ ถูก ๆ ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราทำไปแล้วให้ประโยชน์ตกอยู่ในมือประเทศอื่น หรือทำแล้วชาวนายังยากจนข้นแค้นอยู่ ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันผลักดันให้ระบบการค้าข้าวไทยก้าวหน้า เพื่อให้โลกรับรู้ว่าไทยขายข้าวคุณภาพดี ราคาสูง”.

ทีมเศรษฐกิจ อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 15564 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7482
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 7824
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 8809
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 7642
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 7885
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 7648
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7567
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>