ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 12035 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

อบลำไยสด

นับเป็นอีกทางเลือกของผู้ประกอบการส่งออกลำไยไทย ที่หากใช้วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ปริมาณสารตกค้างลดน้อยลง มีมาตรฐานการส่ง.

data-ad-format="autorelaxed">

อบลำไยสด

อบ 'ลำไยสด' ด้วยอากาศแนวตั้ง ลดสารตกค้าง-ทางเลือกผู้ส่งออก แม้ลำไยไม้ผลเศรษฐกิจของไทยจะได้รับการยอมรับในตลาดโลก มีมูลค่าการส่งออกแต่ละปีมหาศาล ดูได้จากการส่งออกลำไยสดปี 2554 ที่มีมูลค่าถึง 205 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 จากปี 2553 เป็นปริมาณ 382,013 ตัน มีตลาดหลัก ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย เวียดนาม โดยจีนและฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 67 ทว่า นอกจากปัญหาลำไยล้นตลาดราคาตกต่ำแล้ว ปัญหาสารตกค้างในผลผลิตสูงกว่าเกณฑ์ที่ประเทศคู่ค้ากำหนด เหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออก จึงทำให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางแก้ไข

ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ "การขับเคลื่อนความปลอดภัยของการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในลำไยสด" ขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ระดมความเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก

รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยอมรับในเหตุผลที่ว่า ด้วยวิธีการรม SO2 กับผลลำไยสดของประเทศไทยในการส่งออกที่ปฏิบัติในปัจจุบัน คือ การเผากำมะถันโดยตรงก่อนนำไอร้อนดังกล่าวเข้าไปรมลำไยสดในห้องรม ที่ผ่านมาวิธีการดังกล่าวมักมีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณ SO2 ตกค้างในผลลำไยสูงกว่าเกณฑ์ที่ประเทศคู่ค้ากำหนด เช่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลัก กำหนดค่าเกณฑ์สูงสุด (Maximum Ressidue Level - MRL) ในเนื้อลำไยไม่เกิน 50 พีพีเอ็ม (ppm) แต่จากการที่กงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว รายงานว่าเคยตรวจพบสารดังกล่าวตกค้างสูงถึง 170 พีพีเอ็ม

โดยการตกค้างของสาร SO2 ที่สูงดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ห้องรมที่สร้างไม่ได้ตามมาตรฐาน การปฏิบัติของคนงาน รวมถึงความต้องการผลลำไยที่มีสีสันสวยงามโดยไม่ตระหนักถึงปริมาณสารตกค้าง ทำให้การรมในปัจจุบันไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบได้เท่าที่ควร หากประเทศคู่ค้าปลายทางเข้มงวดกับการตรวจสารพิษตกค้าง การส่งออกลำไยสดอาจถึงจุดวิกฤติได้ ดังนั้น สกว.จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยเทคนิคใหม่ การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ด้วยระบบอากาศแบบบังคับ เพื่อลดปริมาณสารตกค้างในผลผลิตลำไย ทั้งนี้ เพื่อร่วมแก้ปัญหาสารตกค้างให้ลดน้อยลง เพื่อผลผลิตลำไยที่ได้มาตรฐานการส่งออก

ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล อาจารย์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5 ปี พบว่า การรม SO2 โดยใช้ระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้งประกอบ กับการใช้แก๊ส SO2 ทำให้สามารถลดปริมาณสาร SO2 ตกค้างในผลลำไยสดได้โดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาลำไยแต่อย่างใด การขยายผลเพื่อนำไปใช้กับผู้ประกอบการในเบื้องต้นได้ทดสอบกับบริษัท ไทยฮง ผลไม้ จำกัด ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจของผู้ประกอบการและพ่อค้าที่รับซื้อ อีกทั้งมีการขยายไปยังกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เช่น จาก อ.เทิง จ.เชียงราย และ อ.เชียงคำ จ.พะเยา

ด้าน นางชิง ชิง ทองดี ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวยอมว่า ปัญหาสารตกค้างในลำไยสดของไทย เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยควรตระหนักและให้ความใส่ใจเรื่องคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งออกยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งแนวโน้มการส่งออกในส่วนของภาคเหนือปี 2555 คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 14% และตลาดต้องการลำไยที่มีคุณภาพดี มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะขนาด 3 A และ 2 A

ทั้งนี้ การส่งออกลำไยทั่วประเทศใน 5 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 107 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 37% ซึ่งเห็นได้จากการเปิดเวทีเจรจาการค้ากับผู้ส่งออกโดยกระทรวงพาณิชย์เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ที่มีผู้ซื้อและผู้นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย และจีน ซึ่งมีตัวแทนจากตลาดหลักอย่าง กวางโจว นครเซี่ยงไฮ้ คุนหมิง เซียะเหมิน กว่า 30 บริษัท สนใจในผลผลิตลำไยของไทย พร้อมร่วมเจรจาการค้ากับผู้ส่งออก และกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูก พร้อมเยี่ยมชมสวนลำไยที่ได้มาตรฐาน อีกทั้ง เยี่ยมชมโรงงานที่ใช้นวัตกรรมใหม่การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ด้วยระบบอากาศแบบบังคับฯ ด้วย

ขณะที่ นายสัญชัย ปุรณะชัยศิริ นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวว่า วิธีการนี้จะเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการลำไยให้ได้มาตรฐานการส่งออก โดยเฉพาะกับปัญหาลดสารตกค้างดังกล่าว อันเป็นการบรรเทาปัญหาสินค้าลำไยล้นตลาด ราคาตกต่ำ ดังนั้น จึงต้องบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ ดังเช่น การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ด้วยระบบอากาศแบบบังคับฯ จึงเป็นการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสินค้าทางการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด ที่สำคัญยังส่งผลให้เกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างประเทศพร้อมสร้างตราสินค้าไทย สร้างการยอมรับให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากขึ้น

นับเป็นอีกทางเลือกของผู้ประกอบการส่งออกลำไยไทย ที่หากใช้วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ปริมาณสารตกค้างลดน้อยลง มีมาตรฐานการส่งออก และผ่านเกณฑ์ของประเทศคู่ค้าต่างๆ ได้


อ้างอิง: www..komchadluek.net


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12035 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6148
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6807
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6258
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7329
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6729
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5721
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5842
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>