ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 9710 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เปิดใจ...ประธานเอเฟท เสริมเขี้ยวเล็บให้เกษตรกร

ระบบซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ตสล.) นับเป็นกลไกการซื้อขายที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและมีการก่อตั้งแพร่หลายไป..

data-ad-format="autorelaxed">

เปิดใจ...ประธาน"เอเฟท"เสริมเขี้ยวเล็บให้เกษตรกร

เปิดใจ...ประธาน"เอเฟท"เสริมเขี้ยวเล็บให้เกษตรกร ระบบซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ตสล.) นับเป็นกลไกการซื้อขายที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและมีการก่อตั้งแพร่หลายไปทั่วโลก และสำหรับประเทศไทยแล้ว ก็มีการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเช่นกันมาตั้งแต่ปี 2547 โดย “ทีมข่าวเศรษฐกิจเดลินิวส์” ฉบับนี้ได้มีโอกาสเจาะลึก ’ประสาท เกศวพิทักษ์“ ประธานกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (เอเฟท) ผ่าน “รายการเศรษฐกิจติดจอ” ทางเดลินิวส์ทีวี ที่รับชมผ่านจานดาวเทียมพีเอสไอ ช่อง 26 ถึงบทบาทความสำคัญของเอเฟทในประเทศไทย และทิศทางก้าวเดินต่อไปในอนาคต

ช่องทางปลอดพ่อค้าคนกลาง
ประธานเอเฟท ได้เล่าถึงเป้าหมายการตั้งตลาดเอเฟทว่า มีหน้าที่เป็นตัวกลางดูแลซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และสร้างความเป็นธรรม โดยมีกลุ่มคนเกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ผลิต เกษตรกร ผู้ใช้ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงนักลงทุน แต่กลุ่มเกษตรกร ถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่ได้รับประโยชน์ เพราะในการซื้อขายเอเฟท จะเปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถกำหนดราคาขายผลผลิตได้เอง โดยไม่ถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้า

ขณะเดียวกันเอเฟท ถือเป็นเครื่องมือช่วยการวางแผนการเพาะปลูกแก่เกษตรกร เพราะมีการกำหนดราคาอ้างอิงล่วงหน้า 3-7 เดือน เมื่อมีราคาอ้างอิงโชว์ จะทำให้เกษตรกรวางแผนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และใช้ต้นทุนการผลิตที่สอดคล้องกับราคาอ้างอิงในอนาคตได้ เช่น ใน 4 เดือนข้างหน้าหากข้าวราคาดี ก็สามารถเร่งผลผลิตมาขายเพื่อให้ได้ผลกำไร ในทางกลับกันหากอนาคตราคายังต่ำไม่น่าสนใจ อาจวางแผนชะลอการผลิต หรือลดต้นทุนอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ขาดทุน

ส่วนฝั่งผู้ใช้ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพ่อค้า สามารถใช้กลไกของ “เอเฟท” เพื่อสร้างเสถียรภาพ ควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างเหมาะสม เช่น โรงงานผลิตยางรถยนต์ หากเข้ามาทำสัญญาซื้อขายยางพาราล่วงหน้า จะช่วยให้คำนวณต้นทุนการผลิต และกำหนดราคาขายที่มีกำไรชัดเจนได้ ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาราคายางผันผวนในอนาคต เช่น ถ้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า กก. 84 บาท เมื่อถึงขณะนั้นแม้ราคายางจะสูงขึ้นเป็น กก.120 บาท โรงงานจะสามารถซื้อยางได้ในราคา 84 บาทอยู่ดี เพราะมีสัญญาซื้อขายไว้แล้ว โดยเอเฟท ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูแล ไม่ให้เกิดการบิดพลิ้วสัญญาเกิดขึ้น ขณะที่กลุ่มสุดท้ายที่ใช้ประโยชน์จากเอเฟท จะเป็นนักลงทุนที่เข้ามาซื้อมาขายเก็งกำไรเหมือนตลาดหุ้น เพื่อหวังผลตอบแทนในระยะสั้น

