ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 19931 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เทคนิคใหม่กระตุ้นกุ้งกุลาดำวางไข่-ไม่ทรมานสัตว์

พบเทคนิคใหม่กระตุ้นกุ้งกุลาดำวางไข่-ไม่ทรมานสัตว์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยมหิดลพบเทคนิคใหม่ในการกระตุ้นให้แม่...

data-ad-format="autorelaxed">

พบเทคนิคใหม่กระตุ้นกุ้งกุลาดำวางไข่-ไม่ทรมานสัตว์

พบเทคนิคใหม่กระตุ้นกุ้งกุลาดำวางไข่-ไม่ทรมานสัตว์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยมหิดลพบเทคนิคใหม่ในการกระตุ้นให้แม่กุ้งกุลาดำวางไข่ โดยการใช้สารชีวโมเลกุลเพื่อกระตุ้นการพัฒนารังไข่ของกุ้งกุลาดำ แทนวิธีการตัดก้านตาซึ่งเป็นวิธีที่เกษตรกรใช้กระตุ้นการทำงานของรังไข่ในแม่พันธุ์กุ้งในปัจจุบัน แต่การตัดตาส่งผลให้แม่พันธุ์บอบช้ำ ไม่สามารถนำกลับมาผลิตลูกกุ้งซ้ำหลายครั้ง อีกทั้งเป็นการทรมานสัตว์ รวมทั้งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิตลูกกุ้งกุลาดำ

ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล ดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คว้ารางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี ประจำปี 2554 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสภาวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นผู้ศึกษาลักษณะและหน้าที่ของฮอร์โมนยับยั้งการพัฒนาของรังไข่จากกุ้งกุลาดำ โดยได้ทำการโคลนนิ่งยีนที่สร้างฮอร์โมนดังกล่าวจากแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำต้นแบบ แล้วใช้ข้อมูลของยีนนั้นมาสร้างสารชีวโมเลกุลที่ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนดังกล่าว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนารังไข่ ด้วยวิธีการฉีดสารชีวโมเลกุลเข้าไปในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำจากธรรมชาติและแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำจากบ่อเลี้ยง

จากเทคนิคดังกล่าว สามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนารังไข่และประสบความสำเร็จในการวางไข่ได้ดีในระดับที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่ถูกกระตุ้นการพัฒนารังไข่โดยการตัดตา

“ปัจจุบันกุ้งกุลาดำเป็นที่ต้องในตลาดระดับพรีเมี่ยม เนื่องจากมีรสชาติดี และสีสวยเมื่อนำไปประกอบอาหาร ดังนั้นเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งกุลาดำจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกุ้งกุลาดำควบคู่กับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืน โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเข้ามาแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต อันจะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการส่งออกกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืนในอนาคต

การฉีดสารกระตุ้นให้แม่พันธุ์กุ้งกุลาดำมีการพัฒนารังไข่ได้โดยไม่ต้องตัดก้านตา หากมีการทดลองจนได้ผลดี ก็จะสามารถกระตุ้นให้แม่พันธุ์กุ้งกุลาดำมีการพัฒนารังไข่ได้หลายครั้งตามที่ต้องการ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด เป็นการช่วยลดปริมาณการใช้แม่พันธุ์กุ้งกุลาดำจากธรรมชาติ รวมถึงแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำในบ่อเลี้ยง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการผลิตลูกกุ้งกุลาดำ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางอ้อมในการเก็บรักษาแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ ไม่ให้โทรมและตาย เนื่องจากการเร่งการพัฒนารังไข่และวางไข่โดยวิธีตัดตา จนกระทั่งสามารถตรวจสอบได้ว่าลูกกุ้งกุลาดำที่ผลิตได้นั้นเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง โตไว เหมาะสมที่จะนำแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกุ้งกุลาดำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมกุ้งกุลาดำของประเทศให้ยั่งยืนในระยะยาว และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อีกทางหนึ่ง” ดร. สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล กล่าว.


อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19931 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7014
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7100
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 6758
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 7857
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6306
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5565
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 5874
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>