เกษตรกรไม่นิยมเอเฟท
อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ปัจจุบันการใช้ประโยชน์ในการนำสินค้าเกษตรเข้ามาซื้อขายในเอเฟทยังทำได้น้อย และมีไม่ถึง 1% ของผลผลิตทางเกษตรทั้งหมด อีกทั้งราคาอ้างอิง ไม่สามารถชี้นำราคาตลาดได้เท่าที่ควร เพราะการซื้อขายในตลาดล่วงหน้ายังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย ทั้งระดับราชการ และเกษตรกร ประกอบกับ เอเฟท มีข้อจำกัดในการดำเนินงานทั้งบุคลากรที่มีไม่มาก และงบประมาณที่ได้รับมาเพียงปีละ 100 ล้านบาท ทำให้การประชาสัมพันธ์การสร้างความรับรู้ให้เกษตรกร และภาคผู้ซื้อมีไม่เพียงพอ

เปิดซื้อขายสับปะรด 1 ก.ย.
แต่เอเฟทได้พยายามเดินหน้าแผนการพัฒนาขยายการซื้อขายทั้งเชิงปริมาณ มูลค่า และการสร้างราคาอ้างอิงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันในเอเฟทมีการซื้อขายสินค้าเกษตรอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่งเอสทีอาร์ 20 ข้าวขาว 5% ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 และมันสำปะหลังเส้น และในเดือนก.ย.นี้ จะเปิดการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสับปะรดกระป๋องเป็นแห่งแรกของโลก เพื่อสนับสนุนในฐานะที่ไทยเป็นผู้ส่งออกสับปะรดรายใหญ่สุดของโลกจึงควรมีราคาอ้างอิงที่ชี้นำตลาดได้

ขณะเดียวกันยังป้องกันไม่ให้ไทยถูกต่างประเทศกล่าวหาว่า มีการทุ่มตลาดราคาสับปะรดจนขัดต่อกฎองค์การการค้าโลก อีกทั้งช่วงปลายปีนี้ เอเฟทยังได้หารือกับ บริษัท ปตท. ถึงการนำเอทานอล ซึ่งผลิตมาจากอ้อย มันสำปะหลัง เข้ามาทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย

เร่งบูรณาการเพิ่มความรู้
นอกจากนี้ยังได้บูรณาการงานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ ช่วยเผยแพร่ราคาอ้างอิงของเอเฟทแก่เกษตรกรให้รับรู้รายวัน รวมทั้งจะร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ ให้เข้ามาเป็นตัวกลางในการนำผลผลิตจากเกษตรกรเข้ามาซื้อขายในเอเฟทเพิ่มเติม

เพราะเชื่อว่าหากกลไกสินค้าเกษตรล่วงหน้า และราคาอ้างอิง ถูกขับเคลื่อนใช้ได้อย่างแพร่หลาย จะสร้างความสำเร็จต่อประเทศไทยมหาศาล และยังทำให้ราคาซื้อขายสินค้าในตลาดทั่วไปปรับขึ้นตามด้วย เหมือนก่อนหน้านี้ปี 54 ที่รัฐบาลมีการระบายข้าวสารสต๊อกผ่านเอเฟท 7-8 แสนตัน ปรากฏว่าได้ช่วยยกระดับราคาตลาดให้สูงขึ้น และภาพรวมเกษตรกรขายข้าวได้สูงขึ้นถึง 100 ล้านบาท

ที่สำคัญยังเป็นการสร้างการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม มีความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่รัฐบาลจะใช้โครงการจำนำ หรือประกันรายได้อุ้มเกษตรกรอีกไม่ได้ ดังนั้นกลไกซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยสร้างเสถียรภาพทางราคาแก่เกษตรกรในระยะยาว แต่จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย พ่อค้า เกษตรกร และหน่วยงานทุกคน!!

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 9710 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6097
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6214
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6151
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7138
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 5838
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 5997
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5153
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>